รีเซต

จริงหรือไม่? ยาสีฟัน ช่วยให้ฟันงอกใหม่ กรมอนามัยตอบแล้ว!

จริงหรือไม่? ยาสีฟัน ช่วยให้ฟันงอกใหม่ กรมอนามัยตอบแล้ว!
TNN ช่อง16
2 กุมภาพันธ์ 2565 ( 14:14 )
112
จริงหรือไม่? ยาสีฟัน ช่วยให้ฟันงอกใหม่ กรมอนามัยตอบแล้ว!

วันนี้ ( 2 ก.พ. 65 )นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากกรณีมีการโฆษณาขายยาสีฟัน     ในสื่อออนไลน์ โดยการอวดอ้างคุณสมบัติช่วยให้ฟันงอกขึ้นมาในช่องปากได้ภายหลังการใช้ ซึ่งข้อควาโฆษณาดังกล่าวไม่เป็นความจริง ยาสีฟันเป็นเพียงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการทำความสะอาดฟันร่วมกับการแปรงฟันเท่านั้น ไม่สามารถทำให้เกิดการงอกของฟันขึ้นมาใหม่ในช่องปากได้ เนื่องจากหน่อฟันแท้ของคนเราจะสร้างในขากรรไกรตั้งแต่วัยเด็ก และจะเริ่มขึ้นมาในช่องปากตั้งแต่อายุประมาณ 6 ปี จนครบ 28 ซี่ ตอนอายุประมาณ 12-13 ปี หากผู้บริโภคหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาใช้ นอกจากจะเสียเงินแล้ว ยังเสียโอกาสในการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องปากที่เหมาะสม โดยยาสีฟันที่ควรใช้สำหรับทำความสะอาดช่องปาก คือ ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ซึ่งผู้บริโภคสามารตรวจดูได้บนฉลากยาสีฟัน เนื่องจากฟลูออไรด์ในยาสีฟัน จะมีคุณสมบัติปกป้องฟันจากกรดที่แบคทีเรียในช่องปากปล่อยออกมาขณะจับตัวกับอาหารที่ตกค้างบนผิวฟัน โดยช่วยให้เคลือบฟันแข็งแรงขึ้น ทำให้ผิวฟันเกิดความเสียหายจากกรดดังกล่าวลดลง นอกจากนี้ยังช่วยให้ฟันบริเวณที่เพิ่งเริ่มเกิดการผุกร่อนกลับมามีสุขภาพดีดังเดิมได้

ทางด้าน ทันตแพทย์หญิงวรางคนา เวชวิธี ผู้อำนวยการสำนักทันตสาธารณสุข กล่าวว่า การป้องกันการสูญเสียฟันในช่องปากที่ดีที่สุด คือ การแปรงฟันตามหลัก 2 – 2 – 2 ได้แก่ 1. แปรงฟันอย่างน้อยวันละ  2 ครั้ง เช้าและก่อนนอนด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 

2. แปรงฟันนานครั้งละ 2 นาทีขึ้นไป เพื่อให้มั่นใจว่าแปรงฟันได้สะอาดทั่วทั้งปาก ทุกซี่ และทุกด้าน และเป็นการให้เวลาฟลูออไรด์ในยาสีฟันจับกับผิวเคลือบฟันเพื่อป้องกันฟันผุ 

3.งดกินอาหารและเครื่องดื่มหลังแปรงฟัน 2 ชั่วโมง เพื่อให้ช่องปากสะอาดนานที่สุด ทั้งนี้ เด็กอายุ  ต่ำกว่า 3 ปี ผู้ปกครองแปรงฟันให้เด็กอย่างใกล้ขิด โดยบีบยาสีฟันแตะขนแปรงพอเปียก และเช็ดฟองออก เด็กอายุ 3 – 6 ปี บีบยาสีฟันเท่ากับความกว้างของแปรง โดยผู้ปกครองบีบยาสีฟันให้เด็กแปรงฟันเองและมีผู้ปกครองช่วยแปรงซ้ำ เด็กอายุ 6 ปี และผู้ใหญ่ บีบยาสีฟันเท่ากับความยาวขนแปรงให้เด็กแปรงฟันเองและผู้ปกครองตรวจความสะอาดซ้ำ เพื่อสุขภาวะของฟันและเหงือกที่ดี

ข้อมูลจาก :กรมอนามัย

ภาพจาก :  AFP

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง