รีเซต

เหนื่อยจะตายอยู่แล้ว! เมื่อทำงานหนักเกินไปอาจเสี่ยงเป็น 'โรคคาโรชิ' ได้

เหนื่อยจะตายอยู่แล้ว! เมื่อทำงานหนักเกินไปอาจเสี่ยงเป็น 'โรคคาโรชิ' ได้
TeaC
28 มิถุนายน 2564 ( 19:39 )
519

เหนื่อยจะตายอยู่แล้ว! ประโยคสุดคลาสิกของเหล่ามนุษย์เงินเดือนต้องเคยเอ่ยออกมาเมื่อรู้สึกว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นเริ่มฉุดพลังชีวิตให้เหนื่อยล้า ท้อถอย และอาจนำไปสู่ความตายได้โดยไม่รู้ตัว ด้วยโรคที่เรียกว่า โรคคาโรชิ โรคการทำงานหนักเกินไปจนนำไปสู่ความตาย ซึ่งโรคดังกล่าวเริ่มขึ้นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นในช่วงปี 1970s ก่อให้เกิดค่านิยมการทำงานหนักเพื่อส่วนร่วมของคนญี่ปุ่น

 

ซึ่งในปี 2559 รัฐบาลญี่ปุ่นได้เปิดเผยรายงานเรื่อง โคโรชิ เป็นครั้งแรกว่า มีบริษัทในญี่ปุ่นกว่า 20% ที่มีการทำงานล่วงเวลาในแต่ละเดือนเกิน 80 ชั่วโมงต่อเดือน (OT) หลังข่าวพนักงานบริษัทโฆษณาใหญ่ในญี่ปุ่น ฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดหอพักพนักงาน เพราะถูกกดดันจากภาระงานที่หนักเกินไป โดยเหตุการณ์ครั้งนั้นสะท้อนให้เห็นถึงธรรมชาติของวัฒนธรรมการทำงานในคนญี่ปุ่นจะค่อนข้างมีลำดับขั้น มีแบบแผนที่ชัดเจน เน้นการทำงานเป็นทีม

 

และจากข้อมูลยังพบว่า คนทำงานในญี่ปุ่นค่อนข้างให้ความสำคัญกับคุณค่าในตัวเอง ซึ่งเป็นเสมือนดาบสองคมที่เป็นสาเหตุหลักให้เกิดโรคคาโรชิ โดยสาเหตุการตายจากโรคคาโรชินั้นเกิดได้ 2 แบบ คือ

 

  • ป่วยตาย เช่น ทำงานหนักจนหัวใจวาย
  • ฆ่าตัวตาย สาเหตุมาจากความเครียด ความกดดัน 

 

อาจเป็นไปได้ว่า คนญี่ปุ่นเชื่อว่าคุณค่าของคนอยู่ที่ผลงาน ผลงานทำให้ตัวเองมีตัวตนในสังคม เป็นที่ยอมรับ นี่จึงเป็นดาบสองคมที่ทำให้คนทำงานในญี่ปุ่นต้องอดทนต่อแรงกดดันทางวัฒนธรรมเช่นนี้ด้วย

 

ดังนั้น รัฐบาลญี่ปุ่นจึงออกนโยบายอนุญาตให้พนักงานบริษัทสามารถกลับบ้านได้ก่อนเวลาเลิกงาน 2-3 ชั่วโมงในวันศุกร์สุดท้ายของเดือนเท่านั้น แม้จะดูเหมือนว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แต่จากสาเหตุคนไม่ได้ตายเพราะงานโดยตรง แต่ตายเพราะวิธีการคิดที่เกิดจากความกดดันจากสังคมรอบตัว ตำแหน่งหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ การถูกคาดหวัง หรือตั้งความหวังเกินขีดความสามารถของตัวเองที่ฝั่งรากลึกอยู่ในสังคมญี่ปุ่น

 

ส่วนในกรณีที่ทำงานแล้วไม่ได้เสียชีวิตนั้น องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ระบุว่า การทำงานหนักก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพเช่นเดียวกัน เพราะการทำงานหนักเกิน 55 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ 17% และเพิ่มความเสี่ยงที่จะเส้นเลือดในสมองแตก 35% ไปสู่ความตายได้อีกด้วยเช่นกัน

 

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะทำให้รับมือจากการทำงานหนักได้คือ ต้องรู้จักตรวจสอบปริมาณงานกับจำนวนที่ตัวเองมีอย่างสม่ำเสมอ สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมองค์กรมีผลอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน รวมทั้งการปรับชีวิตเมื่อต้อง Work From Home มากขึ้น การ Balance ชีวิตในการทำงานต้องสอดคล้องกับการดูแลสุขภาพด้วยเช่นกัน จะได้ไม่ต้องรู้สึกเมื่อต้องทำงานว่า เหนื่อยจะตายอยู่แล้ว! 

 

 

ข้อมูล : marketingoops, มติชน

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง