รีเซต

JMT-KBANK มุมมอง KTBST ร่วมทุนธุรกิจ debt collection -AMC

JMT-KBANK มุมมอง KTBST ร่วมทุนธุรกิจ debt collection -AMC
ทันหุ้น
22 ธันวาคม 2564 ( 10:50 )
177
JMT-KBANK มุมมอง KTBST ร่วมทุนธุรกิจ debt collection -AMC

ทันหุ้น - บล.เคทีบีเอสที จำกัด (มหาชน) (KTBST) ส่องหุ้น JMT-KBANK จัดตั้งบริษัทร่วมทุน 2 แห่งเพื่อดำเนิน ธุรกิจ debt collection และ AMC โดยทั้ง 2 บริษัทจะมีสัดส่วนกำรถือหุ้น คือ บริษัทลูก KBANK จะถือหุ้นมากกว่า 50% และ JMT จะถือหุ้นน้อยกว่า 50% โดยประเมินว่าจะจัดตั้งบริษัททั้ง 2 แห่งแล้วเสร็จใน Q1/64 (ที่มา: SET)

 

ฝ่ายวิจัยมีมุมมองเป็นบวก ต่อการเข้าร่วมลงทุนใน JV ระหว่าง JMT และ KBANK โดยประเมินว่าการดำเนินงานในรูปแบบ JV นี้จะมีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูง จาก 1) JMT เป็นผู้ประกอบการ AMC รายใหญ่ที่มีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญด้านการบริหารหนี้เสียไม่มีหลักประกันที่สูง รวมทั้ง 2) JMT และ KBANK เคยมีการซื้อขายหนี้เสียในอดีตมาก่อน ทำให้โอกาสที่จะมี conflict น้อยลง และสามารถเจรจาซื้อขายหนี้เสียที่ราคาเหมาะสม 

 

Upside เพิ่มต่อกำไรสุทธิในปี 2565 สำหรับ JMT และ KBANK ที่ 1.7% และ 0.8% ฝ่ายวิจัยได้ทำ sensitivity analysis  ทุกๆ การขาย NPL ที่ไม่มีหลักประกัน 5 พันล้านบาท (เงินลงทุนสินเชื่อทุกๆ 250 ล้านบาท) โดย JMT ถือหุ้น 50% และ KBANK ถือ 50% จะได้ upside ต่อกำไรสุทธิในปี 2565 ของ JMT ที่ 1.7% หรือคิดเป็นราคาเป้าหมาย 1.00 บาท/หุ้น และได้ upside ต่อกำไรสุทธิในปี 2565 ของ KBANK ที่ 0.8% ตามลำดับ 

 

แนะนำ “ซื้อ” JMT ที่ราคาเป้าหมาย 65.00 บาท สำหรับ JMT ฝ่ายวิจัยมองเป็นบวกมากขึ้น  จากการรับรู้ส่วนแบ่งรายได้ที่จะเพิ่มขึ้น นอกจากฝ่ายวิจัยประเมินว่า JMT จะยังได้ประโยชน์ในระยะยาวเพิ่มขึ้น จากโอกาสในการเข้าซื้อหนี้เสียที่มีหลักประกันจากธนาครเพิ่มขึ้น ทำให้ลดความกังวลต่อการหาซื้อหนี้เสียมาบริหารในระยะยาว ซึ่งถ้าหาก JMT ได้ร่วมทุนกับ KBANK สำเร็จก็จะเปิดโอกาสให้ JMT ได้ร่วมทุนกับธนาคารอื่นเพิ่มขึ้นตั้งแต่ Q/65 ซึ่งถือว่าเร็วกว่าผู้ประกอบการรายอื่นในอุตสาหกรรม 

 

สำหรับ JMT แนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมาย 65.00 บาท อิงวิธี GGM ได้ 2565 PBV ที่ 4.7x โดยฝ่ายวิจัยมีโอกาสที่จะปรับประมาณการ และราคาเป้าหมายขึ้น จากความร่วมทุนกับ KBANK รวมถึงธนาคารอื่นๆที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ขณะที่อาจจะส่งกระทบต่อผู้ประกอบการรายอื่น เช่น Chase (บริษัทร่วมทุนของ RS สำหรับ RS แนะนำ “ถือ” ที่ราคาเป้าหมาย 18.00 บาท) และ CHAYO (ซื้อ/เป้า 16.00 บาท) จากโอกาสในการเข้าซื้อหนี้เสียไม่มีหลักประกันจากธนาคารที่น้อยลง 

แนะนำ “ซื้อ” KBANK ที่ราคาเป้าหมาย 168.00 บาท ส่วน KBANK จะได้ประโยชน์ในการเป็นการช่วยเพิ่มช่องทางการในการจัดการและขาย NPL อีกทางให้กับ KBANK นอกจากนี้ยังได้รับส่วนแบ่งจากการขายผ่านการร่วมทุน ทั้งนี้ KBANK มีการขาย NPL ปีละ 5,000-8,000 ล้านบาทต่อปี ขณะที่ปี 2564 ยังไม่มีการขาย NPL ออกมาเลย 

 

โดยฝ่ายวิจัยยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” KBANK และราคาเป้าหมายปี 2565 ที่ 168.00 บาท อิง 2565 PBV ที่ 0.8x (-1.25SD below 10-yr average PBV)

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง