รีเซต

ผลสำรวจสภาพจิตใจคนไทย พบ "โควิด" ทำเครียด-เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าสูง

ผลสำรวจสภาพจิตใจคนไทย พบ "โควิด" ทำเครียด-เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าสูง
TNN ช่อง16
11 มกราคม 2565 ( 13:56 )
106

วันนี้ (11 ม.ค.65) พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยถึงความเครียดของประชาชนต่อการแพร่ระบาดระลอกใหม่โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอ พบว่า ประชาชนมีความเครียดอยู่ในระดับที่คงตัวยังไม่ได้พุ่งสูงขึ้น 

อีกนัยยะหนึ่งมองว่าเป็นผลดีที่ทุกคนมีความตระหนักต่อสถานการณ์การแพร่ระบาด และมีความเข้าใจกับตัวโรคมากขึ้นจากการรับข้อมูลข่าวสาร นอกจากความเครียดที่เกิดจากโควิดแล้วยังที่ต้องเฝ้าระวังความเครีดต่อสภาพสังคมและเศรษฐกิจด้วย

ทั้งนี้ ได้มีการประเมินสุขภาพจิตในระบบติดตามดูแลกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพจิต www.วัดใจ.com หรือ ระบบ Mental Health Check In ซึ่งผลการประเมินจะถูกส่งให้เครือข่ายงานสุขภาพจิต เพื่อติดตามช่วยเหลือต่อไป ข้อมูลวันที่ 9 มกราคม 2565 จากจำนวนผู้ตอบแบบประเมิน 2,579,026 ราย 

พบว่า มีเครียดสูง 216,098 ราย ร้อยละ 8.38 นำไปสู่ภาวะเสี่ยงซึมเศร้า 254,243 ราย ร้อยละ 9.86 และเสี่ยงฆ่าตัวตาย 140,939 ราย ร้อยละ 5.46 รวมถึง มีภาวะหมดไฟ  25,552 ราย ร้อยละ 4.16

ซึ่งทั้งหมดจะต้องได้รับการดูแลด้านสุขภาพจิต รวมถึงการฟื้นฟูสุขภาพจิต ในผู้ป่วยที่มีภาวะ Long COVID-19 ที่หลังจากติดเชื้อแล้ว 3 เดือนยังคงมีอาการทั้งทางกายและจิตใจได้อยู่กว่าครึ่ง ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการดูแลเช่นกัน 

ขณะเดียวกันมีผลสำรวจประชาชนในกลุ่มที่ยังคงมีความลังเลไม่รับวัคซีนโควิด อธิบดีกรมสุขภาพจิต ระบุว่า หลังจากได้ลงพื้นที่สร้างความเข้าใจ ตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายน และมีการติดตามจนถึงเดือนธันวาคม

พบว่า 3 สาเหตุที่ทำให้ประชาชนกลุ่มนี้ปฏิเสธไม่รับวัคซีนโควิดใช่วงแรก ได้แก่ ความเชื่อมั่น ความชะล่าใจและช่องทาง มีความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น โดยเปลี่ยนใจมารับวัคซีนกันมากขึ้น

ส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นประสิทธภาพต่อวัคซีน ที่เดิมอยู่ที่ร้อยละ 50 ก็ขยับขึ้นเกินกว่าร้อยละ 60 หลังจากที่เจ้าหน้าที่ได้ให้ความรู้แก่ประชาชน จึงมีความมั่นใจเปลี่ยนใจมารับวัคซีน ประกอบกับช่องทางการนัดหมายพบว่ามีการนัดหมายช่องทางที่สะดวกมากขึ้น รวมถึงเจ้าหน้าที่นำวัคซีนไปฉีดในจุดที่อาจเข้าถึงยาก ทำให้ประชาชนได้รับวัคซีนถึงที่มากขึ้น


ภาพจาก AFP


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง