KBANK ชี้ 4 สาเหตุทำบาทแข็งค่า ครึ่งปีหลังมีลุ้นแตะ 33 บ./USD
#ค่าเงินบาท #ทันหุ้น - บทวิเคราะห์ โดย บล.กสิกรไทย
KS expert series: แนวโน้มเงินบาท 2H67
KBANK มองเงินบาทที่แข็งค่าเร็วช่วงนี้มาจากการปรับคาดการลดดอกเบี้ย Fed การปิดสถานะ carry trade, Flow จากบริษัททองคำ, การเร่งซื้อ THB ของผู้ส่งออก
หากนาย โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งสหรัฐฯ อาจทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นเนื่องจากการขึ้นภาษีนำเข้าและมาตรการควบคุมผู้อพยพที่เข้มขึ้น
KBANK คาดเงินบาทแข็งค่าขึ้นใน 2H67 และอาจทดสอบบริเวณระดับ 33.00 บาท ในระยะข้างหน้าจากกระแสเงินไหลกลับจากผู้ส่งออกไทย
Key Highlights
ปัจจัยสำคัญ 4 ประการที่ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วในช่วงที่ผ่านมา
บล.กสิกรไทยได้เชิญคุณธนธิป ตั้งเจตนาพร ผู้บริหารกลุ่มธุรกิจงานค้า ธนาคารกสิกรไทย มาร่วมงาน KS-expert series เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับทิศทางของเงินบาท คุณธนธิปอธิบายว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าเร็วในช่วงนี้มีสาเหตุมาจาก 4 ประการ ได้แก่ 1) การปรับคาดการณ์การลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed จาก 25-50bps เป็น 75-100bps ในปี 2567 หลังจากตัวเลขรายงานการจ้างงานและเงินเฟ้อสหรัฐฯออกมาต่ำกว่าที่คาด, 2) ผลกระทบจากการปรับสถานะ USD/JPY carry trade, 3) กระแสการซื้อเงินบาทจากบริษัทค้าทองหลังจากราคาทองคำพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว และ 4) การเร่งซื้อเงินบาทจากผู้ส่งออกหลังจากที่นำเงินไปพักเงินในบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (FCD) เพื่อผลดอบแทนที่สูงกว่า
การเลือกตั้งสหรัฐฯ และผลกระทบต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
คุณธนธิปเชื่อว่าการเลือกตั้งสหรัฐฯ อาจมีผลกระทบต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯซึ่งตลาดยังไม่ได้รวมผลกระทบนี้ ขณะที่นโยบายของทางคามาลา แฮร์ริสถูกมองว่ามีเสถียรภาพและคาดการณ์ได้มากกว่า แต่ด้านโดนัลด์ ทรัมป์ตลาดมองนโยบายของทรัมป์อาจนำไปสู่ความผันผวนในตลาดที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นเพราะนโยบายหลักของทรัมปีทั้งการเพิ่มภาษีนำเข้าขี้สูงและมาตรการควบคุมคุมผู้อพยพที่เข้มขึ้น อาจทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและก่อให้เกิดแรงกดดันเงินเฟ้อ และอาจส่งผลต่อเนื่องให้ Fed ต้องคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับสูงกว่าที่ในอดีตซึ่งอาจส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มแข็งค่า
Implications and Recommendation
เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นใน 2H67
ธุรกิจตลาดทุน (CMB) จากธนาคารกสิกรไทยคาดการณ์ว่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นในครึ่งหลังของปี 2567 โดยได้รับการหนุนจากดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account - CA) ที่เกินดุล อันเนื่องมาจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการส่งออก รวมถึงแนวโน้มการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่เพิ่มขึ้น และการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศที่เริ่มกลับมา หลังจากที่มีมุมมองให้ underweight การถือครองหุ้นและตราสารหนี้ไทยอยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน
USDTHB อาจลงไปทดสอบ 33.00 บาท ในระยะข้างหน้า
ในอีกระยะข้างหน้า CMB มองว่าเงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นต่อเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ และ USDTHB อาจลงไปทดสอบระดับแนวรับสำคัญที่ 33.00 บาท แต่ CMB เชื่อว่ากระแสเงินไหลกลับจากผู้ส่งออกไทยจะมีบทบาทสำคัญในครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า USDTHB ในปัจจุบันได้สะท้อนการคาดการณ์การลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในปีนี้ถึง 4 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 100bps แล้ว หากการประชุม FOMC ครั้งถัดไป (ในวันที่ 18 ก.ย. 2567) ไม่ได้ลดอัดราดอกเบี้ยตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ หรือไม่ได้ส่งสัญญาณนโยบายผ่อนคลายมากตามที่ตลาดต้องการ USDTHB อาจปรับตัวกลับมาขึ้นอีกครั้ง ทั้งนี้ทางฝ่าย CMB ให้เป้า USDTHB สำหรับสิ้นปี 2567 ที่ 34.50 บาท ลดลงจากเดิมที่คาดไว้ที่ 36.00 บาท