รีเซต

10 สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนลงทะเบียนจองวัคซีนซิโนฟาร์ม สำหรับประชาชนทั่วไป 18 ก.ค. 64 นี้

10 สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนลงทะเบียนจองวัคซีนซิโนฟาร์ม สำหรับประชาชนทั่วไป 18 ก.ค. 64 นี้
Ingonn
15 กรกฎาคม 2564 ( 17:59 )
392
2
10 สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนลงทะเบียนจองวัคซีนซิโนฟาร์ม สำหรับประชาชนทั่วไป 18 ก.ค. 64 นี้

เป็นเรื่องที่ตั้งตารอคอย กับการลงทะเบียนฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม กับทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ซึ่งเลื่อนมาเป็นวันที่ 18 ก.ค. 64 แล้ว ทาง TrueID จึงได้รวบรวมสิ่งที่ควรรู้ก่อนฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มมาฝากทุกคน เพื่อเป็นอีกส่วนหนึ่งในการตัดสินใจลงทะเบียนจองคิวฉีดวัคซีน

 

 

โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ประกาศผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า วัคซีนทางเลือก “ซิโนฟาร์ม” สำหรับประชาชน เปิดจองรอบแรก จำนวน 40,000 ราย สำหรับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดในกรุงเทพ ปริมณฑล และ 4 จังหวัดภาคใต้

 

 

กำหนดการเปิดจอง วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม 2564 เวลา 8.00 น. โดยลงทะเบียนจองวัคซีนผ่าน 2 ช่องทางผ่านแอปพลิเคชัน "CRA SINOP" ทั้งระบบ iOS และ Android และ เว็บไซด์ https://sinopharm.cra.ac.th

 

 

บัตรประชาชน 1 ใบต่อ 1 สิทธิ โดยวัคซีนซิโนฟาร์มจะราคา 1,544 บาท (เข็มละ 777 บาท ) รับวัคซีนทั้งหมด 2 เข็ม เริ่มเข้ารับวัคซีนในโรงพยาบาลที่กำหนดได้ตั้งแต่ 28 กรกฎาคม - 31 สิงหาคม 2564

 


เงื่อนไขในการจอง วัคซีนซิโนฟาร์ม มีอะไรบ้าง

 

1) อัตราดังกล่าวรวมค่าประกันผลข้างเคียงแล้ว แต่ไม่รวมค่าบริการฉีดและค่าบริการทางการแพทย์ที่ผู้ฉีดจะต้องชำระ ณ โรงพยาบาลที่เข้ารับบริการโดยตรง

 


2) การจองวัคซีน 1 สิทธิ์ ต่อ 1 บัญชีผู้ใช้งานที่ระบุตามเลขที่บัตรประจำตัวประชาชนหรือเลขที่หนังสือเดินทาง ทั้งนี้ ผู้จองสิทธิ์จะไม่สามารถโอนสิทธิ์การฉีดวัคซีนให้กับบุคคลอื่นได้ทุกกรณี

 


3) ผู้จองสิทธิ์รับวัคซีนซิโนฟาร์ม ยินดีและเต็มใจสละสิทธิ์การรับวัคซีนหลักพื้นฐานในภาวะฉุกเฉินตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 47 และเป็นบุคคลอายุ 18 ปีขึ้นไปที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 มาก่อน กรณีปกปิดข้อมูลการรับวัคซีน เพื่อให้ได้รับวัคซีนต่างชนิดหรือใช้วัคซีนเพื่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันก่อนเวลาที่เหมาะสม ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะไม่รับผิดชอบผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม และการประกันอาจไม่คุ้มครองการรักษาพยาบาลที่เกิดจากอาการข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีน

 


4) ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ไม่รับเปลี่ยนหรือคืนวัคซีนทุกกรณี ภายหลังจากที่ผู้จองสิทธิ์ได้ชำระเงินเรียบร้อยแล้ว

 

 

 

 

 

10 สิ่งที่ควรรู้ไว้ก่อนฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม

 

1.วัคซีนซิโนฟาร์ม เป็นวัคซีนสัญชาติจีนตัวแรกที่องค์การอนามัยโลก ( WHO ) รับรองให้ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน

 


2.วัคซีนโควิด-19 ซิโนฟาร์มมีชื่อทางการว่า BBIBP-CorV ที่ผลิตโดยบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตายเช่นเดียวกับวัคซีนโควิด-19 ซิโนแวคและโควาซิน

 


3.อนุมัติใช้มากกว่า 40 ประเทศทั่วโลก เช่น อาร์เจนตินา บาห์เรน อียิปต์ โมร็อกโก ปากีสถาน เปรู และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) จีน ปากีสถาน และฮังการี

 


4.วัคซีนโควิด-19 ซิโนฟาร์มนั้นต้องฉีด 2 โดส ห่างกัน 3-4 สัปดาห์ โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นแขนทั้งสองเข็ม

 


5.ทุกประเทศแนะนำให้ฉีดเฉพาะในประชากรกลุ่มที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป แต่อาจจะต้องมีการจับตาดูกลุ่มผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปหลังจากฉีดวัคซีนแล้วมากเป็นพิเศษ เนื่องจากมีกลุ่มผู้สูงอายุเข้าร่วมการทดสอบทางคลินิกน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ อาจมีแนวโน้มว่าจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มผู้สูงอายุ

 


6.วารสาร JAMA ในเดือน พ.ค. ระบุว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม ครบ 2 โดส จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด 19 ได้มากถึง 79% ป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงได้ 100% รวมถึงประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ (ทั้งมีและไม่มีอาการ) อยู่ที่ 73.5% ในระยะเวลาติดตามผลการทดลอง 112 วัน

 


7.สามารถจัดเก็บได้ง่ายที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส จึงเหมาะสำหรับประเทศที่ไม่มีอุปกรณ์พิเศษ หรือรถแช่เย็นอุณหภูมิต่ำมากๆ สำหรับการขนส่งวัคซีน

 


8.ผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม อาจมีอาการปวด บวม และมีรอยแดง บริเวณที่ฉีด อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว มีไข้ และอาการหนาวสั่น อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นภายใน 1-2 วัน หลังได้รับการฉีดวัคซีน

 


9.จากการวิจัยของสถาบันผลิตภัณฑ์ชีวภาพปักกิ่งสถาบันในเครือซิโนฟาร์ม ร่วมกับสถาบันจุลชีววิทยาของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์จีน พบว่าวัคซีนซิโนฟาร์ม ทำให้โควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ประสิทธิภาพลดลงเฉลี่ย 1.6 เท่า ซึ่งน้อยกว่าวัคซีนชนิด mRNA ซึ่งลดความร้ายแรงของ โควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ได้ถึง 6 เท่า ส่วนสายพันธุ์อังกฤษ บราซิล หรืออินเดีย ยังไม่พบผลการศึกษา

 


10.วัคซีนซิโนฟาร์ม เป็นวัคซีนตัวเลือกที่ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นผู้แทนในการจัดซื้อในนามรัฐ กับทางผู้ผลิต และนำเข้ามา โดยมีข้อกำหนดตามประกาศของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) โดยวัคซีนที่ทางองค์กร หรือหน่วยงานตามข้อกำหนด ศบค. เมื่อได้รับการจัดสรรจากทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ต้องนำไปฉีดให้แก่บุคลากรหรือกลุ่มคนภายใต้หน่วยงาน หรือองค์กร โดยห้ามนำไปจำหน่ายหรือคิดมูลค่าใดๆ

 

 

 

ข้อมูลจาก TNN , เฟซบุ๊ก โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง