รีเซต

พบคนฝังชิปใต้ผิวหนังแทนบัตร เหมาะสมหรือไม่ หรือนี่จะเป็นอนาคตใหม่ของมนุษยชาติ ?

พบคนฝังชิปใต้ผิวหนังแทนบัตร เหมาะสมหรือไม่ หรือนี่จะเป็นอนาคตใหม่ของมนุษยชาติ ?
TNN ช่อง16
20 สิงหาคม 2566 ( 01:35 )
112

อาร์เอฟไอดี (RFID: Radio Frequency Identification) คือชิปที่ใช้คลื่นวิทยุในการออกคำสั่งยืนยันตัวตนผ่านระบบคลื่นวิทยุขนาดสั้น ซึ่งมักจะถูกใช้งานกับบัตรเข้า-ออกอาคาร บัตรโดยสาร หรือบัตรเงินสดแบบต่าง ๆ เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 1970 แต่ผ่านมากว่า 50 ปี แล้ว การใช้เทคโนโลยี RFID ยังคงเป็นการฝังอยู่บนบัตรเป็นหลัก แต่ล่าสุด ได้มีผู้ริเริ่มเอาชิป RFID มาฝังในผิวหนังมนุษย์ คล้ายกับที่เราเห็นในภาพยนตร์หลายเรื่อง


การทดลองฝังชิปใต้ผิวหนังด้วยตัวเอง

มิอาน่า วินดอลล์ (Miana Windall) วิศวกรซอฟต์แวร์ ได้แชร์ประสบการณ์การฝังชิป กว่า 25 จุด ใต้ผิวหนังของเธอเองในการประชุมเดฟคอน (DEF CON) งานประชุมเหล่านักแฮ็กเกอร์ (Hacker) หรือผู้ที่เชี่ยวชาญการเจาะระบบคอมพิวเตอร์ ณ ลาส เวกัส (Las Vegas) ในสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 10 - 13 สิงหาคมที่ผ่านมา 


แม้ว่ารายละเอียดจะไม่ได้รับการเปิดเผยมากนัก แต่เธอได้เขียนชุดคำสั่งและการเข้ารหัสที่เหมาะสมกับการทำงานใต้ผิวหนังด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากและท้าทาย เนื่องจากว่า RFID จำเป็นต้องมีเครื่องอ่านในระยะที่ใกล้มาก ๆ (ยกตัวอย่าง เช่น การแตะบัตรเข้าระบบรถไฟฟ้า) โดยเธอสามารถสร้างชิปที่ใช้แตะเข้า-ออกอาคารสำนักงานเก่าของเธอเองได้ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ภายในการจัดงาน


การฝังชิปใต้ผิวหนังกับอนาคตของมนุษยชาติ

อย่างไรก็ตาม “การฝังชิปใต้ผิวหนังยังไม่ได้เก่งเท่าที่หนังฮอลีวู้ดทำได้” คำพูดนี้กล่าวโดยอามาล กราฟตา (Amal Graafstra) ในฐานะผู้ตั้งแดนเจอรัส ติงส์ (Dangerous Things) บริษัทที่อ้างว่ามีบริการฝังชิปใต้ผิวหนัง โดยสิ่งที่ชิปใต้ผิวหนังจะทำได้นั้นมีไม่มาก รวมถึงการทำชิปฝังยังต้องระวังการสร้างข้อมูลที่ไม่ตรงกับต้นทางจะอ่านได้ ตามที่อามาลกล่าวเสริมข้อมูลว่า “เหมือนกับการที่เรากำลังขายกุญแจแต่ไม่ให้แม่กุญแจไปด้วย” 


การทดลองในลักษณะนี้เกิดขึ้นได้โดยไม่มีเรื่องร้องเรียน เพราะว่าชิปไม่ถือว่าเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องได้รับการอนุญาตจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ซึ่งทำให้มีผู้สนใจทดลองกับตัวเองมากขึ้นในสหรัฐอเมริกาอยู่ตอนนี้ แต่ถึงอย่างไร การพัฒนาชิปดังกล่าว คงต้องคำนึงถึงประเด็นผลข้างเคียงกับร่างกายที่ตามมา ซึ่งไม่มีงานวิจัยหรือหน่วยงานใดออกมาให้ข้อมูลในตอนนี้


ในขณะเดียวกัน ยังมีความเห็นในประเด็นเรื่องของความปลอดภัย ว่าจะถูกผู้ไม่หวังดีแอบเอาเครื่องอ่านมาอ่านที่นิ้วมือของเราหรือไม่ ถึงแม้ว่ามิอาน่า วินดอลล์ จะมองว่าไม่ได้มีความเสี่ยงมากขนาดนั้น เว้นแต่มีการใช้อาวุธเพื่อแย่งเอาชิปออกมา แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีความเป็นไปได้เช่นกัน เพราะในโลกออนไลน์ได้มีการแสดงความเห็นว่าบัตรหรือสิ่งต่าง ๆ นั้น หากถูกขโมยไปก็สามารถทำบัตรหรืออุปกรณ์ใหม่ทดแทนได้ แต่หากมีคนที่โหดร้ายมากพอจะตัดมือหรืออวัยวะที่ฝั่งชิปไปก็ไม่อาจมีอะไรมาทดแทนได้อีกแล้ว


อย่างไรก็ดี ก็มีหลากหลายบริษัทที่กำลังหาหนทางในการทำให้การฝังชิปใต้ผิวหนังเป็นส่วนหนึ่งของระบบรักษาความปลอดภัยในการยืนยันตัวตนแบบ 2 ชั้น (2FA: Two Factor Authentication) โดยให้ชิปที่ฝังติดตามตัวเป็นเหมือนตัวยืนยันว่าบุคคลที่ทำการปลดล็อกหรือเข้าถึงข้อมูล/บริการ คือคนคนเดียวกันกับที่ระบบอนุญาตจริง ๆ แม้ว่าจะมีบางฝ่ายกังวลว่าการทำระบบนี้อาจมีข้อเสียที่เกิดขึ้นกับตัวผู้ใช้หรือการเพิ่มความเสี่ยงจากการโดนทำร้ายเพื่อแย่งชิปมากกว่าประโยชน์ก็ตาม



ที่มาข้อมูล Engadget

ที่มารูปภาพ Flickr

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง