รีเซต

หอการค้าต่างชาติวิตกเศรษฐกิจไทยแย่ เอกชนเร่ง รบ.ถก ศบศ.-แจงกระจายวัคซีน

หอการค้าต่างชาติวิตกเศรษฐกิจไทยแย่ เอกชนเร่ง รบ.ถก ศบศ.-แจงกระจายวัคซีน
มติชน
2 มีนาคม 2564 ( 10:58 )
48
หอการค้าต่างชาติวิตกเศรษฐกิจไทยแย่ เอกชนเร่ง รบ.ถก ศบศ.-แจงกระจายวัคซีน

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างประเทศ โดยสำรวจผู้บริหารหอการค้าต่างประเทศประจำประเทศไทยจาก 40 ประเทศ กว่า 8,470 สถานประกอบการ เป็นครั้งแรก ช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2564 โดยผู้บริหารจาก 30 ประเทศส่งผลสำรวจ โดยมอบหมายให้สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ทำการสำรวจ เมื่อวันที่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมา พบว่า หอการค้าต่างประเทศส่วนใหญ่กว่า 80% มองสถานการณ์เศรษฐกิจไทย กำลังซื้อในประเทศ การลงทุนจากต่างประเทศ นโยบายเศรษฐกิจไทย และสถานการณ์การท่องเที่ยวมาไทย ในปัจจัยแย่ลง

 

นายกลินท์กล่าวว่า ขณะที่เกือบ 40 % มีมุมมองต่อเศรษฐกิจไทย กำลังซื้อในประเทศ และการท่องเที่ยวในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ แย่ลง และมองว่าการลงทุนจากต่างประเทศ นโยบายเศรษฐกิจไทย และภาคบริการไทยยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจากปัจจุบัน จึงทำให้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างประเทศต่อเศรษฐกิจไทย อยู่ระดับ 27.6 และ ค่าดัชนีตวสามเชื่อมั่ยต่อธุรกิจ อยู่ระดับ 32.1 จึงทำให้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างประเทศ (ดัชนี FBCI) อยู่ที่ 29.8

 

ทั้งนี้ ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมในไทยที่ธุรกิจต่างชาติต้องการให้แก้ไขเร่งด่วน คือ การว่างงานของแรงงานจากสถานการณ์ COVID-19ส่งผลต่ออานาจซื้อ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของภาคธุรกิจเอกชนทาให้เกิดการขาดสภาพคล่อง การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของภาคธุรกิจเอกชนทาให้เกิดการขาดสภาพคล่อง ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวที่ซบเซาจากการระบาด COVID-19 และการปิดประเทศทาให้นักท่องเที่ยว ไม่สามารถเดินทางเข้ามาได้ การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจไทย กฎระเบียบที่ซับซ้อนในการดาเนินธุรกิจในไทย การบริหารจัดการสถานการณ์ COVID-19 ของรัฐบาล ที่ทาให้เกิดการระบาดรอบ 2

 

นายกลินท์ กล่าวว่า ดังนั้นจึงมีผลต่อ ปัญหาทางธุรกิจ ทำให้ยอดขายชะลอตัวทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รายรับธุรกิจหดหาย ต้นทุนสูง ผลจากมาตรการรัฐเข้มงวดในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนยาก โดยเฉพาะในเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นซัพพลายเชนของธุรกิจใหญ่ก็เจอปัญหาไปด้วย และความไม่แน่ใจต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19 และการประท้วงทางการเมือง จึงเป็นประเด็นที่ธุรกิจต่างชาตเสนอให้รัฐบาลแก้ไข ได้แก่ มาตรการช่วยเหลือทางด้านการเงินให้กับภาคธุรกิจ และ SMEs ไทยโดยรวม รวมทั้งธุรกิจที่เป็นคู่ค้า มาตการช่วยเหลือแรงงานที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 แก้ไขกฎระเบียบที่ซับซ้อนในการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ เปิดประเทศเพื่อดึงดูดนักลงทุนและนักท่องเที่ยว สร้างความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพด้านการเมืองและการดาเนินงานที่มีประสิทธิภาพของรัฐบาล การพัฒนาวัคซีนเพื่อนามาฉีดให้ประชาชนในประเทศให้เร็วที่สุด

 

“ตอนนี้ภาคเอกชนต้องการให้รัฐบาลเร่งประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (ศบศ.) ภายใน 1-2 สัปดาห์เป็นอย่างช้า เพื่อให้รัฐบาลได้ออกมาชี้แจงถึงแผนการบริหารกระจายวัคซีน เพื่อเอกชนจะได้วางแผนทางธุรกิจให้สอดคล้อง โดยเอกชนเสนอให้ฉีดกระจายไปที่กลุ่มเสี่ยงในภาคบริการที่ต้องติดต่อคนไทยและต่างชาติก่อน เช่น วงการแพทย์ บริการด้านท่องเที่ยว ให้ชัดเจนจำนวนแผนที่จะกระจาย อนุญาตให้เอกชนร่วทำแผนกระจายบวัคซีนและให้บริษัทที่มีกำลังยินดีจ่ายค่าวัคซีนให้พนักงานเอง ที่สำคัญต่อสื่อสารสร้างความมั่นใจให้ประชาชนรู้ว่าปลอดภัยและฟื้นฟูประเทศไทยโดยเร็ว

 

“ที่สำคัญจากนี้รัฐควรทยอยปลดล็อกให้ธุรกิจมาดำเนินการได้ 100% ควรเกิดจากนี้ 1-2 เดือน และเปิดให้เข้าประเทศสำหรับกลุ่มที่ไม่มีความเสี่ยง และออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวโดยเร็ว เรื่องนี้เราจะนำเสนอที่ประชุมศบศ. เพราะไม่อย่างนั้นความเชื่อมันเอกชนต่างชาติอาจล่าช้าออกไป” นายกลินทร์กล่าว

นายกลินท์ยังกล่าวถึงกลุทธศาสตร์การค้าไทย ที่หอการค้าและเอกชนจะเสนอรัฐ ระยะแรกต้องเน้นเรื่องดันการค้าชายแดน ลดปัญหาโลจิสติกส์ แก้ปัยหขาดแรงงาน และกำหนดแผนการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ อะไรที่ควรเป็นวาระแห่งชาติ ก็ฌควรมาหารือกันและกำหนดเป็นรูปธรรม

 

นายสแตนลี่ย์ คัง ประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย กล่าวว่า ธุรกิจต่างชาติยังมองเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวได้เร็ว เพราะต้องรอดูผลจากการฉีดวัคซีนที่เพิ่งเริ่ม อีกทั้งการแก้ปัญหาการเมือง หากไม่มีเหตุการณ์รุนแรงในสายตาต่างชาติก็ไม่ได้กังวล แต่ที่เราต้องการเห็นคือแผนการอัดฉีดงบประมาณต่อเนื่องเพื่อการกระตุ้นใช้จ่ายและฟื้นเศรษฐกิจไทยในระยะยาวต่อเนื่อง เหมือนที่หลายประเทศทำอย่างในกลุ่มอเมริกา หรือ ยุโรป อีกทั้งเร่งแก้ปัญหาเรื่องการเข้าถึงเงินและช่วยสภาพคล่องเอสเอ็มอี เป็นซัพพลายเชนให้ธุรกิจต่างชาติ เมื่อเขามีปัญหาก็กระทบต่อการผลิตและป้อนโรงงานใหญ่ด้วย เรื่องแรงงานที่กำลังขาด ก็เป็นปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากนี้ และเรื่องโควิดก็ยังกังวลเรื่องการกลายพันธุ์ ด้วย

“ที่เราสำรวจเป็นช่วงที่เกิดโควิดระบาดรอบ 2 ในประเทศ และยังไม่มีความชัดเจนฉีดโควิดในไทย แต่การสำรวจรอบหน้าอีก 3 เดือนสถานการณ์อาจดีขึ้น มุมมองต่อเศรษฐกิจไทยก็จะดีขึ้น เบื้องต้นมองไว้ว่าหลังมิถุนายนจะดีขึ้น และเศรษฐกิจฟื้นได้ครึ่งปีหลัง ที่สำคัญรัฐทบทวนการปลดล็อกให้กลับมาดำเนินธุรกิจได้ปกติเร็วที่สุด” สแตนลี่ย์ คัง กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง