ญี่ปุ่นลดการพึ่งพา พลังงงานฟอสซิล ปล่อยคาร์บอนต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

กระทรวงสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่นรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศในปี 2023/2024 ลดลงร้อยละ 4 จาก 1.116 พันล้านตัน เหลือ 1.071 พันล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 1990 ที่มีการเก็บบันทึกข้อมูลมา และนับว่เป็นปีที่ 2 ติดต่อกันที่ตัวเลขการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศลดลง
จากรายงานระบุว่า สาเหตุที่ทำให้ญี่ปุ่นลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงมาจากลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิล โดยเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้นคิดเป็นร้อยละ 22.9 ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด รวมถึงเริ่มกลับมาใช้พลังงานนิวเคลียร์อีกครั้งหลังจากเหตุการณ์ฟุกุชิมะเมื่อปี 2011 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับที่ 5 ของโลก ที่ผ่านมาภาครัฐมีนโยบายตั้งเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงให้ได้ร้อยละ 46 เมื่อเทียบกับปี 2013 ภายในปี 2030 ซึ่งรายจากฉบับล่าสุดพบว่าตัวเลขการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของญี่ปุ่นลดลงไปได้แล้วร้อยละ 23.3 สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามในการปรับเปลี่ยนระดับพลังงานและเดินหน้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ แม้ว่าจะยังมีการพึ่งพาพลังงานฟอสซิลในระดับสูงก็ตาม
ก๊าซเรือนกระจก หรือ Greenhouse Gases มีทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ ก๊าซคาณ์บอนไดออกไซด์ (CO2), มีเทน (CH4), ไนตรัสออกไซด์ (N2O), ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs), ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs), ก๊าซไนโตรเจนไตร-ฟลูออไรด์ (NF3) และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) เป็นก๊าซในชั้นบรรยากาศของโลกที่ทำหน้าที่กักเก็บความร้อนไว้ในโลก เพื่อให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่ในทางกลับกันหากมีก๊าซเรือนกระจกมากจนเกินไปก็จะเกิดภาวะเรือนกระจก ทำให้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ถูกกักเก็บไว้ในโลกมากกว่าปกติ ส่งผลต่ออุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้น กลายเป็นภาวะโลกร้อน กระทบต่อสิ่งมีชีวิตในโลก นำไปสู่ปัญหาสิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติที่รุนแรง รวมไปถึงความผิดปกติของสภาพอากาศในทั่วโลก