รีเซต

'มะเร็งเต้านม' บัตรทอง 30 บาท ก็รักษาได้ by นุ๊กซี่ แฟนสาว ปู แบล็คเฮด

'มะเร็งเต้านม' บัตรทอง 30 บาท ก็รักษาได้ by นุ๊กซี่ แฟนสาว ปู แบล็คเฮด
TrueID
17 มิถุนายน 2564 ( 18:06 )
803

ข่าวล่าสุด มะเร็งเต้านมที่เกิดกับพริตตี้สาวสวย “นุ๊กซี่ อัญพัชญ์” แฟนสาวของนักร้องหนุ่ม “ปู อานนท์ สายแสงจันทร์” หรือ “ปู แบล็คเฮด” ทั้งนี้หลังจากที่การผ่าตัดลุล่วงไปด้วยดี ซึ่งสาวนุ๊กซี่ใช้สิทธิบัตรทองในการรักษา 

 

 

 
 
 
 
 
View this post on Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

A post shared by 💙Anyaphat W. (@nookzii)

 

 

วันนี้ trueID จะพาไปดูสิทธิรักษาสำหรับผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรทอง ในการรักษามะเร็งเต้านม ว่ามีสิทธิรักษาจริงหรือไม่

 

 

บัตรทองใช้กับการรักษามะเร็งได้ไหม?

 

มะเร็งจัดอยู่ในกลุ่มโรคร้ายแรงที่คร่าชีวิตผู้ป่วยจำนวนมาก นอกจากเป็นโรคที่ยากต่อการรักษาให้หายขาดแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่แพงมากจนถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวต้องกู้หนี้ยืมสินและล้มละลายได้ โดยในอดีตมีผู้ป่วยมะเร็งจำนวนไม่น้อยเข้าไม่ถึงการรักษา ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้บรรจุให้การรักษาโรคมะเร็งเป็นหนึ่งในสิทธิประโยชน์ภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง)

 

โดยมีการกำหนดดูแลตามมาตรฐานการรักษา (Protocol) โรคมะเร็งด้วยเคมีบำบัด/รังสีรักษาในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่จัดทำโดยคณะทำงานพัฒนามาตรฐานหน่วยบริการที่ให้บริการรักษาโรคมะเร็งด้วยเคมีบำบัด/รังสีรักษา ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งสาขาต่าง ๆ ร่วมเป็นคณะทำงาน

 

 

การรักษาครอบคลุมมะเร็งอะไรบ้าง?

 

ทั้งนี้การรักษาโรคมะเร็งในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติครอบคลุมการรักษาโรคมะเร็งทุกประเภท ประกอบด้วย มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งโพรงหลังจมูก มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งมดลูก มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งกระดูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งในเด็ก และมะเร็งอื่น ๆ

 

 

บัตรทองเปลี่ยนนโยบายแล้ว

 

นโยบายการยกระดับ 4 บริการในระบบบัตรทอง เป็นการเปลี่ยนแปลงให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีขึ้น จาก 30 บาทรักษาทุกโรค เป็น 30 บาทรักษาทุกที่ภายในเครือข่ายหน่วยบริการชุมชนอบอุ่น ในฐานะผู้ให้บริการก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องทำให้นโยบายนี้สัมฤทธิ์ผล การดำเนินการในเรื่องนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ โดยได้มีการลงนาม MOU ไปแล้วระหว่างเครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) กระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์และ สปสช.

 

โดยขณะนี้กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดระบบบริการโรคมะเร็งไปรักษาที่ไหนก็ได้ที่พร้อม และระบบข้อมูลที่ใช้ในการส่งต่อผู้ป่วยมะเร็ง ให้แก่ผู้ประสานการส่งต่อผู้ป่วยจากหน่วยบริการที่ให้การรักษาโรคมะเร็งในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับการรักษาทั่วประเทศแล้ว ในส่วนของ สปสช. จะทำหน้าที่เกี่ยวกับการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุขให้แก่หน่วยบริการอย่างเพียงพอและเหมาะสม เพื่อให้นโยบายดังกล่าวเกิดผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2564 เป็นต้นไป 

 

 

 

 

ข้อมูล: สปสช , สสส

ภาพโดย Basker Dhandapani จาก Pixabay 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง