พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อโควิด ใน คอนโดมิเนียม อพารตเมนท์ หรือหอพัก ต้องทำอย่างไร?
คอนโดมิเนียม หอพัก อพาร์ทเมนท์ นับว่าเป็นสถานที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด เนื่องจากต้องอยู่ร่วมกันภายในอาคารเดียวกัน เป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อเป็นกลุ่มได้ วันนี้ trueID จะนำขั้นตอนการปฏิบัติ ต้องทำอย่างไร?หากมีผู้ติดเชื้อใน คอนโดมิเนียม อพารตเมนท์ หรือหอพัก
การป้องกัน เฝ้าระวัง และแยกผู้ป่วย
นิติบุคคลคอนโดหรือผู้ดูแลที่พักอาศัยควรดําเนินการ ดังนี้
1. จัดทําป้ายให้ความรู้ คําแนะนํา หรือจัดหาสื่อประชาสัมพันธ์การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค เพื่อแจ้งเตือนพนักงาน ผู้พักอาศัย และผู้มาเยี่ยม เช่น โปสเตอร์การเว้นระยะห่างกัน การล้างมือที่ถูกวิธี และการสวมหน้ากากผ้า เป็นต้น
2. สํารวจความเสี่ยงพนักงานประจําในที่พักอาศัย ผู้พักอาศัยทุกห้อง รวมทั้งบุคคลใกล้ชิด ทั้งที่พักอยู่ด้วยกันในห้อง ว่ามีประวัติเดินทางไปในต่างประเทศ หรือสถานที่ในประเทศไทยที่ถูกประกาศว่าเป็น สถานที่พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือไม่ โดยตรวจสอบประกาศ ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้ที่ https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php หากพบพนักงานเดินทางไปยังสถานที่ที่พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามวัน เวลาที่มี การประกาศ ควรให้หยุดงานทันที แยกตัวเองเพื่อสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน และรายงานตัวตามที่มีการประกาศ
3. สําหรับคอนโดมิเนียม อพารตเมนท์ หอพัก ที่มีพนักงานหนาแน่น ควรจัดให้มีการตรวจคัดกรองอุณหภูมิพนักงานก่อนทํางาน หากพบพนักงานผู้ป่วย ด้วยอาการไข้มากกว่า 37.5 องศา ไอ จาม เจ็บคอ หรือมีน้ํามูก ควรให้พักกักตัวในที่พักอาศัย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค และหากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน หรือมีอาการป่วยรุนแรง เช่น หอบเหนื่อยควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจรักษา
4. กรณีที่พบพนักงาน หรือผู้พักอาศัย ยืนยันติดเชื้อโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้พนักงานหรือผู้พักอาศัยหยุดงานทันที แยกตัวเองที่โรงพยาบาลหรือที่บ้าน (กรณีไม่มีอาการหรือแสดงอาการน้อยมาก) ตามที่แพทย์ให้คําแนะนํา
5. จัดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบของสถานประกอบการ ในการโทรแจ้งและติดต่อกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ หรือสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อดําเนินการควบคุมโรคตามแนวทางของ กระทรวงสาธารณสุขต่อไป
การแยกผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย
ในกรณีที่พบพนักงานยืนยันติดเชื้อโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานประกอบการ ให้ประสาน หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่หรือสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อทําการสํารวจคนร่วมงานที่อยู่ในข่ายสัมผัส โรค ซึ่งต้องให้หยุดงานทันทีและกักกันตนเอง ณ ที่พักอาศัยหรือที่ที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดกําหนดไว้ เพื่อสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน หลังจากใกล้ชิดผู้ป่วยครั้งสุดท้าย ดังนี้
นิยามผู้สัมผัสโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
1. ผู้สัมผัสในครัวเรือน
1.1) สมาชิกในครอบครัว ญาติ และผู้ที่ดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ขณะที่มีอาการป่วยผู้ที่พักอาศัยในบ้านเดียวกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
2. ผู้สัมผัสในยานพาหนะ
2.1) ในกรณีที่ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เดินทางโดยเครื่องบิน ในขณะที่มีอาการ ผู้ที่ร่วม เดินทางโดยเครื่องบินดังกล่าวกับผู้ป่วย ผู้โดยสารที่นั่งใกล้ผู้ป่วยในแถวเดียวกัน และในระยะ 2 แถวหน้า และ 2 แถวหลัง ถัดจากที่นั่งของผู้ป่วย
2.2) พนักงานบริการบนเครื่องบินทุกรายในโซนที่ผู้ป่วยนั่ง
2.3) ผู้ที่ร่วมกลุ่มเดินทางเดียวกัน เช่น กลุ่มทัวร์เดียวกัน
2.4) ในกรณีที่ผู้ป่วยโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เดินทางโดยยานพาหนะอื่น ๆ ในขณะที่มีอาการ ได้แก่ ผู้ที่ร่วมเดินทางกับผู้ป่วย ผู้โดยสารหรือพนักงานที่สัมผัสสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ หรือโดนไอจาม จากผู้ป่วย และผู้โดยสารที่อยู่ในระยะห่างไม่เกิน 1 เมตร จากผู้ป่วย
3. ผู้สัมผัสในโรงเรียน/ ที่ทํางาน และในชุมชน
3.1) นักเรียนหรือผู้ร่วมงาน ได้แก่ กลุ่มเพื่อนที่พบปะกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในขณะมี อาการ และมีประวัติอาจสัมผัสสารคัดหลังจากทางเดินหายใจ หรือโดนไอ จาม จากผู้ป่วย
3.2) ผู้ที่อยู่ในชุมชนเดียวกันกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือในชุมชนอื่น ๆ และสัมผัสสารคัด หลังจากทางเดินหายใจ หรือโดน ไอ จาม จากผู้ป่วย
การทําความสะอาดสถานที่
1) เพิ่มความตระหนักให้กับพนักงาน และพนักงานทําความสะอาด ถึงความเสี่ยงในการปนเปื้อนเชื้อ
โดยให้ความสําคัญในการป้องกันตนเอง เช่น การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า และถุงมือ ขณะปฏิบัติงาน และการดูแลทําความสะอาดสิ่งของที่ใช้งานบ่อยๆ เช่น โต๊ะทํางาน คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ ต่างๆที่ใช้ในการทํางาน รวมถึงอุปกรณ์ทําความสะอาดอื่นๆเสมอ เช่น ราวจับ กลอนประตู ห้องน้ํา อุปกรณ์ต่างๆ ที่ ด้วยน้ํายาฟอกขาวความเข้มข้น 6% ผสมน้ําสะอาด
(โดยใช้น้ํายา 1 ส่วนต่อน้ํา 99 ส่วน) หรือ 70% แอลกอฮอล์ 3) จัดจุดทิ้งขยะติดเชื้อให้กับผู้พักอาศัย ระมัดระวังการเก็บขยะติดเชื้อ เช่น ทิชชูที่ผ่านการใช้แล้วอาจ
ปนเปื้อนสารคัดหลั่ง ก่อนทิ้งขยะติดเชื้อควรใส่ถุงปิดให้มิดชิด และล้างมือทําความสะอาดเพื่อป้องกันการ ตกค้างของเชื้อโรค
คําแนะนําผู้พักอาศัย
1) หลีกเลี่ยงการออกไปสถานที่ชุมชนสาธารณะ หากจําเป็น ควรจัดเตรียมหน้ากากอนามัย และแอลกอฮอล์เจลเพื่อใช้ล้างมือบ่อยๆ
2) หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ําและสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ไม่นํามือมาสัมผัสตา จมูก ปาก
โดยไม่จําเป็น
3) ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ํา ภาชนะใส่และรับประทานอาหาร ผ้าเช็ดมือ
4) หากพบว่าตนเองมีอาการป่วย ควรหยุดพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน และหากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน หรือมีอาการป่วยรุนแรง เช่น หอบเหนื่อยควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจรักษา และแจ้งหัวหน้างาน/นิติ บุคคลทราบ
ข้อมูล : กรมควบคุมโรค
รูปภาพโดย ฟอร์ม PxHere
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
- ฝนตกหลายพื้นที่ ระวังป่วยด้วยโรคไข้ฉี่หนู
- เหนื่อยจะตายอยู่แล้ว! เมื่อทำงานหนักเกินไปอาจเสี่ยงเป็น 'โรคคาโรชิ' ได้
- ทำความรู้จัก! หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการป่วยของ หนุ่ม กรรชัย โรคอันตรายที่ต้องระวัง
- เช็กอาการ “โรคหูดับ” จากการกิน “หมูดิบ” ที่คอปิ้งย่างต้องระวัง!
- รู้จัก โรคกินไม่หยุด Binge eating disorder โรคที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและจิตใจ
- รับมือกับ "โรคซึมเศร้า" ด้วยตัวเอง