รีเซต

เปิดจุดเสี่ยง ภัยห้องน้ำหญิง หลัง “หมิว สิริลภัส” ถูกตำรวจคุกคาม

เปิดจุดเสี่ยง ภัยห้องน้ำหญิง หลัง “หมิว สิริลภัส” ถูกตำรวจคุกคาม
Ingonn
23 มีนาคม 2564 ( 12:41 )
451

เกิดเป็นผู้หญิงสมัยนี้ จะเป็นคนที่สวย เก่ง ฉลาดคงไม่พอแล้ว ต้องรู้จักป้องกันตัวจากคนที่ไม่ประสงค์ดี คิดจะคุกคามทางเพศเราอีกด้วย อย่าง ข่าวนักแสดงชื่อดัง หมิว สิริลภัส กองตระการ ที่เข้าห้องน้ำในปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่ง แล้วตำรวจในสังกัดบช.น.แอบถ่ายในห้องน้ำ โดยตำรวจอ้างเข้าห้องน้ำผิด ไม่ทันดูว่าเป็นห้องน้ำหญิง

 

 

นอกจากนั้นยังมีอีกหลายๆเหตุการณ์ที่เป็นข่าว คนแอบถ้ำมองตามห้องน้ำหญิงในสถานที่ต่างๆ วันนี้ True ID เลยขอพามาสำรวจจุดเสี่ยงที่ต้องระวังและแนวทางป้องกันตัว หากเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้

 

 

ห้องน้ำที่ไหนบ้างที่ต้องระวัง!


    • ห้องน้ำสาธารณะหยอดเหรียญ เช่น ตามตลาดนัด สวนสาธารณะหรือลานจอดรถ เป็นต้น
    • ห้องน้ำปั๊มน้ำมัน
    • ห้องน้ำในโรงเรียน
    • ห้องน้ำที่ไม่แบ่งแยกชาย-หญิง
    • ห้องน้ำห้างสรรพสินค้า

 

 

พฤติกรรมคนร้ายส่วนใหญ่จะใช้วิธีซ่อนกล้องไว้ตามห้องน้ำหรือบางรายจะเป็นคนเข้าไปแอบถ่ายเอง หรือที่คนส่วนใหญ่มักเรียกคนเหล่านี้ว่า “นักถ้ำมอง” ซึ่งจะเลือกใช้ห้องน้ำสาธารณะสำหรับการแอบมองพฤติกรรมต่างๆของเหยื่อเวลาเข้าห้องน้ำ

 

 

ทำไมถึงชอบถ้ำมอง?


คนที่มีพฤติกรรมถ้ำมองเป็นคนที่มีแนวโน้มมีความผิดปกติทางเพศ (Sexual disorders) ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มักจะหักห้ามใจตัวเองไม่ได้ แม้จะรู้ว่าไม่ถูกต้อง โดยทางการแพทย์ เชื่อว่าเกิดจากผู้ป่วยไม่สามารถมีพัฒนาการทางจิตใจในเรื่องเพศที่สมบูรณ์ และจากประสบการณ์ในวัยเด็ก เช่น การเลี้ยงดูจากครอบครัว การเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมอย่าง “นักถ้ำมอง” ได้ง่าย และคนเหล่านี้ จะไม่มีความมั่นใจในตนเอง บางรายเกิดความรู้สึกละอายแก่ตนเอง บางรายมีความเศร้า ในชีวิตมากขึ้น

 

 

ในโลกนี้มีมากกว่านักถ้ำมองเสียอีก!


1.Voyeuristic disorder เกิดอารมณ์ทางเพศจากการแอบดูผู้อื่นเปลือย กำลังถอดเสื้อผ้า หรือขณะกำลังร่วมรัก 
2.Exhibitionistic disorder เกิดอารมณ์ทางเพศจากการเปิดเผยอวัยวะเพศของตนต่อคนแปลกหน้าที่ไม่ได้คาดคิด
3. Frotteuristic disorder เกิดอารมณ์ทางเพศจากการสัมผัสหรือถูไถผู้อื่นที่ไม่ได้ยินยอม
4. Sexual masochism disorder เกิดอารมณ์ทางเพศจากการถูกทำให้ตนเองอับอาย เจ็บปวด หรือเกิดความทุกข์ทรมานโดยวิธีต่างๆ
5. Sexual sadism disorder เกิดอารมณ์ทางเพศจากการทำให้ผู้อื่นเกิดความทุกข์ทรมานทางร่างกายหรือจิตใจ 
7. Fetishistic disorder เกิดอารมณ์ทางเพศจากสิ่งของหรืออวัยวะที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ สิ่งของที่ใช้นั้นไม่หมายรวมถึงเสื้อผ้าที่ใช้แต่งกายเป็นเพศตรงข้าม หรืออุปกรณ์ที่ใช้เพื่อกระตุ้นสัมผัสของอวัยวะเพศโดยตรง
8. Transvestic disorder เกิดอารมณ์ทางเพศจากการแต่งกายเป็นเพศตรงข้าม

 

 

แนวทางการป้องกันตัวเองจากคนเหล่านี้


พ.ต.ท.โชติวิเชียร วิเชียรโชติ อดีตรอง ผกก.ศูนย์พัฒนาด้านการข่าว กองบัญชาการตำรวจสันติบาล (บช.ส.) เคยเสนอแนวทางในการป้องกันตัวไว้ว่า คนที่มีพฤติกรรมเหล่านี้คาดหวังให้เหยื่อแสดงปฏิกิริยาตอบสนองในแบบที่ต้องการ ฉะนั้นการรับมือที่ดีที่สุดคือการที่เราทำพฤติกรรมตรงกันข้าม เช่น 


1.สังเกตสภาพแวดล้อมการเข้าห้องน้ำในที่สาธารณะ
2.เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นให้ทำตัวเฉยๆ พยายามไม่ตกใจ ไม่หวีดร้องเสียงดัง 
3.ตั้งสติขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง
4.นำตนเองออกมาอยู่ในระยะปลอดภัย
5.บันทึกภาพไว้ เป็นหลักฐานในการดำเนินคดี 
6.พกอาวุธป้องกันตัว เช่น สเปรย์พริกไทย 

 


การรักษาผู้ป่วยในกลุ่มนี้ สามารถพาไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชทุกแห่ง เพราะหากไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมนี้ไปตลอดชีวิต และต้องอาศัยการรักษาด้วยยาควบคู่ไปกับการรักษาด้านจิตใจหรือการปรับพฤติกรรม รวมถึงครอบครัว ต้องให้ความร่วมมือจึงจะทำให้การรักษาได้ผลดีขึ้น 

 

 

ข้อมูลจาก
ผศ.นพ.ภควัต วิวัฒนวรเศรษฐ์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
www.thaibodyguard.com/

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง