รีเซต

พายุเข้าญี่ปุ่น! สรุปสถานการณ์พายุไต้ฝุ่น "นันมาดอล" เข้าประเทศญี่ปุ่น

พายุเข้าญี่ปุ่น! สรุปสถานการณ์พายุไต้ฝุ่น "นันมาดอล" เข้าประเทศญี่ปุ่น
Ingonn
20 กันยายน 2565 ( 10:53 )
744

พายุเข้าญี่ปุ่น พายุไต้ฝุ่น "นันมาดอล" ที่ตอนนี้ยังคงพัดถล่มประเทศญี่ปุ่นหลายพื้นที่ รัฐบาลญี่ปุ่นเร่งอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่เสี่ยงได้รับความเสียหาย โดยคาดว่า "นันมาดอล" พายุเข้าญี่ปุ่น จะเคลื่อนตัวออกสู่ทะเลในวันพุธนี้ เรียกได้ว่า ญี่ปุ่นอาจเผชิญภัยพิบัติครั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในรอบหลายสิบปี

 

พายุเข้าญี่ปุ่น

เดือนกันยายน เป็นเดือนพายุเข้าญี่ปุ่น ที่ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติจากพายุในมหาสมุทรแปซิฟิกอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนนี้ เจอพายุไปแล้ว 2 ลูก คือ ไต้ฝุ่นหินหนามหน่อ กับ พายุไต้ฝุ่นหมุ่ยฟ้า อีกทั้งอาทิตย์นี้  ญี่ปุ่นจะเผชิญพายุไต้ฝุ่นอีกลูกหนึ่ง คือ พายุไต้ฝุ่นนันมาดอล ซึ่งการที่ญี่ปุ่นโดนพายุกระหน่ำมากมาย เป็นผลจากส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก

 

สรุปสถานการณ์พายุไต้ฝุ่น "นันมาดอล"

  • วันที่ 17 กันยายน 2565 กรมอุตุนิยมวิทยาของญี่ปุ่น ออกมาเตือนประชาชนให้ระวังพายุไต้ฝุ่นลูกใหม่ที่มีกำลังแรง และคาดว่า จะขึ้นฝั่งที่เกาะคิวชู ทางตอนใต้ของประเทศในวันที่ 18 กันยายน

  • กรมอุตุนิยมวิทยา อาจออกคำเตือนพิเศษสำหรับจังหวัดคาโงชิมะ และพื้นที่ทางตอนเหนือของเกาะคิวชู ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ทางใต้สุดของญี่ปุ่น ถึงความเป็นไปได้ที่อาจเกิดคลื่นสูง และฝนตกหนักในภูมิภาค

  • ไต้ฝุ่นนันมาดอล ซึ่งเป็นพายุลูกที่ 14 ของปีนี้ ได้เคลื่อนตัวเข้าใกล้เกาะมินามิไดโต ทางใต้ของญี่ปุ่น และมุ่งหน้าไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ด้วยความเร็ว 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเมื่อบ่ายวันเสาร์ (17 กันยายน) ตามเวลาท้องถิ่น และคาดว่า พายุไต้ฝุ่นนันมาดอลจะเลี้ยวโค้งมาทางฝั่งตะวันออก และเคลื่อนตัวผ่านกรุงโตเกียวในวันอังคาร (20 กันยายน) ก่อนเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลในวันพุธ (21 กันยายน)
  • การให้บริการรถไฟหัวกระสุน, เรือโดยสารข้ามฝาก และเที่ยวบินโดยสารหลายร้อยเที่ยว ถูกยกเลิก ร้านค้าจำนวนมากและธุรกิจอื่น ๆ ปิดให้บริการ และกระสอบทรายถูกนำมาวางเรียงกันป้องกันทรัพย์สินเสียหาย

  • สำนักงานด้านสภาพอากาศของญี่ปุ่น ออกคำสั่งเตือนภัยฉุกเฉินยังมีผลบังคับในพื้นที่จังหวัดมิยาซากิ ที่มีความเสี่ยงเผชิญหายนะภัยครั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในรอบ 2-3 ทศวรรษ หลังไต้ฝุ่น “นันมาดอล” ทำให้เกิดฝนตกหนักและลมพัดกระโชกแรงในหลายพื้นที่ของภูมิภาคทางตอนใต้ของญี่ปุ่น 

  • วันที่ 19 กันยายน 2565 ยังไม่มีรายงานความเสียหาย แต่สถานีข่าว NHK ของญี่ปุ่น รายงานว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บเกี่ยวเนื่องจากไต้ฝุ่น นันมาดอลแล้วอย่างน้อย 33 คน แต่ไม่มีรายละเอียดอื่น ๆ

  • ในวันเดียวกันทางการญี่ปุ่น คาดว่า ไต้ฝุ่นนันมาดอล จะเปลี่ยนทิศทางพัดผ่านเกาะคิวชู มุ่งหน้าไปด้านตะวันออกจากนั้นคาดว่าจะพัดเข้าใกล้เกาะฮอนชู อีกหนึ่งเกาะสำคัญ ในอีก 2-3 วันข้างหน้านี้ 

  • วันที่ 20 กันยายน 2565 รัฐบาลญี่ปุ่นแจ้งเตือนประชาชน 9 ล้านคนให้อพยพออกจากบ้านเรือน ขณะที่ซูเปอร์ไต้ฝุ่น “นันมาดอล” หนึ่งในไต้ฝุ่นที่หนักหน่วงรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้น พัดเข้าถล่ม ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 2 ราย และบาดเจ็บเกือบ 90 ราย 

  • ประชาชนหลายหมื่นคนใช้เวลาตลอดทั้งคืนวันอาทิตย์ พักอยู่ในที่พักพิงชั่วคราว และบ้านเรือนเกือบ 350,000 หลัง ไม่มีไฟฟ้าใช้ การขนส่งและธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างหนัก และญี่ปุ่น ก็เตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมรุนแรงและดินถล่ม หลังไต้ฝุ่นนันมาดอล ซึ่งเคลื่อนตัวด้วยความเร็วลมที่จุดศูนย์กลาง 234 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะทำให้เกิดฝนตกหนักถึง 400 มิลลิเมตรภายใน 24 ชั่วโมง

  • ไต้ฝุ่น “นันมาดอล” พัดขึ้นฝั่งใกล้เมืองคาโกชิมะ ใต้สุดของเกาะคิวชูเมื่อเช้าวันอาทิตย์ ทำให้แม่น้ำสายหนึ่งในเกาะคิวชู เอ่อล้นฝั่ง สถานีโทรทัศน์ NHK รายงานว่า มีชายคนหนึ่งเสียชีวิต เมื่อรถยนต์ของเขาจมน้ำ และอีกคนเสียชีวิตหลังดินถล่มใส่ ยังมีอีกคนสูญหาย และบาดเจ็บ 87 ราย

  • ไต้ฝุ่นนันมาดอล คาดว่าจะเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกผ่านเกาะฮอนชู ก่อนออกสู่ทะเลในวันพุธ (21 กันยายน) ส่วนกรุงโตเกียว เมืองหลวงญี่ปุ่น จะเผชิญกับฝนตกหนัก โดยรถไฟใต้ดินสายโตไซ ระงับการให้บริการ เพราะน้ำท่วม 

  • ทางการญี่ปุ่นประกาศคำเตือนระดับ 5 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในคำเตือนภัยพิบัติของญี่ปุ่น ส่งผลกระทบต่อประชาชนกว่า 500,000 คนในเมืองคาโกชิมะ, มิยาซากิ, โออิตะ, คุมาโมโตะ และยะมะงุชิ

  • นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ของญี่ปุ่น เลื่อนการเยือนนิวยอร์ก ซึ่งเขามีกำหนดขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ที่สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ไปเป็นวันอังคาร (20 กันยายน) เพื่อตรวจสอบผลกระทบจากไต้ฝุ่น

  • บรรดานักวิทยาศาสตร์ คาดการณ์ว่า ฤดูเฮอริเคนจะรุนแรงมากในปีนี้ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เรียกว่า “ลานิญา” และอุณหภูมิเหนือพื้นผิวทะเลที่อุ่นขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกและแคริบเบียน เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อาจส่งผลกระทบด้วย

 

 

ข้อมูล TNN World

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

 

 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง