รีเซต

ภาพแรกจากกล้อง SuperBIT บนบอลลูนลอยสูง 32 กม. เหนือพื้นโลก

ภาพแรกจากกล้อง SuperBIT บนบอลลูนลอยสูง 32 กม. เหนือพื้นโลก
TNN ช่อง16
23 เมษายน 2566 ( 15:40 )
115
ภาพแรกจากกล้อง SuperBIT บนบอลลูนลอยสูง 32 กม. เหนือพื้นโลก
กล้องโทรทรรศน์บอลลูนความดันสูง (SuperBIT) เปิดเผยภาพเนบิวลาทารันทูลาและกาแล็กซีเสาอากาศ (Antennae) โดยเป็นภาพแรกที่ถ่ายด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศตัวนี้หลังจากถูกปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อวันที่ 16 เมษายน ไปยังระดับความสูง 108,000 ฟุต หรือประมาณ 33 กิโลเมตร เหนือพื้นโลก

นาซาพัฒนากล้องโทรทรรศน์บอลลูนความดันสูง (SuperBIT) โดยใช้บอลลูนนำตัวกล้องลอยขึ้นสู่ระดับความสูงที่ถูกรบกวนจากเมฆและฝุ่นบนท้องฟ้าเพื่อบันทึกภาพบนอวกาศได้คมชัดมากขึ้น วิธีการดังกล่าวสามารถประหยัดงบประมาณได้มากกว่าการส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศขนาดใหญ่ขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวดที่ระดับวงโคจรของโลกที่อยู่สูงขึ้นไปหลายร้อยกิโลเมตร

สำหรับกล้องโทรทรรศน์บอลลูนความดันสูง (SuperBIT) นาซาออกแบบให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้นานต่อเนื่อง 100 วัน เพื่อบันทึกภาพและรวบรวมข้อมูลบนอวกาศ โดยกล้องจะจับภาพกาแล็กซีในสเปกตรัมแสงอัลตราไวโอเลตที่มองเห็นได้ใกล้ เป้าหมายของภารกิจ คือ การทำแผนที่สสารมืดรอบ ๆ กระจุกกาแล็กซี โดยการวัดวิธีที่วัตถุขนาดใหญ่เหล่านี้บิดเบี้ยวพื้นที่รอบๆ พวกมัน เรียกอีกอย่างว่า เลนส์ความโน้มถ่วงอย่างอ่อน (Weak Gravitational Lensing)



สำหรับภาพเนบิวลาทารันทูลา (Tarantula Nebula) เป็นพื้นที่ก่อตัวดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ของก๊าซไฮโดรเจนที่แตกตัวเป็นไอออน ซึ่งอยู่ห่างจากโลกประมาณ 161,000 ปีแสงในเมฆแมกเจลแลนใหญ่ (Large Magellanic Cloud) มีลักษณะเป็นเมฆก๊าซและฝุ่นที่ปั่นป่วนดูเหมือนจะหมุนวนระหว่างดาวสว่างที่เพิ่งก่อตัว ก่อนหน้านี้เนบิวลาทารันทูลา (Tarantula Nebula) ถูกจับโดยทั้งกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลและกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์



ส่วนกาแล็กซีเสาอากาศ (Antennae) ถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ NGC 4038 และ NGC 4039 ซึ่งเป็นกาแล็กซีขนาดใหญ่สองแห่งที่ชนกันในระยะทาง 60 ล้านปีแสง ไปทางใต้ของกลุ่มดาวนกกา (Corvus) กาแล็กซีเหล่านี้เคยถูกบันทึกโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลหอสังเกตการณ์รังสีเอกซ์จันทรา และกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์

ที่มาของข้อมูลและรูปภาพ Blogs.nasa.gov

ข่าวที่เกี่ยวข้อง