รีเซต

รวม 8 คำคม นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบและเปลี่ยนแปลงโลกนี้ให้ดียิ่งขึ้น

รวม 8 คำคม นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบและเปลี่ยนแปลงโลกนี้ให้ดียิ่งขึ้น
TNN ช่อง16
19 กันยายน 2565 ( 09:57 )
6.4K

8 คำคมจากนักวิทยาศาสตร์เปลี่ยนโลก 

"วิทยาศาสตร์ไม่รู้จักคำว่าประเทศ เพราะความรู้นั้นเป็นของมนุษย์และเป็นไฟฉายที่ส่องสว่างให้โลก”


"Science knows no country, because knowledge belongs to humanity, and is the torch which illuminates the world. Science is the highest personification of the nation because that nation will remain the first which carries the furthest the works of thought and intelligence."


หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur)

นักเคมีและจุลชีววิทยา ผู้พัฒนาการฆ่าเชื้อวิธีปาสเตอร์ (Pasteurization)


ข้อมูลจาก www.brainyquote.com

ภาพจาก en.wikipedia.org


"เมื่อไหร่ที่ฉันล้มเหลว ฉันรู้ว่าต้องลุกขึ้นมา ฉันรักงานของฉัน ทุกครั้งที่คิดว่างานนี้ช่วยรักษาโรคได้มากขนาดไหน"


“When I am knocked down I know how to pick myself up, but I always enjoyed working, I imagined all of the diseases I could treat.”


คาทาลีน คาริโคช (Katalin Karikó)

นักวิจัยชาวฮังการี-อเมริกัน ผู้พัฒนาวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) ให้กับโรคโควิด-19 (COVID-19) เป็นคนแรกของโลก


ก่อนที่วัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) จะเป็นที่แพร่หลายและได้รับการยอมรับไปทั่วโลกว่าเป็นแนวป้องกันอันทรงพลังในการหยุดยั้งภาวะการระบาดทั่วโลก (Pandamic) ของโควิด-19 (COVID-19) มีเพียงคาริโคชที่เชื่อมั่นในการนำเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA: Messenger Ribonucleic Acid) หรือตัวส่งต่อรหัสทางพันธุกรรมที่พบในไวรัสมาใช้เป็นวัคซีน เธอเริ่มทำงานวิจัยด้านนี้มาตั้งแต่ปี 1990 และแทบไม่มีใครยอมรับงานวิจัยของเธอในตอนนั้น จนเสมือนกับว่างานของเธอในช่วงเวลานั้นเป็นงานวิจัยขึ้นหิ้งก็ว่าได้


ข้อมูลจาก www.telegraph.co.uk

ภาพจาก en.wikipedia.org



"ใครก็ตามที่ต้องล้มลุกคลุกคลานในการแก้ไขข้อผิดพลาดของตน คนนั้นก็ถือได้ว่าเป็นคนที่แท้จริง"


"Any man whose errors can take that long to correct is quite a man."


รอเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ (Robert Oppenheimer)

นักฟิสิกส์ทฤษฎี (Theoretical Physicist) หัวหน้าโครงการแมนฮัตตัน (Manhattan Project)


นักฟิสิกส์ทฤษฎี (Theoretical Physicist) เป็นนักฟิสิกส์ที่ถือได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในความรู้ทางฟิสิกส์ทุกแขนงมากที่สุดสาขาหนึ่ง ออปเพนไฮเมอร์ (Oppenheimer) ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานี้ได้เข้ามาดูแลโครงการสร้างระเบิดปรมณูแมนฮัตตัน (The Manhattan Project) ซึ่งประสบผลสำเร็จ อันเป็นเหตุให้สามารถหยุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ในที่สุด เรื่องราวของเขาถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์โดยคริสโตเฟอร์ โนแลน (Christopher Nolan) โดยมีคิลเลียน เมอร์ฟี (Cillian Murphy) มาแสดงนำเป็นออปเพนไฮเมอร์ (Oppenheimer) ซึ่งจะเข้าฉายในปีหน้า


ข้อมูลและภาพจาก en.wikiquote.org



“ชื่อเสียงด้านที่ดีนั้นต้องใช้การทำความดี จำนวนมาก แต่ทุกอย่างจะพังลงทั้งหมด หากทำสิ่งที่ชั่วร้ายเพียงครั้งเดียว”


“It takes many good deeds to build a good reputation, and only one bad one to lose it.”


เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin)

นักเขียน นักประดิษฐ์ นักวิทยาศาสตร์และฟิสิกส์ ผู้คิดค้นสายล่อฟ้า


ข้อมูลจาก www.growthink.com

ภาพจาก www.wikipedia.org



“ผมยอมฟังคำวิจารณ์จากใครซักคนที่มีความคิดเป็นของตัวเอง ดีกว่าฟังคำชมจากคนส่วนใหญ่ที่ไม่คิดอะไรเลย”


“I much prefer the sharpest criticism of a single intelligent man to the thoughtless approval of the masses.”


โยฮันเนส เคปเลอร์ (Johannes Kepler)

นักดาราศาสตร์ และนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน


ข้อมูลและภาพจาก en.wikiquote.org



"สิ่งที่เรารู้เปรียบเหมือนน้ำเพียงหยดเดียว แต่สิ่งที่เราไม่รู้นั้นดุจดั่งมหาสมุทร"


"What we know is a drop, what we don't know is an ocean."


ไอแซก นิวตัน (Isaac Newton) นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ ชาวอังกฤษ


ก่อนจะได้ยศเซอร์เพื่อเป็นเกียรติแก่การปฏิวัติวงการวิทยาศาสตร์ ไอแซก นิวตัน (Isaac Newton) เป็นเพียงลูกของชนชั้นกลางล่างในอังกฤษ หรือเรียกว่ากลุ่มยอมัน (Yeoman) เท่านั้น


วัยเด็กของนิวตันไม่ได้สดใสมากนัก นับตั้งแต่เกิดมาก็มีร่างกายที่อ่อนแอ ครอบครัวก็ไม่ได้สนใจเพราะคิดว่าตัวนิวตันจะไม่รอดชีวิตตั้งแต่วันแรกที่เกิดมาด้วยซ้ำ ในขณะที่ครอบครัวก็แตกสลาย แม่ของเขาแต่งงานใหม่ถึงสองครั้งใน 2 ปีแรกของชีวิตของเขา และถูกแยกเลี้ยงโดยยายของนิวตันจนถึงอายุ 9 ปี หลังจากนั้นก็ถูกนำไปเลี้ยงร่วมกับสามีคนที่ 3 ของแม่ของนิวตัน เขาเกลียดทั้งคู่มากจนถึงขั้นอยากจะขู่ฆ่าแล้วเอาไปเผาไฟพร้อมกับบ้านพวกเขา


นิวตันต้องไปทำงานแทนการเรียน แต่โชคดีที่นิวตันสุดท้ายก็ได้เข้าเรียนมัธยมและสอบเข้าตรินิตี้คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Trinity College, University of Cambridge) และเริ่มศึกษา อ่านหนังสือ และค้นคว้าในสิ่งต่าง ๆ ที่เขาไม่รู้จนกลายเป็นหนึ่งในอัจฉริยะแห่งยุคซึ่งยังคงเป็นตำนานจนถึงปัจจุบัน


ข้อมูลจาก www.forbes.com

ภาพจาก www.wikipedia.org



"ไม่มีสิ่งใดในชีวิตที่ต้องกลัว เพียงแค่เราเข้าใจมันก็เท่านั้น และเมื่อเราเข้าใจมันมากขึ้น ความกลัวก็จะน้อยลง"


"Nothing in life is to be feared, it is only to be understood. Now is the time to understand more, so that we may fear less."


มารี กูว์รี (Marie Curie) นักเคมีผู้ค้นพบรังสีเรเดียมและอุทิศชีวิตตนเองเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น


เด็กสาวที่เกิดในจักรวรรดิรัสเซีย บิดาเป็นครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์ส่งผ่านความรักในวิทยาศาสตร์ไปยังบุตรสาวอันเป็นที่รัก พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ของบิดาหล่อหลอมให้มารี กูว์รีกลายเป็นนักเคมีและนักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของโลก


ช่วงชีวิตมหาวิทยาลัยมารี กูว์รีเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยปารีส สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกพร้อมกับผลงานการค้นพบรังสีเรเดียมที่แผ่รังสีได้มากกว่ายูเรเนียม 2 ล้านเท่า ซึ่งต่อมารังสีเรเดียมสามารถใช้รักษาโรคมะเร็งได้ ผลงานการค้นพบดังกล่าวทำให้มารี กูว์รีและสามีปีแอร์ กูว์รี ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ในปี 1903 และมารี กูว์รีได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี ในปี 1911


ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ปี 1914 - 1918 มารี กูว์รีรับอาสาเป็นพยาบาลช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากสงครามโดยใช้รังสีช่วยเอกซเรย์กระดูกผู้บาดเจ็บ ผลจากการทำงานหนักส่งผลให้ร่างกายของมารี กูว์รีได้รับผลกระทบจากรังสีและเสียชีวิตลงในปี 1934


ปัจจุบันผลงานและความดีที่มารี กูว์รี สร้างเอาไว้ให้กับโลกถูกส่งต่อมายังปัจจุบัน นอกจากรางวัลมากมายยังมีการสร้างอนุสาวรีย์มารี กูว์รีเอาไว้ที่เมืองลูบบิน ประเทศโปแลนด์ ใกล้กับมหาวิทยาลัยมารี กูว์รี สโลโดว์สกา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติให้กับมารี กูว์รี


ข้อมูลจาก www.brainyquote.com

ภาพจาก en.wikipedia.org



"ไม่มีอะไรวิเศษเกินกว่าจะเป็นจริงได้ หากเป็นไปตามกฎแห่งธรรมชาติ"


“Nothing is too wonderful to be true if it be consistent with the laws of nature.”


ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday)

นักเคมีและนักฟิสิกส์ ชาวอังกฤษ เป็นผู้คิดค้นไดนาโม


ข้อมูลจาก www.goodreads.com

ภาพจาก en.wikipedia.org

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง