หากดีลภาษีทรัมป์ล่ม ผลกระทบคนไทย ใครเจ็บหนักสุด | ทางรอดประเทศคืออะไร?

การเจรจาภาษีทรัมป์กับสหรัฐฯ เกิดอะไรขึ้น ?
หลังเช้ามืด 8 ก.ค. ตามเวลาในประเทศไทย ข่าวที่ทำให้คนไทยทั้งประเทศช็อก หลังเราเป็น 1 ใน 14 ประเทศแรกที่ได้รับจดหมายจากทำเนียบขาว เพื่อยืนยันในเรื่องอัตราภาษี ที่จะถูกเรียกเก็บในวันที่ 1 ส.ค. 36% มีความหมายนัยยะสำคัญว่า 14 ประเทศนี้
ควรเร่งไปเจรจา และ ยื่นเสนอดีลที่น่าสนใจกับสหรัฐอเมริกาให้มากกว่านี้
ถอด คีย์เวิรด จดหมายจากสหรัฐฯ มองไทยอย่างไร?
ถ้าเราเอาจดหมายทรัมป์มากางดู จะมีไฮไลท์ที่โอ๋คิดว่าน่าจะพอเป็น keywords ให้คนไทยเป็นภาพชัดขึ้นว่า เขามองไทยอย่างบ้าง
สหรัฐอเมริกา ต้องการจัดการปัญหาขาดดุลการค้ากับไทย ถือว่าอัตรา 36% นี้ยัง ต่ำกว่าระดับที่จำเป็น
แต่หากประเทศไทย เลือกที่จะมาตั้งฐานการผลิตสินค้าในสหรัฐ จะ ไม่ต้องเสียภาษีใดๆ สุดท้ายเขาย้ำความต้องการชัดเจนว่า
ยังหวังร่วมงานกับไทยในฐานะพันธมิตรทางการค้า หากไทย จะเปิดตลาดการค้าที่เคยปิดไว้ต่อสหรัฐฯ ยกเลิกนโยบายกำแพงภาษี และมาตรการกีดกันอื่นๆ เราอาจพิจารณาปรับเงื่อนไขอัตราภาษี สามารถปรับเพิ่มหรือลดได้ ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่าง 2เทศ (ซึ่งการจะลดการขาดดุลการค้า ทำได้ 2 วิธี สหรัฐจะลดการนำเข้าจากไทย หรือ ส่งออกมาไทยให้มากขึ้น)
ข้อเสนอจากทีมไทยแลนด์ น่าสนใจแค่ไหน?
เรื่องนี้ คุณพิชัย ชุณหวชิระ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
เปิดเผยในรายการ กรรมกรข่าวคุยนอกจอว่า ที่ไทยได้อัตราภาษีนี้ในครั้งนี้ เป็นเพราะข้อเสนอล่าสุดของทีมไทย
ยังส่งไม่ไปถึงฝ่ายบริหารเขาสวนทางกับหนังสือทรัมป์ จึงทำให้ไม่ทันการพิจารณาในครั้งนี้
ทำไม ไทยเราถึงได้อัตราภาษีที่ 36% มากกว่า ญี่ปุ่นเกาหลีใต้
สังเกตดูการจัดเรทภาษีสหรัฐ จะคิดลักษณะ เกาะกลุ่มแบ่งหมวดหมู่กัน
ประเทศเล็ก น้อย แล้ว 40+ ดึงลงมาเป็น 40 ประเทศไหนต่ำกว่า 40 มักจะอยู่เท่าเดิม
ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย เขาจะเกาะกลุ่ม 25% คือ ประเทศที่ผลิตสินค้าไฮเทค ส่งไปจะได้เรทนี้
แต่ส่วนใหญ่ประเทศเราถูกมองว่า เป็นฐานการผลิตของประเทศอื่นๆ และส่งออกไปขายที่เขา เขาจึงคิดตัวเลขฐานภาษี คล้าย 40% ของเวียดนาม เพราะ เป็นสินค้า Transhipping
ตีความได้ว่า ประเทศไทยถูกเขามองว่าเป็นทางผ่านสินค้าจากประเทศที่สาม และ ไทยได้ดุลการค้ากับสหรัฐ อันดับ 10 จึงโดนกำแพงภาษีในเรทนี้
ขัอเสนอทีมไทยแลนด์ คือ
ลดภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ
สินค้าที่จะลดภาษีการนำเข้าจากสหรัฐ อาจมีถึง 90% ของสินค้าที่นำเข้าทั้งหมด
โดยอาจจะเหลือ 0% หรือใกล้เคียง ในเรทที่ประเทศคู่ค้าอื่นๆใน FTA เขาได้ลดอยู่แล้ว
เนื่องจากที่ผ่านมาสหรัฐ ไม่ได้ทำข้อตกลงการค้าเสรีกับไทยไว้ เขาเลยได้รับในเรทอัตราที่สูง
แต่ยังมีสินค้าอีก 10% ที่ไม่สามารถลดอัตราภาษีลงได้
เนื่องจากต้องคำนึงถึงผู้ผลิตในประเทศ และ ผลกระทบต่อความได้เปรียบทางการค้ากับประเทศอื่นๆ เช่นเดียวกัน เราต้องรักษาสมดุลตรงจุดนี้ด้วยเปิดตลาด (Market Access) ให้สินค้าสหรัฐฯ
เข้ามาขายในไทยได้มากขึ้นเร่งเพิ่มอัตราการนำเข้าสินค้ากับสหรัฐฯ แทน ประเทศอื่นๆ
สินค้าที่นำเข้าอยู่แล้ว อาจจะต้องเปลี่ยนประเทศไปนำเข้าจากสหรัฐแทน นอกเหนือจาก เครื่องบินโบอิ้ง(ที่การบินไทยซื้อจบไปแล้ว 35 ลำ ไม่แน่ใจว่าจะมีสายการบินของไทย สายการบินไหนสนใจซื้ออีก) ซื้อน้ำมันและแก๊สจากสหรัฐ (จากปัจจุบันเรานำเข้าจากกลุ่ม OPEC เสียเป็นส่วนใหญ่) เพื่อช่วยลดการขาดดุลการค้าให้สหรัฐ เพื่อเร่งกลับมารักษาสมดุลการค้าให้สำเร็จภายใน 10 ปี (ตัวเลขนี้หลายฝ่ายบอกว่านานไป รัฐบาลอยู่แค่ 4 ปีเอง ) รมว.พิชัย เชื่อว่า อัตราภาษี ต้องปรับลงแน่นอน
ผลกระทบคนไทย เจออะไรบ้าง หากเจรจาไม่สำเร็จ
TNN online มีโอกาสสัมภาษณ์ รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช
นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และเศรษฐกิจอาเซียน
ทำไมไทย ปิดดีลไม่สำเร็จ
เราเริ่มต้นปิดดีล ช้า เวียดนามเป็นชาติแรกที่โทรไปเจรจากับสหรัฐฯเลยจบดีลไปก่อน
แนวทางไม่ถูกใจสหรัฐ เพราะ ไทยใช้แนวทาง Win-Win ขณะที่สหรัฐฯ ใช้ทฤษฎี "คนบ้า" คือไม่แคร์ว่าใครจะเสียหาย ขอแค่ตัวเองได้เปรียบ
ในสถานการณ์นี้ ไทยควรเปลี่ยนแนว คือ ทำยังไงก็ได้ ให้เขารู้สึกว่า เขาชนะ และ เราเสียน้อยสุด
5 ผลกระทบโดยตรงต่อคนไทย ถ้าโดนภาษี 36% จริง
SME สินค้าส่งออกไปสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบ
รายได้หาย ยอดสั่งซื้อลด แข่งขันกับเจ้าอื่นไม่ได้ เพราะราคาแพงขึ้น มี 2 กลุ่ม
📦 กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม (ประมาณ 80% ของการส่งออกไปสหรัฐฯ)
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์กระทบแน่นอน เพราะสหรัฐฯ เป็นตลาดใหญ่ และมีคู่แข่งเพียบ
ชิ้นส่วนยานยนต์และอะไหล่
อุตสาหกรรม ชิ้นส่วนเครื่องบิน
เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า
ผลิตภัณฑ์ยาง ยางรถ ถุงมือยาง
🌾 กลุ่มสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป (ประมาณ 20% ของการส่งออกไปสหรัฐฯ)
กลุ่มนี้จะโดนผลกระทบ “เชิงสังคม” ด้วย เพราะเกี่ยวพันกับเกษตกร
ซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของประเทศไทย
ผลิตภัณฑ์ยางพารา (Natural Rubber)
น้ำมันปาล์ม และพืชน้ำมัน
ผลไม้สดและแปรรูป
เนื้อสัตว์และอาหารทะเลแปรรูป
แรงงานไทยก็เสี่ยง ตกงานเพิ่ม
เพราะโรงงานต้องลดกำลังผลิต ลดคน หรือย้ายฐานการผลิตนักลงทุนใหม่ไม่มา - ฐานการผลิตเก่าย้ายหนี:
ต่างชาติที่เคยคิดจะลงทุนในไทย อาจเปลี่ยนใจไปเวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย
ฐานการผลิตเดิมก็อาจย้ายออก ประเทศไทยจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันระยะยาวเศรษฐกิจชะลอตัว:
เม็ดเงินจากการส่งออกลดลง รายได้หาย คนตกงาน กำลังซื้อภายในประเทศก็จะลดตามไปด้วย ซ้ำเติมฉุด GDP อาจเหลือไม่ถึง 1-1.2% หรือแย่กว่านั้น
อาจารย์ แนะ 2 เรื่องเร่งด่วน เป็นวาระแห่งชาติ
กระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ: เพื่อให้เศรษฐกิจไม่ชะลอตัวจนต่ำกว่า 1-1.2%
เยียวยาภาคการผลิต: โดยเฉพาะอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ที่จะได้รับผลกระทบและแข่งขันไม่ได้กับคู่แข่งอย่างเวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
สิ่งที่ไทยควรทำ
ยอมรับภาษี 36% และ เร่งเจรจาให้ลดลง
เปิดตลาด 0% แค่บางรายการ ที่ไม่กระทบอุตสาหกรรมในประเทศ (สิ่งเดียวมั้งกับที่ท่านพิชัยกำลังทำ)
เร่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ลดการพึ่งพาการส่งออกอย่างเดียว (แสดงว่าคุณพิชัยก็มาถูกทางละ แต่อยู่ที่ว่า จะทำได้ไหม ทำอย่างไร?)
คนไทยควรรับมือยังไง?
กอดงานให้มั่น มีงานประจำช่วงนี้ ปลอดภัยสุด
หมวดส่งออกที่บอกไป เตรียมหางานสำรอง ถ้าเกิดเหตุไม่คาด
เก็บเงิน 3-6 เดือนสำรองไว้ งดใช้จ่าย 7 7 เพิ่งผ่านไป ลดช้อปได้ ลดนะ
Tag
ยอดนิยมในตอนนี้
