รีเซต

AIMC ย้ำคำนึงถึงESGทุกมิติ มติCPAXTหุ้นWatched List

AIMC ย้ำคำนึงถึงESGทุกมิติ มติCPAXTหุ้นWatched List
ทันหุ้น
25 ธันวาคม 2567 ( 15:18 )
6

#AIMC #ทันหุ้น AIMC ย้ำคำนึงถึงการลงทุนอย่างมี ESG คณะกรรมการSG Policy & Collective Action มีมติ CPAXT หุ้น Watched List ต้องลงทุนด้วยความรอบคอบระมัดระวัง


นางชวินดา หาญรัตนกูล นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน หรือ AIMC ในฐานะประธานคณะกรรมการ ESG Policy & Collective Action สมาคมบริษัทจัดการลงทุน เปิดเผย กรณีล่าสุด บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) หรือ CPAXT ที่ได้เข้าประชุมร่วมกับ AIMC เพื่อชี้แจงรายละเอียดการเข้าลงทุนในบริษัท แฮปปี้แทท แอท เดอะ ฟอเรสเทียส์ จำกัด (HATF) ภายใต้โครงการ The Happitat เมื่อวันที่ 24ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา


โดยกรณีนี้ที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้กองทุนรวม ThaiESG และกองทุนรวม Thai CG จัดหุ้น CPAXT เป็นหุ้น Watched List (WL) ที่ต้องพิจารณาการลงทุนด้วยความรอบคอบระมัดระวัง และจะติดตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนดให้ CPAXT ชี้แจงจนกว่าจะมีผลการพิจารณาหรือความเห็นใดๆ จากสำนักงาน ก.ล.ต.


คณะกรรมการ ESG Policy & Collective Action จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2558 ประกอบด้วยผู้แทนจาก 23 บลจ. ที่เป็นสมาชิกของ AIMC เริ่มต้นจากการมองเห็นประเด็นปัญหาของบริษัทจดทะเบียนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน G-Governance ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับตลาดทุนไทยในอันที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้ทั้งนักลงทุนไทยและนักลงทุนต่างประเทศ จึงได้มีการรวมตัวกันจัดตั้งคณะกรรมการชุดนี้ในระดับอุตสาหกรรม เพื่อรวมพลังนักลงทุนสถาบันให้มีความเข้มแข็งและคาดหวังจะเป็นแรงผลักดันสำคัญในการพัฒนายกระดับตลาดทุนไทย โดยต่อมาได้มีพัฒนาการก้าวไปจนครอบคลุมการยกระดับ ESG


“ผลของการการทำหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน ปี 2567 ปรับปรุงแนวปฏิบัติสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรม ส่งเสริมการลงทุนอย่างยั่งยืน ยกระดับการทำงานของอุตสาหกรรมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หวังเห็นพัฒนาการด้านความยั่งยืน (ESG) ของบริษัทจดทะเบียนไทยทัดเทียมสากล"


นางชวินดา กล่าวว่า  คณะกรรมการชุดนี้ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย แนวปฏิบัติของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ ESG และร่วมกันทำหน้าที่ collective engagement ในกรณีที่มีข่าวหรือเหตุการณ์ที่มีประเด็นด้าน ESG ของบริษัทจดทะเบียนที่อาจส่งผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นและผู้ถือหน่วยลงทุน โดยจะมีการติดต่อไปยังบริษัท ซักถามข้อเท็จจริง รายละเอียด ผลกระทบ หารือมาตรการแก้ไขปัญหา และมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบเดียวกันในอนาคต 


รวมถึงทำงานร่วมกับสำนักงาน ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สถาบันกรรมการบริษัทไทย และหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง ในการนำเสนอให้มีการพัฒนาปรับปรุงกฎเกณฑ์ให้ทันสมัย ลดช่องว่าง และยกระดับ ESG ของบริษัทจดทะเบียนไทย ซึ่งถือเป็นการทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริต รอบคอบและระมัดระวังรักษาประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหน่วยลงทุน โดยได้ดำเนินการตามแนวทางนี้ในทุกๆ กรณี และเป็นไปตามแนวทางสากลของกระบวนการลงทุนอย่างยั่งยืน


“ในปี 2567ที่ผ่านมา คณะกรรมการ ESG Policy & Collective Action มีการเข้าทำ collective engagement ในประเด็น ESG กับบริษัทจดทะเบียนทั้งสิ้นจำนวน 13 บริษัท รวมถึงกรณีที่เกิดขึ้น ของ CPAXT” นางชวินดา กล่าวเพิ่มเติม

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง