นักวิจัยจีนเปิดเผย 'การตั้งอาณานิคมทางชีวภาพ' ในถ้ำกึ่งเขตร้อนทางเอเชียตะวันออก
ปักกิ่ง, 17 ส.ค. (ซินหัว) -- คณะนักวิจัยจากสถาบันพฤกษศาสตร์ สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS) เปิดเผยกฎการตั้งอาณานิคมทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในถ้ำทางภูมิภาคกึ่งเขตร้อนในเอเชียตะวันออก
หวังเหว่ย หัวหน้าทีมวิจัย ระบุว่าถ้ำเป็นที่อยู่อาศัยของชีวชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะและเปราะบางที่มีความเฉพาะถิ่นระดับสูง โดยภูมิภาคกึ่งเขตร้อนในเอเชียตะวันออกถือเป็นธรณีสัณฐานแบบคาสต์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่มีถ้ำโบราณจำนวนมาก ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิตในถ้ำที่มีความหลากหลายสูงและถือเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญด้านความหลากหลายทางชีวภาพจากการวิเคราะห์วิวัฒนาการชาติพันธุ์ ระยะเวลาการเปลี่ยนแปลง และชีวภูมิศาสตร์ของพืชพันธุ์ สัตว์ และเห็ดรา 28 ชนิดในถ้ำทางภูมิภาคกึ่งเขตร้อนในเอเชียตะวันออก พบว่าร้อยละ 88 ของการตั้งอาณานิคมในถ้ำเกิดขึ้นหลังรอยต่อของยุคโอลิโกซีน-ยุคไมโอซีน โดยสิ่งมีชีวิตจากป่าโดยรอบเป็นแหล่งความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญในถ้ำทางภูมิภาคกึ่งเขตร้อนในเอเชียตะวันออกคณะนักวิจัยยังพบอีก 9 กรณีตัวอย่างที่สิ่งมีชีวิตจากถ้ำหวนกลับคืนสู่ภายนอก ซึ่งปรากฏการณ์นี้บ่งชี้ว่าถ้ำไม่ได้เป็นเพียงแหล่งพักพิงสิ่งมีชีวิตในป่าเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าอนึ่ง การศึกษานี้ได้รับการเผยแพร่ผ่านบทความในวารสารของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐฯ (PNAS)