รีเซต

28 ปี “วิกฤตต้มยำกุ้ง” แผลเป็นระบบการเงินไทย l What's up Wealth

28 ปี “วิกฤตต้มยำกุ้ง” แผลเป็นระบบการเงินไทย l What's up Wealth
TNN ช่อง16
6 กรกฎาคม 2568 ( 08:41 )
31

”วิกฤตต้มยำกุ้ง” ชื่อที่ไม่มีใครอยากจดจำ แต่คนไทยก็ไม่มีใครสามารถที่จะลบเลือนช่วงเวลานั้นออกไปจากความรู้สึก และในช่วงเวลาเดียวกันนี้ของเมื่อ 28 ปี ที่แล้ว จากจุดเริ่มต้นด้วยการ “ลอยตัวค่าเงินบาท” จนกลายเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่รั้งเศรษฐกิจไทยไว้ไม่ไหว และทุกอย่างหลังจากนั้นก็กลายเป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งของเศรษฐกิจไทย 

จากจุดเริ่มต้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 หรือเมื่อ 28 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นวันที่ประเทศไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท จากค่าเงินบาทที่ถูกกดดันจากการเก็งกำไรอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่สมดุลของภาคเศรษฐกิจการเงินไทยในขณะนั้น แล้วทำไมการปล่อยค่าเงินให้ลอยตัวถึงได้ทำลายเศรษฐกิจไทยจนย่อยยับได้ขนาดนั้น

การพลิกหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศไทยในการก้าวขึ้นสู่ประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจ กลายเป็นการเติบโตที่ไร้ซึ่งเสถียรภาพ ไร้วินัยทางการเงิน การคลัง กฎเกณฑ์ของสถาบันการเงินที่หละหลวม เอื้อผลประโยชน์ให้พวกพ้อง ซึ่งแน่นอนนั้นคือรอยร้าวทางเศรษฐกิจที่ค่อย ๆ ลุกลาม

“จอร์จ โซรอส” พ่อมดทางการเงิน รวมถึงนักลงทุนในต่างประเทศต่างเห็นถึงจุดอ่อนของค่าเงินบาทที่ไม่สมดุลกับระบบเศรษฐกิจ ได้โจมตีด้วยด้วยการสร้างกระแสว่าจะมีการลดค่าเงินบาท ทำให้มีการขายเงินบาทเพื่อไปถือเงินดอลลาร์สหรัฐฯอย่างมหาศาล ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงต้องนำเงินทุนสำรองของทางการสูงถึง 24,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็น 2 ใน 3 ของเงินสำรองทั้งหมดมาใช้เพื่อปกป้องค่าเงินบาทจนทำให้เงินสำรองของทางการเหลืออยู่เพียง 2,850 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับปลายปี 2539 ที่มีถึง 38,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

และในที่สุด ประเทศไทยก็ต้านทานไม่ไหว ต้องประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ซึ่งก็ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวอย่างรุนแรงที่สุดถึง 56 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ผู้มีหนี้ต่างประเทศต้องแบกรับภาระหนี้ที่สูงขึ้นเกินเท่าตัว 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง