รีเซต

'พยัคฆ์ไพร' จับมือ 'กอ.รมน.' ยึดสวนยาง3,400 ไร่ แจ้งเอาผิดนายทุนฮุบป่าเพชรบูรณ์

'พยัคฆ์ไพร' จับมือ 'กอ.รมน.' ยึดสวนยาง3,400 ไร่ แจ้งเอาผิดนายทุนฮุบป่าเพชรบูรณ์
มติชน
22 กรกฎาคม 2563 ( 16:29 )
203

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ชุดพยัคฆ์ไพร กรมป่าไม้ นำโดยนายนฤพนธ์ ทิพย์มณฑา หัวหน้าชุดพยัคฆ์ไพร ร่วมกับศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 4 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ศปป.4 กอ.รมน.) โดย พ.อ.พงษ์เพชร เกษสุภะ หัวหน้าชุดปฏิบัติการ ศปป.4 กอ.รมน. ภายใต้การอำนวยการของนายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมป่าไม้, พลโทเรืองสิทธิ์ มิตรภานนท์ ผอ.ศปป.4 กอ.รมน., นายชีวภาพ ชีวธรรม ผอ.สไนักป้องกันรักษาป่ากละควบคุมไฟป่า นำชุดปฏิบัติการทวงคืนผืนป่าซึ่งบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ประกอบด้วย สจป.4 สาขาพิษณุโลก, ศูนย์ป่าไม้เพชรบูรณ์, กอ.รมน.จ.เพชรบูรณ์., ตำรวจ สภ.หนองไผ่ และฝ่ายปกครอง ต.ท่าด้วง อ.หนองไผ่ พร้อมที่หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ พช.9 (บ้านโคกเจริญ) ต.ท่าด้วง อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ ลงพื้นที่ตรวจยึดพื้นที่ที่นายทุนจากภาคใต้ บุกรุกป่าสงวนแห่งชาติป่าลำกง และป่าคลองตะโก หมู่ที่ 4,6,8 ต.ท่าด้วง อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์รวม 7 แปลงเนื้อที่ 3,403-0-45 ไร่

สำหรับเป้าหมายในการตรวจยึดสวนยางพาราทั้ง 7 แปลง ได้แก่ แปลงที่ 1 เนื้อที่ 410-3-80 ไร่, แปลงที่ 2 เนื้อที่ 200-1-98 ไร่, แปลงที่ 3 เนื้อที่ 683-0-42 ไร่, แปลงที่ 4 เนื้อที่ 87-0-32 ไร่, แปลงที่ 5 เนื้อที่ 58-2-93.ไร่, แปลงที่ 6 เนื้อที่ 1810-1-34 ไร่, แปลงที่ 7 เนื้อที่ 152-1-64 ไร่ โดยนายทุนที่อยู่เบื้องหลัง ทั้งนี้ขณะลงพื้นที่ตรวจยึดทางชุดปฎิบัติการมีการติดป้ายการตรวจยึดพื้นที่ทั้งหมด อย่างไรก็ตามขณะลงพื้นที่ตรวจยึดทางชุดปฎิบัติการพบร่องรอยยังมีการกีดยางและมีถ้วยรับน้ำยางติดไว้ตามต้นยางเป็นจำนวนมาก แต่ไม่พบผู้กระทำผิดแต่อย่างไร อย่างไรก็ตามหลังจากทางชุดปฏิบัติการได้ทำบันทึกตรวจยึดแล้ว ได้มอบหมายให้ทางเจ้าหน้าทีป่าไม้ในพื้นที่เข้าพบพนักงานสอบสวน สภ.หนองไผ่ เพื่อแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับนายทุนและผู้เกี่ยวข้องในข้อหาบุกรุก พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 , พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 54 และกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 ต่อไป ส่วนความเสียหายของรัฐเบื้องต้นราว 232,242,597 บาท

นายนฤพนธ์ กล่าวว่า เมื่อวานนี้ได้ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับทางผู้นำหมู่บ้านและชาวบ้านเรียบร้อยแล้ว เพื่อคัดกรองเป้าหมายจึงยืนยันว่าปฏิบัดิการครั้งนี้เน้นเป้าหมายนายทุนจริงๆ โดยไม่มีชาวบ้านที่จะได้รับผลกระทบแต่อย่างใด ส่วนข้อเท็จจริงยังมีพื้นที่อีกส่วนราวกว่า 1,000 ไร่ของนายทุนรายเดียวกันที่อยู่ในเขตจ.ชัยภูมิ ซึ่งจะเป็นเป้าในการขยายผลตรวจยึดต่อไป

พ.อ.พงษ์เพชร กล่าวว่า นายทุนที่บุกรุกยึดครองป่าบริเวณนี้เป็นนายทุนจากภาคใต้โดยมีนายทุนในพื้นที่เป็นเครือข่ายด้วย โดยเข้ามากว้านซื้อที่ดินไว้ตั้งแต่เมื่อปี 2553-2554 เพื่อทำสวนยางพารมเป็นส่วนใหญ่และมีอีกส่วนเป็นสวนปาล์มรวมทั้งพืชเศรษฐกิจอื่นฉะนั้นเป้าหมายที่จะปฏิบัติการทางคณะเจ้าหน้าที่ได้มีการทำการบ้านมาก่อน และคัดกรองเป้าหมายซึ่งเป็นนายทุนจริงๆที่อยู่เบื้องหลัง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง