รีเซต

จะดีแค่ไหน ถ้าเราเลือกจับคู่ยารักษาโรคให้เข้ากับรหัสพันธุกรรม หรือ DNA ของเราได้

จะดีแค่ไหน ถ้าเราเลือกจับคู่ยารักษาโรคให้เข้ากับรหัสพันธุกรรม หรือ DNA ของเราได้
TNN Health
1 เมษายน 2565 ( 15:49 )
383
จะดีแค่ไหน ถ้าเราเลือกจับคู่ยารักษาโรคให้เข้ากับรหัสพันธุกรรม หรือ DNA ของเราได้

สมาคมเภสัชวิทยาอังกฤษ ผยความดีที่เป็นความหวังให้กับผู้ป่วยในอนาคต ด้วยการทอสอบทางพันธุกรรมที่สามารถทำนายได้ว่ายารักษาโรคนั้นจะใช้ได้ผลกับร่างกายของผู้ป่วยแค่ไหน

ปัญหาที่ผู้ป่วยหลายคนอาจเคยพบคือยาที่จ่ายโดยแบบบางชนิดใช้ไม่ได้ผลในทางการรักษาเลย ทำให้ต้องเสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย อันตรายกว่านั้น คือ อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตด้วย เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะความแตกต่างของรหัสพันธุกรรมที่ซ่อนอยู่ในร่างกายของแต่บละคนไม่เหมือนกัน


รหัสพันธุกรรม หรือ DNA คือ สิ่งที่เก็บข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต โดยเก็บไว้ในหน่วยพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ เปรียบเสมือนคู่มือสั่งงานของร่างกาย ส่วนการศึกษาเกี่ยวกับการจับคู่ยาเข้ากับดีเอ็นเอของคนเรา เรียกว่า เภสัชพันธุศาสตร์ (pharmacogenomics)


สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยลมชักคนหนึ่งที่ร่างกายมีปฏิกิริตอบสนองรุนแรงกับยารักษาโรคสมชักใหม่ ส่งให้ผิวหนังของเธอกลายเป็นแผลพุพอง เหมือนเพิ่งถูกไฟเผา ซึ่งแพทย์บอกว่าอาการนี้มักจะเกิดกับคนที่มียีนส์ผ่าเหล่าในร่างกาย


"99.5% ของคนเรา มีการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 1 อย่างในจีโนมของเรา ถ้าเราได้รับยาที่ผิด มันก็จะใช้ไม่ได้ผล หรือจะส่งผลร้ายตามมาได้" ศาสตราจารย์มาร์ก คอลฟีลด์ ว่าที่ประธานสมาคมเภสัชวิทยาอังกฤษ กล่าว


โดยในปัจจุบันได้มีการนำเภสัชพันธุศาสตร์มาใช้กับยาบางชนิดแล้ว ในคนราว 5-7% จะมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างรุนแรงต่อยารักษาเอชไอวี และบางคนก็ถึงขั้นเสียชีวิต การทดสอบดีเอ็นเอของคนก่อนที่จะสั่งจ่ายยา ทำให้ความเสี่ยงดังกล่าวหมดไป


ศาสตราจารย์ เซอร์มูเนียร์ เพียร์โมฮาเหม็ด จากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล กล่าวว่า เราจำเป็นต้องเปลี่ยนจากการใช้ยาตัวเดียวที่ใช้ได้กับทุกคน หันไปใช้วิธีที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ซึ่งคนไข้จะได้รับยาที่เหมาะสมในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาประสิทธิผลและความปลอดภัยในการใช้ยา

 

ที่มา: https://www.bbc.com/news/health-60903839

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง