รีเซต

พฤษภานี้กักตัวไม่มีเหงา! TrueID ชวนชม ฝนดาวตกอีตาอควอริดส์ คืนนี้

พฤษภานี้กักตัวไม่มีเหงา! TrueID ชวนชม ฝนดาวตกอีตาอควอริดส์ คืนนี้
TeaC
5 พฤษภาคม 2564 ( 11:49 )
292
พฤษภานี้กักตัวไม่มีเหงา! TrueID ชวนชม ฝนดาวตกอีตาอควอริดส์ คืนนี้

 

ข่าววันนี้ พฤษภาคมนี้ไม่มีเหงาอีกแล้ว! TrueID ชวนชมปรากฎการณ์ความสวยงามบนท้องฟ้า เริ่มวันนี้ ชมดวงจันทร์เคียงดาวพฤหัสบดี กัน

 

ทั้งนี้ เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้โพสต์ปฏิทินปรากฎการณ์ชมดาวบนท้องฟ้า จะมีวันไหน เช็กลิสต์แล้วเตรียมตัวไว้รอชมกันเลย

 

 

 

5 พฤษภาคม 2564  ดวงจันทร์เคียงดาวพฤหัสบดี

 

ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน หรือ ปรากฏการณ์พระจันทร์ยิ้ม เป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะคล้ายใบหน้าคนกำลังยิ้ม โดยดาวคู่ดังกล่าว ได้แก่ ดาวศุกร์ และดาวพฤหัสบดี เมื่อมองจากโลก จะอยู่ห่างกัน 2 องศา ในระยะท้องฟ้า และจะมีดวงจันทร์เสี้ยว ขึ้น 3 ค่ำ อยู่ด้านล่างระหว่างดาวทั้งสองดวง และห่างกัน 2 องศา ซึ่งสามารถสังเกตได้ในประเทศไทยครั้งล่าสุดเมื่อ 28 พฤศจิกายน​ พ.ศ. 2562

 

 

ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน จะเกิดขึ้น 2 ครั้ง ห่างกันประมาณ 10 เดือน ทุก ๆ 2 ปีครึ่ง มีลักษณะเป็นดวงดาว 3 ดวง ซึ่งได้แก่ ดาวศุกร์ (ดาวประจำเมือง) ดาวพฤหัสบดี และ ดวงจันทร์ โคจรเข้ามาใกล้กัน โดยดวงจันทร์หงายอยู่ด้านล่างของดาวอีก 2 ดวง และอยู่ในระยะที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน แต่ปรากฏการณ์นี้จะมองเห็นได้ไม่นานนัก ส่วนใหญ่เกิดขึ้นช่วงเวลาหัวค่ำ เพราะดาวจะตกเร็วลับจากขอบฟ้าจากการที่โลกหมุนรอบตัวเองตลอดเวลา

 

 


6 พฤษภาคม 2564  ฝนดาวตกอีตาอควอริดส์

 

 

ฝนดาวตกอีตาอควอริดส์ เกิดจากกระแสธารของเศษหินและเศษฝุ่นขนาดน้อยใหญ่ที่ดาวหางฮัลเลย์ เคลื่อนผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน จะถูกแรงดึงดูดของโลกดึงเข้ามาเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศเกิดเป็นลำแสงวาบ หรือในบางครั้งเกิดเป็นลูกไฟที่มีสีสวยงาม

 

 

ฝนดาวตกอีต้า-อควอริดส์ จะเกิดขึ้นในช่วงวันที่  19 เมษายน - 28 พฤษภาคมของทุกปี  สำหรับปีนี้จะเกิดในคืนวันที่ 6 พฤษภาคม 2564 เป็นคืนไร้แสงจันทร์รบกวน เหมาะแก่การสังเกตเป็นอย่างยิ่ง

 

 

ผู้สนใจสามารถรอชมความสวยงามของปรากฏการณ์ฝนดาวตกอีต้า-อควอริดส์ได้ในคืนดังกล่าวได้ในสถานที่ที่มืด ไม่มีแสงไฟรบกวนหรือห่างจากเมือง นั่นเอง

 


16 พฤษภาคม 2564 ดวงจันทร์เคียงดาวอังคาร

 

ดวงจันทร์บังดาวอังคาร เริ่มสังเกตการณ์ได้ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำทางทิศตะวันตก วัตถุทั้งสองอยู่เคียงกันสูงจากขอบฟ้าประมาณ 33 องศา

 

จากนั้นดาวอังคารจะเริ่มสัมผัสขอบดวงจันทร์ในเวลาประมาณ 20.12 น. จะสังเกตเห็นดาวอังคารค่อย ๆ ลับหายไปด้านหลังของดวงจันทร์ และโผล่พ้นออกมาทั้งดวงอีกครั้งในเวลาประมาณ 21.28 น. อยู่สูงจากขอบฟ้าทิศตะวันตกประมาณ 17 องศา (ข้อมูลดังกล่าวคำนวณจากพื้นที่กรุงเทพมหานคร หากสังเกตการณ์ในพื้นที่อื่น ช่วงเวลาของการบังอาจจะเริ่มและสิ้นสุดไม่พร้อมกัน)

 

 


26 พฤษภาคม 2564 ปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วนเหนือฟ้าเมืองไทย 

 

 

สุริยุปราคา เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน มีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เมื่อสังเกตจากโลกจะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้ามาบดบังดวงอาทิตย์

 

 

รอชมความสวยงามไปพร้อม ๆ กันนะ 

 

ภาพ : ประชาชาติธุรกิจ

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง