รีเซต

#Dek64 ต้องรู้ สอบ 9 วิชาสามัญ

#Dek64 ต้องรู้ สอบ 9 วิชาสามัญ
Ingonn
4 เมษายน 2564 ( 11:47 )
20K
#Dek64 ต้องรู้ สอบ 9 วิชาสามัญ

ใกล้เข้ามาแล้วกับการสอบวิชาสามัญของน้องๆม.ปลาย หลายคนคงกำลังเตรียมฝึกทำข้อสอบเก่า อ่านเนื้อหาต่างๆ แต่วันนี้ True ID จะมาเช็คลิสต์ช่วยเตือนกันว่า อย่าลืมอะไรบ้างในวันสอบ และแนวข้อสอบเป็นแบบไหนกันบ้าง

 

 

ตารางสอบวิชาสามัญ

 

วันที่ 3 เมษายน 2564

 

เวลา 08.30 น. - 10.00 น. สอบวิชาชีววิทยา
เวลา11.00 น. - 12.30 น. สอบวิชาฟิสิกส์
เวลา13.30 น. - 15.00 น. สอบวิชาภาษาไทย
เวลา15.30 น. - 17.00 น. สอบวิชาสังคมศึกษา

 

วันที่ 4 เมษายน 2564

 

เวลา 08.30 น. - 10.00 น. สอบวิชาคณิตศาสตร์1
เวลา11.00 น. - 12.30 น. สอบวิชาภาษาอังกฤษ
เวลา13.30 น. - 15.00 น. สอบวิชาเคมี

 

ประกาศผลสอบ วันที่ 29 เมษายน 2564


เนื้อหาที่ออกสอบ รูปแบบและจำนวนข้อสอบ

 

วิชาภาษาไทย

 

1. การอ่าน
    • การอ่านเพื่อเข้าใจเนื้อหา
    • การจับใจความ / การสรุปสาระสำคัญของข้อความ
    • การตีความ
    • การวิเคราะห์จุดประสงค์ / เจตนาของผู้เขียน
    • การวิเคราะห์ข้อคิด / แนวคิดที่ได้จากการอ่าน
    • การอนุมานจากเนื้อหาของข้อความที่อ่าน
    • ท่าที / น้ําเสียง / อารมณความรู้สึก / ความคิดเห็นของผู้เขียน

 

2. การเขียน
    • การเรียงลำดับข้อความ
    • การเรียงความ
    • การพรรณนา / บรรยาย / อธิบาย
    • การใช้เหตุผล
    • การแสดงทรรศนะ
    • การโต้แย้ง
    • การโน้มน้าว
      
3. การพูด การฟัง
    • การวิเคราะห์จุดประสงคในการพูด
    • การใช้ข้อความถามและตอบที่สัมพันธ์กัน
    • การตีความ / อนุมาน / วิเคราะห์สาร / บุคลิกของผู้พูดหรือผู้ฟัง

 

4. หลักการใช้ภาษา
    • การสะกดคำ
    • การใช้คําตรงความหมาย
    • ประโยคกํากวม / ประโยคบกพร่อง
    • ประโยคสมบูรณ์
    • ระดับภาษา
    • การใช้สํานานถูกตองตามความหมาย
    • ชนิดของประโยคตามเจตนา
    • คําที่มีความหมายตรง / อุปมา
    • คําทับศัพทภาษาอังกฤษ
    • ราชาศัพท์

รูปแบบและจำนวนข้อสอบ
ปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ (50 ข้อ 100 คะแนน) มีเวลาในการทำข้อสอบเฉลี่ยข้อละ 1 นาที 48 วินาที

 

 

วิชาสังคมศึกษา


1. ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
    • ความสําคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนา ศาสนาอื่นมีศรัทธาที่ถูกต้องยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักธรรมเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
    • การปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดีและธํารงรักษาพระพทธศาสนา หรือ ศาสนาที่ตนนับถือ


2. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดําเนินชีวิตในสังคม
    • หน้าที่ของการเป็นพลเมืองที่ดีมีค่านิยมที่ดีงาม การธํารงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย การดํารงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข
    • การเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน การยึดมั่น ศรัทธาและธํารงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


3. เศรษฐศาสตร์
    • บริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จํากัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
    • สถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความจําเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก


4. ประวัติศาสตร์
    • เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์หลักฐานและวิธีการทางประวัติศาสตร์วิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ
    • พัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในด้านความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตการณ์ในทวีปเอเชีย ยุโรปแอฟริกา และอเมริกา
    • ชาติไทย การเมืองเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม ประเพณีภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจ และความเป็นไทย


5. ภูมิศาสตร์
    • โลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกัน ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหาวิเคราะห์สรุปข้อมูลตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์ตลอดจนใช้ภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
    • ปฏิสัมพันธระหว่างมนษย์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วิถีการดำเนินชีวิต มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน


รูปแบบและจำนวนข้อสอบ

ปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ (50 ข้อ 100 คะแนน)มีเวลาในการทำข้อสอบเฉลี่ยข้อละ 1 นาที 48 วินาที

 

 

ภาษาอังกฤษ


1. Listening -Speaking Skills
    • Situation dialogues 


2. Reading Skills
    • Graph/chart/diagram/table
    • Different Types of Texts 


3. Writing skills
    • Paragraph Completion 
    • Paragraph Organization 


รูปแบบและจำนวนข้อสอบ
ปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ (80 ข้อ 100 คะแนน) มีเวลาในการทำข้อสอบเฉลี่ยข้อละ 1 นาที 7 วินาที

 

 

วิชาคณิตศาสตร์


วัดเนื้อหาตามสาระการเรียนรู้แกนกลางและ สาระการเรียนรู้เพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย


1. สาระจํานวนและพีชคณิต
    • เซต
    • ตรรกศาสตร์
    • จํานวนจริงและพหุนาม
    • ฟังก์ชัน
    • ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล
    • ฟังก์ชันลอการทิม
    • ฟังก์ชันตรีโกณมิติ
    • จํานวนเชิงซ้อน
    • เมทริกซ์
    • ลําดับและอนุกรม


2. สาระการวัดและเรขาคณิต
    • เรขาคณิตวิเคราะห์
    • เวกเตอรในสามมิติ


3. สาระสถิติและความน่าจะเป็น
    • สถิติ
    • การแจกแจงความน่าจะเป็นเบื้องต้น
    • หลักการนับเบื้องต้น
    • ความน่าจะเป็น


4. สาระแคลคูลัส
    • แคลคูลัส


รูปแบบและจำนวนข้อสอบ
ปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ (25 ข้อ 75 คะแนน) ระบายคำตอบเป็นค่าตัวเลข (5 ข้อ 25 คะแนน) มีเวลาในการทำข้อสอบเฉลี่ยข้อละ 3 นาที

 


วิชาฟิสิกส์


วัดเนื้อหาตามสาระการเรียนรู้แกนกลางและ สาระการเรียนรู้เพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้แก่สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ และสาระฟิสิกส์ประกอบด้วย


    1. ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์
    2. การเคลื่อนที่แนวตรง
    3. แรงและกฎการเคลื่อนที่
    4. สมดุลกลของวัตถุ
    5. งานและกฎการอนุรักษ์พลังงานกล
    6. โมเมนตัมและการชน
    7. การเคลื่อนทแนวโค้ง
    8. การเคลื่อนทแบบฮาร์มอนิกส์อย่างง่าย
    9. คลื่น
    10. เสียง
    11. แสง
    12. ไฟฟ้าสถิต
    13. ไฟฟ้ากระแส
    14. แม่เหล็กและไฟฟ้า
    15. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
    16. ความร้อนและแก๊ส
    17. ของแข็งและของไหล
    18. ฟิสิกส์อะตอม
    19. ฟิสิกส์นิวเคลียร์และฟิสิกส์อนุภาค


รูปแบบและจำนวนข้อสอบ
ปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ (25 ข้อ 75 คะแนน) ระบายคำตอบเป็นค่าตัวเลข (5 ข้อ 25 คะแนน) มีเวลาในการทำข้อสอบเฉลี่ยข้อละ 3 นาที

 

 

วิชาเคมี


วัดเนื้อหาตามสาระการเรียนรู้แกนกลางและ สาระการเรียนรู้เพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้แก่สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ และสาระเคมีประกอบด้วย


    1. อะตอมและสมบัติของธาตุ
    2. พันธะเคมี
    3. โมล สารละลาย และปริมาณสัมพันธ์
    4. แก๊ส
    5. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
    6. สมดุลเคมี
    7. กรด – เบส
    8. ไฟฟ้าเคมี
    9. เคมีอินทรีย์
    10. พอลิเมอร์
    11. ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี


รูปแบบและจำนวนข้อสอบ
ปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ (40 ข้อ 80 คะแนน) ระบายคำตอบเป็นค่าตัวเลข (5 ข้อ 20 คะแนน) มีเวลาในการทำข้อสอบเฉลี่ยข้อละ 2 นาที

 

 

วิชาชีววิทยา


วัดเนื้อหาตามสาระการเรียนรู้แกนกลางและ สาระการเรียนรู้เพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้แก่สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และสาระชีววิทยา ประกอบด้วย


    1. การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ
    2. การหมุนเวียนสารในระบบนเวศิ
    3. ความหลากหลายของไบโอมในเขตภูมิศาสตร์ต่าง ๆ ของโลก
    4. การเปลี่ยนแปลงแทนทของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
    5. ประชากร
    6. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    7. โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์
    8. การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์
    9. การหายใจระดับเซลล์
    10. การแบ่งเซลล์
    11. ระบบภูมิคุ้มกัน
    12. ระบบย่อยอาหาร
    13. ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำเหลือง
    14. ระบบขับถ่าย
    15. ระบบหายใจ
    16. ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก
    17. ระบบสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต
    18. ระบบต่อมไร้ท่อ
    19. การเคลื่อนที่
    20. พฤติกรรมของสัตว์
    21. เนื้อเยื่อและโครงสร้างภายในของพืช
    22. การแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำของพืช และ การลําเลียงของพืช
    23. การสังเคราะห์ด้วยแสงและสารอินทรีย์ในพืช
    24. การสืบพันธุ์ของพืชดอก
    25. การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช
    26. สมบัติและหน้าที่สารพันธุกรรม
    27. ความสัมพันธ์ระหว่างยีน การสังเคราะห์โปรตีน และลักษณะทางพันธุกรรม
    28. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
    29. การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
    30. เทคโนโลยทาง DNA
    31. การศึกษาและแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ
    32. พันธุศาสตร์ประชากร
    33. ความหลากหลายทางชีวภาพ
    34. อนุกรมวิธาน

 


รูปแบบและจำนวนข้อสอบ
ปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ (50 ข้อ 100 คะแนน) มีเวลาในการทำข้อสอบเฉลี่ยข้อละ 1 นาที 48 วินาที

 

 

เตรียมตัวให้พร้อม ซักซ้อมให้ดี

 

1.คืนก่อนสอบ


    • เตรียมบัตรแสดงตน บัตรประชาชน หรือ บัตรนักเรียน หรือ บัตรที่ทางราชการออกให้ที่มีรูปถ่ายให้พร้อม
    • เช็คบัตรประจำตัวผู้สอบ ดูแผนที่สนามสอบ ศึกษาเส้นทางการเดินทาง
    • จัดเตรียมชุด (ชุดนักเรียน ชุดนักศึกษา หรือชุดสุภาพเรียบร้อย)
    • เตรียมอุปกรณ์การสอบให้พร้อม
    • ไม่นอนดึก

 

2.วันสอบ


    • ควรรับประทานอาหารเช้า
    • ควรเผื่อเวลาในการเดินทางไว้สัก 2 ชั่วโมง
    • ทำสมาธิ 
    • เมื่อใกล้เวลาเข้าห้องสอบให้ไปเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อย
      

3.การแต่งกาย


เครื่องแบบนักเรียน นักศึกษา หรือชุดสุภาพตามประเพณีนิยม (ห้ามเสื้อยืด กางเกงยีนส์ รองเท้าแตะ) และห้ามใส่เสื้อคลุมเข้าสอบ

 

4.อุปกรณ์ที่เข้าห้องสอบได้


    • ปากกา (สำหรับเซ็นชื่อ)
    • ดินสอสีดำ 2B
    • กบเหลาดินสอ
    • ยางลบ
    • นาฬิกาแบบเข็มเท่านั้น
    • สำหรับคนที่สอบ PAT 4 สามารถนำดินสอ หรือปากกาสำหรับเขียนรูปลายเส้น เข้าได้

 

5.อุปกรณ์ที่ห้ามเข้าห้องสอบ

            ▪ นาฬิกาดิจิทัล, นาฬิกา Smart watch, นาฬิกาที่ใช้คำนวณ-ถ่ายรูปได้
            ▪ กล้องถ่ายรูป
            ▪ โทรศัพท์มือถือ
            ▪ พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์
            ▪ อุปกรณ์ช่วยคิดคำนวณ (ยกเว้นผู้พิการทางการมองเห็น อนุญาตให้เอาลูกคิดเข้าห้องสอบได้)
            ▪ ไม้บรรทัดที่มีสูตรต่างๆ
            ▪ กระดาษ
            ▪ กล่องใส่อุปกรณ์

 

ระเบียบการเข้าห้องสอบ


      ไม่มีเลขที่นั่งสอบ ไม่มีสิทธิ์สอบ
      ไม่มีบัตรแสดงตน ไม่มีสิทธิ์สอบ
      ไปผิดสนามสอบ ไม่มีสิทธิ์สอบ
      สายเกิน 30 นาที ไม่มีสิทธิ์เข้าห้องสอบ
      
      
      และที่สำคัญน้องต้องทำนั่งข้อสอบจนหมดเวลา หากมีเหตุจำเป็นให้แจ้งกรรมการคุมสอบ ทุกครั้งก่อนออกจากห้องสอบ

 

ข้อมูลจาก

รูปแบบและจำนวนข้อสอบวิชาสามัญจากสทศ.

ผังการสร้างข้อสอบวิชาสามัญจากสทศ.

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

สอบ "TCAS64" เอา"นาฬิกาเข็ม" เข้าห้องสอบได้หรือไม่

รวมปัญหา TCAS #ฟ้องศาลเลื่อนสอบ สะท้อนการศึกษาทอดทิ้งเด็กไทย?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง