รีเซต

ไออาร์พีซีคว้าดีเด่นต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน 3 ปีซ้อน

ไออาร์พีซีคว้าดีเด่นต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน 3 ปีซ้อน
TNN ช่อง16
15 ตุลาคม 2564 ( 11:33 )
142

นายชวลิต ทิพพาวนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC รับ “รางวัลดีเด่นองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน” ประจำปี 2564 จากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ในประเภท องค์กรภาคธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่นในเรื่องการคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน และการเป็นแบบอย่างที่ดีในการเสริมสร้างสังคมแห่งการเคารพสิทธิมนุษยชน  รางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ถือเป็นกำลังใจสำคัญที่ทำให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน มุ่งมั่นผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจ ยกระดับองค์กรไปสู่การเป็น ที่ยอมรับในระดับนานาชาติ และก้าวไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

ภารกิจขององค์กร

ไออาร์พีซีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมปิ โตรเคมี “ครบวงจรแห่งแรก”ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีโรงงานตั้งอยู่ในเขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซีจังหวัดระยอง พร้อมสาธารณูปโภคที่สนับสนุนการดำเนินธุรกจิ ท้ังปิโตรเลยีม ปิโตรเคมีท่าเรือนลึก คลังน้ำมัน และโรงไฟฟ้าPOLIMAXX หรือ ตราสัญลักษณ์ กลุ่มผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีของไออาร์พีซี เพื่อการบริหารจัดการให้เป็นแบรนด์เดียว ง่ายต่อการจดจำ และสร้างความแข็งแกร่งทางการตลาด POLIMAXX เกิดจากแนวคิดในการบริหารตลาดแบบ Customer Centric ที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้านวัตกรรมที่ทันสมัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดลอ้ม เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างลงตัว

2.การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน

ไออาร์พีซีนำหลักการด้านสิทธิมนุษยชน เข้ามาบูรณาการให้สอดคล้องกับการกำกับดูแลกิจการกระบวนการตัดสินใจกระบวนการทำงาน ปรับให้มีความเข้าใจง่ายและปฏิบัติได้อย่างแท้จริง โดยยึดมั่นบนหลักการพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชนสากล ทั้งการคุ้มครอง เคารพ และเยียวยา เพื่อสร้างความมั่น ใจว่าสิทธิมนุษยชน ได้ถูกปลูกฝังอยู่ในวัฒนธรรมขององค์กร และการดำเนินธุรกิจของกลุ่มไออาร์พีซีตลอดห่วงโซ่อุปทาน จะเป็นไปด้วยความระมัดระวัง รอบคอบ ไม่กระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดการละเมิดหรือสร้างผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม พร้อมสนับสนุนการสื่อสารการสร้างความตระหนัก และการสร้างเครือข่ายภาคี ด้านสิทธิมนุษยชน

3. ความสำคัญของประเด็นสิทธิมนุษยชนที่นำไปสู่ความสำเร็จขององค์กรไออาร์พีซีได้กำหนดแนวทางการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อการทวนสอบสถานะความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์COVID-19 ส่งผลให้ไออาร์พีซีมีการประเมินความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด และมีความมั่นใจว่าจะสามารถดำเนินธุรกิจในสถานการณ์ปัจจุบันควบคู่ไปกับการดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ภายใต้การบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างทันท่วงทีและเหมาะสม  ไออาร์พีซี พร้อมขับเคลื่อนการดำเนินงานและขยายผลให้สอดรับกับแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (NAP) แผนและนโยบายระดับชาติอื่น หรือ SDGs ตามความคาดหวงัของภาครัฐ และมุ่งมั่นสร้างองคค์วามรู้เพื่อต่อยอดธุรกิจกักสิทธิมนุษชน สร้างเครือข่ายความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน สอดรับกับคำกล่าของCEO ในงานเปิดตัววิสัยทัศน์ใหม่ว่า "การเดินทางครั้งใหม่ของไออาร์ พีซีได้เริ่มขึ้นแล้ว ตั้งแต่นี้ต่อไปไม่ว่า เราจะทำอะไร เราจะตั้งปณิธานไว้เสมอว่า สิ่งที่เราทำจะต้องสร้างผลลัพธ์ที่ดีให้ แก่ชีวิตและสิ่งแวดล้อม"


ที่มา :  บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) 

ภาพประกอบ : พีอาร์  ไออาร์พีซี 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง