รีเซต

‘ครูบาบุญชุ่ม’ ออกจากถ้ำเมืองแก๊ดวันนี้ เปิดคลิปคลื่นมหาชนรอรับเนืองแน่น

‘ครูบาบุญชุ่ม’ ออกจากถ้ำเมืองแก๊ดวันนี้ เปิดคลิปคลื่นมหาชนรอรับเนืองแน่น
TNN ช่อง16
31 กรกฎาคม 2565 ( 09:00 )
261

จากกรณีจากที่ "ครูบาบุญชุ่ม" ญาณสัวโร จรณวาสีภิกขุ เข้าปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ปิดวาจา 3 ปี 3 เดือน 3 วัน ที่ถ้ำหลวงเมืองแก๊ด มหานุมีธรรมเรือง ประเทศเมียนมาร์ ตั้งแต่วันที่ 29 เม.ย.2562 ซึ่งกำหนดการออกจากถ้ำ ระบุว่า จะออกจากถ้ำวันที่ 31 กรกฎาคม 2565  ซึ่งเป็นวันนี้ หลังจากนั้นจะปลงผมที่เกาะน้ำรู ที่สร้างหอกุฏิที่พักไว้ 

ต่อมา "ครูบาบุญชุ่ม"  จะฉันภัตตาหารที่กุฏิมุงคาริมน้ำสิ่ม 5 โมง จะไปที่ถ้ำเล็ก หอ 7 ชั้น คนที่จะมารับในถ้ำหลวงนี้ มีพระสงฆ์ 23 รูป คฤหัสถ์ลูกศิษย์ชาย ให้มา 38 คน ลูกศิษย์หมวกทองคำให้มาเวลา 07.00 น. ลากรถหอคำให้ห่างกัน 1 วา หญิงลากข้างซ้าย ชายลากข้างขวา พระสงฆ์นำหน้าจะอยู่ 5 วัน แล้วไปเมืองพง (เข้าพรรษาเดือน 10 นั้นที่ไหนยังไม่รู้)

ล่าสุดเพจ รักเชียงตุง ได้เผยคลิปประชาชน และ ศิษยานุศิษย์ จำนวนมากราว 30,000 คน ได้มารอรับ "ครูบาบุญชุ่ม"  ที่หน้าถ้ำเมืองแก๊ด รัฐฉาน ประเทศเมียนมา ต่างปักหลักกันอย่างเนื่องแน่นจากแรงศรัทธา โดยส่วนมากเป็นชาวเมียนมาและไทใหญ่

สำหรับประวัติของ ครูบาบุญชุ่ม เกิดเมื่อวันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2508 เวลา 09.00 น. ที่หมู่บ้านแม่คำหนองบัว ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรคนโตของนายคำหล้าและนางแสงหล้า ทาแกง กระทั่งปี พ.ศ. 2517 ได้เข้ามาเป็นเด็กวัด โดยมีพ่อลุงทาเอาไปฝากกับเจ้าอธิการสิน จิรธัมโม วัดบ้านด้าย ตอนท่านอายุได้ 11  ปี หลังจากเป็นเด็กวัดได้ 3 ปีจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร

‘ครูบาบุญชุ่ม ญาณสัวโร’ ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นตรีในปี พ.ศ. 2526 ต่อมาได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 เวลา 919 น. ณ อุโบสถวัดพระเจ้าเก้าตื้อ (ปัจจุบันรวมกับวัดสวนดอก (จังหวัดเชียงใหม่)) โดยมีพระราชพรหมาจารย์ (ดวงคำ ธมฺมทินฺโน) เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูเวฬุวันพิทักษ์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระครูศรีปริยัตินุรักษ์เป็นพระกรรมวาจาจารย์

นับแต่ออกบวช ครูบาบุญชุ่มมุ่งเน้นเรียนกรรมฐานจากครูบาอาจารย์หลายองค์ ได้จาริกไปหลายท้องที่ทั้งภาคเหนือของไทย พม่า เนปาล อินเดีย ภูฏาน ฯลฯ เมื่อพบเห็นวัดใดทรุดโทรมก็เป็นผู้นำในการบูรณะ และได้สร้างพระธาตุเจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป ไว้หลายแห่งในภาคเหนือ รัฐชาน สิบสองปันนา และประเทศลาว 


ข้อมูลจาก  : เพจ เรารักเชียงตุง 

ภาพจาก  :   เพจ เรารักเชียงตุง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง