รีเซต

อาการโรคซึมเศร้า หากอยากปรึกษาแต่ไม่กล้าไปพบแพทย์ต้องทำอย่างไร?

อาการโรคซึมเศร้า หากอยากปรึกษาแต่ไม่กล้าไปพบแพทย์ต้องทำอย่างไร?
TNN ช่อง16
26 มิถุนายน 2565 ( 08:55 )
123
อาการโรคซึมเศร้า หากอยากปรึกษาแต่ไม่กล้าไปพบแพทย์ต้องทำอย่างไร?

วันนี้ (26 มิ.ย.65) พ.ญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ระบุว่า ภาวะอาการโรคซึมเศร้า เป็นโรคที่รักษาได้ แม้ว่าบางรายจะต้องใช้เวลาบ้าง ดังนั้น ขอให้ผู้ที่อยู่ในภาวะโรคซึมเศร้า หรือที่เป็นโรคซึมเศร้า อย่างน้อยที่สุด พยายามที่จะมีจุดมุ่งหวัง หรือแสวงหาการรักษาให้ไวที่สุด ซึ่งต้องใช้ยา และอาจจะต้องใช้เวลาในการรักษาประมาณ 2 สัปดาห์ถึงจะรู้สึกดีขึ้น และที่สำคัญคือ คนที่อยู่รอบตัวของผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า สามารถช่วยสอดส่องดูแลและสนับสนุน สร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน ประคับประคองผู้ป่วยซึมเศร้าให้มีอาการดีขึ้นได้

อธิบดีกรมสุขภาพจิต ยังระบุว่า ในกลุ่มผู้หญิงจะเป็นโรคนี้ได้ง่ายกว่า เพราะผู้หญิงอาจจะมีช่วงเวลาของการเป็นรอบเดือน หรือช่วงที่หลังคลอดบุตรที่ฮอร์โมนตกลงเยอะ จนไปส่งผลกับสารเคมีในสมอง และจะรู้ได้เลยว่า จริงๆ เราไม่ใช่คนเศร้าเลย แต่สภาพร่างกายทำให้เราเศร้า

อาการโรคซึมเศร้า เกิดจากความผิดปกติของสมองในส่วนที่มีผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม รวมถึงสุขภาพทางกาย ซึ่งโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท 3 ชนิด คือ ซีโรโตนิน นอร์เอปิเนฟริน และโดปามีน จำเป็นต้องได้รับการรักษาจากจิตแพทย์ เพราะนอกจากจะต้องบำบัดอย่างถูกวิธีแล้ว ยังต้องใช้ยาในการรักษาร่วมด้วย

โรคซึมเศร้านี้มีหลายประเภท ทำให้ผู้ป่วยซึมเศร้าแต่ละคนมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป บางประเภทผู้ป่วยจะมีอารมณ์ซึมเศร้านานกว่า 2 สัปดาห์ โดยมากมักมีอาการเศร้าซึมมากจนไม่มีความสุขหรือไม่สนใจในสิ่งต่างๆ ที่เคยชอบ และรู้สึกไร้ค่า 

โรคซึมเศร้าบางประเภท ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าชนิดแรก แต่จะมีอาการอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี อาการไม่รุนแรง เพียงแต่จะรู้สึกไม่อยากอาหารหรือกินมากไป นอนไม่หลับหรือนอนมากไป

สำหรับผู้ที่มีอาการแต่ไม่กล้าไปพบแพทย์ สามารถโทรศัพท์ไปปรึกษาได้ โดยไม่ต้องเปิดเผยตัวตนที่หมายเลขโทรศัพท์ 1323 สายด่วนกรมสุขภาพจิต 


ภาพจาก AFP

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง