รีเซต

3 พฤศจิกายน ไลก้า ส่องเรื่องเศร้าของ สุนัขตัวแรกโคจรรอบโลก

3 พฤศจิกายน ไลก้า ส่องเรื่องเศร้าของ สุนัขตัวแรกโคจรรอบโลก
TeaC
22 กันยายน 2566 ( 22:13 )
792
3 พฤศจิกายน ไลก้า ส่องเรื่องเศร้าของ สุนัขตัวแรกโคจรรอบโลก

ข่าววันนี้ วันนี้วันที่ 3 พฤสจิกายน อีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ของโลก เป็นวันที่เราได้รู้จัก "ไลก้า" สุนัขตัวแรกของโลกที่โคจรรอบโลก แต่น่าเศร้าที่ไลก้า เสียชีวิตภายไม่กี่ชั่วโมงหลังปล่อยยานจากความร้อนกิน ซึ่งจากข้อมูลเว็บไซต์วิกิพีเดีย ระบุถึงเหตุการณ์ครั้งสำคัญในครั้งนี้ 

 

3 พฤศจิกายน 2566

 

สำหรับ "ไลก้า" เป็นสุนัขเร่ร่อน เดิมชื่อ คุดร์ยัฟกา เข้าสู่การฝึกกับสุนัขอื่นอีกสองตัว และไลก้าได้รับเลือกเป็นผู้โดยสารไปกับยานอวกาศโซเวียต สปุตนิก 2 ถือเป็นสุนัขอวกาศโซเวียตที่กลายเป็นสัตว์ตัวแรกที่โคจรรอบโลก เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่ามนุษย์จะไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้จากการปล่อยหรือสภาพของอวกาศ ด้วยเพราะสมัยนั้นทั้งเทคโนโลยีการผละออกจากวงโคจรยังไม่พัฒนา จึงคาดการณ์กัยว่า สุนัขตัวนี้ไม่น่าจะรอดชีวิต ดังนั้น วิศวกรจึงมองว่าเที่ยวบินที่ส่งสัตว์ขึ้นสู่อวกาศด้วยนั้นจำเป็นก่อนภารกิจของมนุษย์

 

คาดว่าไลก้าน่าจะตายภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังปล่อยยานจากความร้อนเกิน ซึ่งเป็นไปได้ว่าเกิดจากความล้มเหลวของระบบยังชีพกลางอาร์-7 (R-7 sustainer) ในการแยกจากน้ำหนักบรรทุก สาเหตุและเวลาการตายที่แท้จริงของมันนั้นไม่ได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะ

 

กระทั่ง ค.ศ. 2002 แต่ก่อนหน้านั้นได้รายงานอย่างกว้างขวางว่ามันตายเพราะขาดออกซิเจนในวันที่หก หรือตามที่รัฐบาลโซเวียตอ้างแต่แรก มันตายสบาย (euthanised) ก่อนออกซิเจนพร่องไปอีก อย่างไรก็ดี การทดลองพิสูจน์ว่าไลก้าสามารถรอดชีวิตจากการปล่อยยานขึ้นสู่วงโคจรและทนต่อสภาวะไร้น้ำหนัก

 

 

ไลก้า ผู้กรุยทางแก่การบินอวกาศมนุษย์

เป็นการกรุยทางแก่การบินอวกาศมนุษย์และให้ข้อมูลแรก ๆ บางส่วนแก่นักวิทยาศาสตร์ว่า สิ่งมีชีวิตตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมในการบินอวกาศอย่างไร

 

ความสำเร็จของ สปุตนิก (1956–1959)

เป็นโครงการอวกาศแรกของโซเวียต แบ่งเป็นการพัฒนาดาวเทียมสปุตนิก 1 และสปุตนิก 3 และการทดลองหาผลกระทบของการบินอวกาศที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและการพัฒนาระบบยังชีพในยานอวกาศ สปุตนิก 2 สปุตนิก 4 สปุตนิก 5

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง