รีเซต

NASA พบร่องรอยสารที่ผลิตโดยสิ่งมีชีวิต บนดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก 2 เท่า

NASA พบร่องรอยสารที่ผลิตโดยสิ่งมีชีวิต บนดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก 2 เท่า
TNN ช่อง16
2 พฤษภาคม 2567 ( 13:49 )
31
NASA พบร่องรอยสารที่ผลิตโดยสิ่งมีชีวิต บนดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก 2 เท่า

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NASA) ค้นพบร่องรอยของแก๊สมีเทน (Methane) และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbondioxide) ซึ่งแก๊สทั้งสองชนิดแก๊สที่มาจากการผลิตของสิ่งมีชีวิตเท่านั้น บนดาวที่ชื่อว่า เคทู เอกทีนบี (K2-18b) ที่มีขนาดรัศมีใหญ่กว่าโลกเกิน 2 เท่า 


ข้อมูลดาวเคราะห์ที่ใหญ่กว่าโลก 2 เท่า

ดาว K2-18b ค้นพบครั้งแรกในปี 2015 โดยในการศึกษาพบว่าดาวดังกล่าวมีรัศมีเป็น 2.6 เท่าของโลก หรือประมาณ 16,600 กิโลเมตร รวมถึงมีมวลมากกว่าโลก 8.6 เท่า และห่างออกไปไกลจากโลก 124 ปีแสง (1 ปีแสงมีค่าประมาณ 9.46 ล้านล้านกิโลเมตร)


ในช่วงเวลาการค้นพบดาว K2-18b นั้นมีข้อมูลที่เชื่อว่าดาวดังกล่าวอาจเป็นดาวที่เรียกว่า ดาวเคราะห์ไฮเชียน (Hycean exoplanet) หรือดาวเคราะห์ที่ปกคลุมด้วยแก๊สไฮโดรเจนเหนือชั้นบรรยากาศ รวมถึงมีน้ำปกคลุมเหนือพื้นผิวด้วย


การสำรวจสิ่งมีชีวิตในรูปแบบใหม่

และเพื่อสำรวจให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (James Webb Space Telescope) หนึ่งในกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ทันสมัยและทรงพลังที่สุดของ NASA ที่ปล่อยสู่อวกาศตั้งแต่ปี 2021 ที่ผ่านมา ได้ร่วมการศึกษาดาว K2-18b ด้วยเช่นกัน


โดยในปี 2023 ที่ผ่านมา กล้องโทรทรรศน์เจมส์ เวบบ์ ค้นพบร่องรอยของแก๊สมีเทน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงแก๊สที่ชื่อว่าไดเมทิลซัลไฟด์ (Dimethyl sulfide: DMS) หรือสารที่ให้กลิ่นเวลาแพลงก์ตอนหรือสาหร่ายฉีกขาด


ถึงแม้ว่าทั้ง 3 สารที่พบ ล้วนแต่เป็นร่องรอยของการผลิตสารจากสิ่งมีชีวิต แต่ NASA ก็ยังไม่สามารถสรุปผลได้ เนื่องจากข้อมูลบนดาว K2-18b ที่พบอาจจะหมายถึงชั้นธารน้ำแข็งที่มีแรงดันสูง ซึ่งไม่สามารถก่อตัวเป็นของเหลวและเหมาะที่จะดำรงชีวิตก็ได้เช่นกัน


ด้วยเหตุนี้ NASA จึงได้ปรับการทำงานของกล้องเจมส์ เวบบ์ให้พุ่งเป้าไปยังดาว K2-18b สำหรับการสำรวจรายละเอียดต่อเนื่องเป็นเวลา 8 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา เพื่อสำรวจว่าสาร DMS ที่ค้นพบนี้มีนัยยะสื่อถึงสภาพบรรยากาศที่เอื้อต่อการมีชีวิตหรือไม่ หลังจากที่ก่อนหน้านี้การค้นหาสิ่งมีชีวิตมักพุ่งเป้าไปยังดาวเคราะห์ที่คล้ายกับโลกเป็นหลัก


ข้อมูลจาก UNILAD, Wikipedia

ภาพจาก Wikipedia


ข่าวที่เกี่ยวข้อง