รีเซต

ปิดตำนาน 27 ปี ! จรวด Ariane 5 บอกลาหน้าที่ด้วยภารกิจสุดท้าย

ปิดตำนาน 27 ปี ! จรวด Ariane 5 บอกลาหน้าที่ด้วยภารกิจสุดท้าย
TNN ช่อง16
8 กรกฎาคม 2566 ( 13:29 )
79
ปิดตำนาน 27 ปี ! จรวด Ariane 5 บอกลาหน้าที่ด้วยภารกิจสุดท้าย

เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา จรวด Ariane 5 ลุยภารกิจสุดท้าย ด้วยการขนส่งดาวเทียม Syracuse4B และ HeinrichHertz ขึ้นสู่อวกาศ จากบริเวณฐานปล่อยจรวด Spaceport เมือง Kourou เฟรนช์เกียนา นับเป็นการปิดฉากการทำหน้าที่เป็นจรวดขนส่งอวกาศหลักรุ่นหนึ่งขององค์การอวกาศยุโรปและสหรัฐอเมริกา


ดาวเทียม Syracuse 4B จะถูกส่งไปทำภารกิจร่วมกับดาวเทียม Syracuse 4A รุ่นก่อน ซึ่งถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในปี 2021 ประจำตำแหน่งในวงโคจรค้างฟ้าระดับความสูง 35,800 กิโลเมตร ดาวเทียมทั้งคู่ถูกพัฒนาโดยรัฐบาลฝรั่งเศสร่วมมือกับบริษัท Airbus และถูกส่งขึ้นไปทำหน้าที่เป็นดาวเทียมสื่อสารด้านการทหารทดแทนดาวเทียม Syracuse 3A และ 3B ที่ปลดประจำการ


จรวด Ariane 5 เปิดตัวครั้งแรกในปี 1996 จรวดพัฒนาโดย ArianeGroup ร่วมมือกับศูนย์พัฒนาการบินและอวกาศชาติฝรั่งเศส (CNES) และองค์การสหรัฐยุโรปสำหรับการวิจัยอวกาศ (ESTEC) แม้ภารกิจแรกในปีนั้นจะประสบความสำเร็จล้มเหลวแต่สถิติโดยภาพรวมจรวดรุ่นนี้ก็มีอัตราความสำเร็จ 96% จากการทำภารกิจทั้งหมด 117 ภารกิจ ตลอด 27 ปี ที่ผ่านมา ตามข้อมูลขององค์การอวกาศยุโรป (ESA)


การออกแบบและพัฒนาจรวด Ariane 5 แบ่งการทำงานออกเป็น 2 ขั้นตอน จรวดขั้นตอนแรกเป็นจรวดบูสเตอร์ (Boosters) 2 ลำ มีลักษณะเป็นจรวดเชื้อเพลิงแข็งติดตั้งด้านข้างของจรวดหลัก (Core stage) ที่มีลักษณะเป็นจรวดเชื้อเพลิงเหลว ความสูงของจรวด Ariane 5 รวมทั้งหมด 46-52 เมตร


ตลอดระยะเวลาการทำภารกิจจรวด Ariane 5 ได้ทำหน้าที่สำคัญ ๆ เช่น การส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ขึ้นสู่อวกาศ ในปี 2021 รวมไปถึงภารกิจขนส่งดาวเทียม Thaicom 4 และ Thaicom 5 ของประเทศไทย ในปี 2005 และ 2006 ภายหลังปลดประจำการจรวด Ariane 5 ทางบริษัท ArianeGroup จะทำการพัฒนาจรวดรุ่นใหม่ Ariane 6 เพื่อทำภารกิจขนส่งอวกาศทดแทนโดยมีกำหนดการทดสอบครั้งแรกในช่วงต้นปี 2024


ที่มาของข้อมูล Space 

ที่มาของรูปภาพ Wikipedia.org

ข่าวที่เกี่ยวข้อง