รีเซต

แบงก์ชาติชี้ไทยเสี่ยง 4 สะดุด ฉุดเศรษฐกิจปีนี้ ลุ้นโควิดไม่ระบาดหนักรั้งท่องเที่ยว

แบงก์ชาติชี้ไทยเสี่ยง 4 สะดุด ฉุดเศรษฐกิจปีนี้ ลุ้นโควิดไม่ระบาดหนักรั้งท่องเที่ยว
ข่าวสด
11 มกราคม 2565 ( 15:35 )
40
แบงก์ชาติชี้ไทยเสี่ยง 4 สะดุด ฉุดเศรษฐกิจปีนี้ ลุ้นโควิดไม่ระบาดหนักรั้งท่องเที่ยว

แบงก์ชาติเผยไทยเสี่ยง 4 สะดุดฉุดเศรษฐกิจปีนี้ขยายตัว ลุ้นโควิดไม่ระบาดหนักรั้งท่องเที่ยว ยืนยันเงินเฟ้อยังอยู่ในกรอบ แม้ราคาสินค้าบางชนิดจะปรับตัวสูงขึ้น ไม่เสี่ยงเข้าภาวะ stagflation

 

วันที่ 11 ม.ค.2564 นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยในปี 2565 ยังมีความเปราะบาง ฟื้นได้ไม่เร็ว ฟื้นตัวได้ไม่เท่าเทียมกัน ลักษณะ K-SHAPE รวมทั้งยังฟื้นตัวช้ากว่าเพื่อนบ้าน เนื่องจากไทยพึ่งพาการท่องเที่ยว ทำให้คาดว่ากว่าที่ไทยจะกลับมาฟื้นตัวในระดับปกติ คงเป็นไตรมาส 1/2566 แต่ความรู้สึกของประชาชนยังไม่รู้สึกเหมือนก่อนโควิด เพราะรายได้และการจ้างงานยังไม่เหมือนเดิม เพราะการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้น ซึ่งเป็นตัวสร้างรายได้และการจ้างงาน

 

ดังนั้น โจทย์หลักของ ธปท. คือ ทำอย่างไรให้การฟื้นตัวเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่สะดุด และ ห้ามสะดุด โดยปีนี้ความเสี่ยงที่จะสะดุดอยู่ 4 เรื่อง คือ 1.การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะโอมิครอน ที่ต้องจบให้ไวภายในครึ่งปีแรก และไม่มีสายพันธุ์อื่นระบาดอีก เพื่อให้เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังฟื้นตัว มีนักท่องเที่ยวเป็นไปตามคาดการณ์ไว้ที่ 5 ล้านคน โดยในกรณีที่เลวร้าย จำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงทุกๆ 1 ล้านคน จะกระทบกับจีดีพีลดลง 0.3-0.4%

 

“ธปท.ได้เตรียมความพร้อม เครื่องมือ หรือมาตรการเพียงพอที่จะรองรับหากเกิดเหตุการณ์ยืดเยื้อ เราจะทำอย่างไรก็ได้ให้ระบบสถาบันการเงินทำงานได้ใกล้เคียงปกติที่สุด อย่าให้อยู่ดี ๆ มีการตึงตัวของสินเชื่อจนเร็วเกินไป ที่ผ่านมาเราทำได้ดี ทั้งในส่วนของสินเชื่อฟื้นฟู มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ และมาตรการรวมหนี้”

 

เรื่องที่ 2.อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น ค่าครองชีพขึ้นแต่รายได้ไม่ขึ้น แม้เงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นในเชิงมหภาคไม่ได้น่ากลัวเหมือนต่างประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ของไทยค่อยๆปรับขึ้น ตัวเลขเฟ้อปีนี้ที่ 1.7% ยังไม่เห็นสัญญาณว่าจะต้องมีการปรับเพราะยังอยู่ในกรอบ 1-3% ขณะที่ราคาสินค้าขึ้นไม่ได้ขึ้นเป็นวงกว้าง ส่วนใหญ่ขึ้นเป็นจุด เช่นราคาพลังงาน ราคาหมู ขณะที่เงินเฟ้อระลอก 2 ยังไม่เห็น เพราะภาพเศรษฐกิจ การจ้างงาน ค่าแรงยังไม่ขึ้น เพราะรายได้หายไปจากภาคท่องเที่ยว แต่ ธปท. ไม่ได้ชะล่าใจ หากเฟ้อส่งสัญญาณเพิ่มเป็นวงกว้าง ก็ต้องมีมาตรการรองรับ

 

เรื่องที่ 3. การเพิ่มขึ้นของหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ที่แนวโน้มค่อยๆเพิ่ม ไม่ได้เพิ่มแบบร้อนแรง เพราะมีมาตรการรองรับเพื่อไม่ให้เกิดการสะดุด โดยเฉพาะโครงการปรับโครงสร้างหนี้ที่ดำเนินการไปแล้ว และมาตรการร่วมทุนระหว่างธนาคารพาณิชย์กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ซึ่งเกณฑ์จะออกปลายเดือน ม.ค.นี้

 

และ เรื่องที่ 4. สถานการณ์โลก หลายประเทศมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วซึ่งอาจทำให้การฟื้นตัวของประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ดี โอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะสะดุดมีน้อยมาก ขณะที่โอกาสที่เศรษฐกิจจีนชะลอตัว แต่ก็ไม่น่าจะเพียงพอที่ทำให้เศรษฐกิจไทยสะดุด เพราะการส่งผ่านการเติบโตของเศรษฐกิจจีนที่มีนัยยะกับประเทศอื่น รวมถึงไทย เริ่มน้อยลง

 

ส่วนกรณีที่นักเศรษฐศาสตร์บางสำนักประเมินว่า ไทยเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวร่วมกับเงินเฟ้อสูง (stagflation) ธปท.ยืนยันว่า ขณะนี้เศรษฐกิจไทยไม่ได้อยู่ในภาวะดังกล่าว โดยไทยเฟ้อยังต่ำเมื่อเทียบกับเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน ขณะที่เศรษฐกิจไทยในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัว 3.4% ก็ไม่ได้เป็นการเติบโตที่เลวร้ายอะไร ก็เลยถามว่า ไทยตอนนี้อยู่ในสแตกเฟชั่นหรือป่าว แต่ในอนาคตจะมีโอกาสเจอไหม ก็ไม่คิดว่าจะเจอ เพราะเงินเฟ้อปี 2566 อยู่ที่ 1.4% จีดีพีปีหน้าโตเกือบ 4% จากฐานต่ำและการฟื้นตัวของท่องเที่ยว

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง