รีเซต

โรคซึมเศร้า แบบทดสอบประเมินออนไลน์ 9 ข้อ คุณเข้าข่ายหรือไม่?

โรคซึมเศร้า แบบทดสอบประเมินออนไลน์ 9 ข้อ คุณเข้าข่ายหรือไม่?
TNN ช่อง16
25 มิถุนายน 2565 ( 14:18 )
360

หากคุณไม่แน่ใจว่าอาการที่เกิดขึ้นกับตัวเองนั้น ใช่อาการของคนป่วยเป็น "โรคซึมเศร้า" หรือไม่ วันนี้ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ได้มีแบบประเมินโรคซึมเศร้าออนไลน์ (9Q) : คุณสงสัยหรือกังวลมว่าตนเองเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่

เช็กอาการโรคซึมเศร้าเบื้องต้น 

ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารวมทั้งวันนี้ คุณมีอาการเหล่านี้บ่อยแค่ไหน?

- รู้สึกแย่ เศร้า หงุดหงิด หรือสิ้นหวัง

- รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง

- ไม่สนใจหรือไม่มีความสุขเวลาทำอะไร (ถึงแม้จะเป็นสิ่งที่เคยชอบ)

- รู้สึกแย่กับตัวเอง

- นอนไม่หลับหรือหลับมากไป

- จดจ่อกับอะไรได้ยาก เช่น อ่านหนังสือ

- เบื่ออาหาร หรือ กนมากกว่าปกติ

- พูดหรือทำอะไรช้า หรือกระวนกระวายมาก

ทดสอบ โรคซึมเศร้า ผ่านออนไลน์ง่ายๆ 9 ข้อ

หากคุณไม่แน่ใจ หรือ คิดว่ามีอาการนี้บ่อยๆ ลองมาทำ แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q) แบบออนไลน์กันได้

คลิกทำแบบทดสอบ โรคซึมเศร้า ได้ที่ลิงก์นี้ https://new.camri.go.th/

สาเหตุของโรคซึมเศร้า 

มักไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง แต่มักเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ทั้งปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม โดยพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง ในครอบครัวที่มีประวัติโรคซึมเศร้าหรือโรคจิตเวชมักมีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป เหตุการณ์/ความเครียดในชีวิต การเผชิญ ความรุนแรงทางจิตใจมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะซึมเศร้าได้มากกว่าคนทั่วไป

ปัจจัยเสี่ยงของโรคซึมเศร้า

- พันธุกรรม จากการศึกษาพบว่าเด็กที่พ่อแม่มีภาวะซึมเศร้า จะมีอัตราการเกิดภาวะซึมเศร้าได้สูงกว่าเด็กทั่วไป

- สารเคมีในสมอง จากการศึกษาพบว่าผู้ป่ วยภาวะซึมเศร้าจะมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมองที่ผิดปกติ ท าให้ส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ ร่างกาย และจิตใจ ซึ่งในปัจจุบันยาที่ใช้รักษาภาวะซึมเศร้าจะมีหน้าที่โดยตรงในการปรับสารเคมีเหล่านี้ให้อยู่ในภาวะสมดุล

- ปัจจัยแวดล้อมภายนอก หรือ ปัญหาทางจิตสังคม เช่น ปัญหาการเลี้ยงดู ความรุนแรงในครอบครัว การเลี้ยงดูลูกเชิงลบ ใช้คำตำหนิต่อว่าหรือการใช้อารมณ์ในการดูแลบุตร เกิดเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ เช่น การสูญเสียบุคคลสำคัญ หรือ การหย่าร้างของพ่อแม่ การถูกทารุณกรรมหรือการถูกทอดทิ้ง การถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียนหรือถูกกีดกันออกจากสังคม เป็นต้น

- มุมมองต่อตนเอง และลักษณะการแก้ไขปัญหา พบว่าเด็กที่มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ และเด็กที่มีความวิตกกังวลสูง จะมีอัตราการเกิดภาวะซึมเศร้าได้สูงกว่าเด็กทั่วไป ลักษณะการแก้ไขปัญหา โดยใช้วิธีหนีปัญหา โทษตัวเองซ้ำๆ และมองโลกในแง่ร้ายก็มีแนวโน้มทำให้มีโอกาสเป็นภาวะซึมเศร้าได้สูงขึ้น

- ปัจจัยโรคทางกายอื่นๆ โรคทางกายหรือยาบางชนิด ส่งผลต่อฮอร์โมน และสารเคมีในสมองทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ นอกจากนี้เด็กที่มีภาวะโรคเรื้อรัง ไม่สามารถใช้ชีวิตตามวัยได้ตามปกติก็มีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าได้ด้วย.


ข้อมูลจาก สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

ภาพจาก แฟ้มภาพ AFP

ข่าวที่เกี่ยวข้อง