รีเซต

ชุมชนบ้านแปดอุ้ม ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ชุมชน และการค้าไม้อย่างยั่งยืน

ชุมชนบ้านแปดอุ้ม ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ชุมชน และการค้าไม้อย่างยั่งยืน
TNN ช่อง16
8 มิถุนายน 2566 ( 11:33 )
66

1 มิถุนายน 2566, อุบลราชธานี, ประเทศไทย: บ้านแปดอุ้ม ชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าของประเทศไทย กำลังก้าวสู่การเปลี่ยนแปลง จากพื้นที่ที่เต็มไปด้วยการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าและการค้าไม้ผิดกฎหมาย  ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวได้กลายมาเป็นพื้นที่ต้นแบบการอนุรักษ์ป่า ภายใต้ความร่วมมือระหว่างชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ 


แม้สถิติการนำเข้าไม้จากจีนจะลดลง แต่ความต้องการผลิตภัณฑ์จากไม้ยังเพิ่มขึ้นจาก 70% เป็น 90%


ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ป่าไม้ของประเทศไทยเป็นหนึ่งในเป้าหมายของอาชญากรรมป่าไม้  เนื่องจากประเทศไทยมีป่าเบญจพรรณที่อุดมด้วยไม้มีค่าที่เป็นที่ต้องการของตลาด องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) รายงานว่า การค้าไม้ไปยังประเทศจีนมีบทบาทสำคัญต่อการลักลอบตัดไม้ในภูมิภาคนี้ แม้สถิติดังกล่าวจะมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องจากการปราบปรามการลักลอบตัดไม่อย่างเข้มงวด  และความจริงที่ว่าพื้นที่ป่าลดลงเหลือเพียง 1 ใน 3 ของพื้นที่เดิม แต่ความต้องการไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 70 เป็นร้อยละ 90 จึงเป็นกดดันต่อการอนุรักษ์ป่าไม้ในภูมิภาคนี้อย่างมาก



เพื่อแก้ไขปัญหานี้ UN-REDD ได้ร่วมมือกับกรมป่าไม้และหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ เพื่อต่อต้านกับการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าและสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อการค้าไม้ที่ยั่งยืน โดยเริ่มต้นที่บ้านแปดอุ้ม ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเป็นโครงการต้นแบบที่ภาครัฐและชุมชนสามารถร่วมมือกันในการปกป้องและบริหารจัดการป่าโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อการค้าไม้อย่างยั่งยืน



แคทรีนา บอร์โรมิโอ เจ้าหน้าที่โครงการและการสื่อสาร โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) เน้นย้ำว่า บ้านแปดอุ้ม เป็นต้นแบบที่แสดงให้เห็นถึงพลังและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างชุมชนท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐในการปกป้องพื้นที่ป่าจากการถูกทำลาย “โมเดลบ้านแปดอุ้มเรียกร้องให้สมาชิกในชุมชนท้องถิ่นทำหน้าที่เป็นอาสาสมัคร เฝ้าระวังสภาพแวดล้อมในป่าอย่างใกล้ชิด โดยร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ” บอร์โรมิโอ อธิบาย หากพบพฤติกรรมต้องสงสัยหรือการลักลอบตัดไม้ชาวบ้านสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ได้ทันทีผ่านช่องทางสื่อสารต่างๆ เช่น แอปพลิเคชันพิทักษ์ไพร


การเสริมสร้างความเข้าใจของสมาชิกในชุมชนเกี่ยวกับความสำคัญของป่าไม้เป็นสิ่งสำคัญ การมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแข็งขันในการตรวจสอบพื้นที่บ้านของพวกเขาทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น และยังส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในการอนุรักษ์ป่า





 บ้านแปดอุ้มเป็นต้นแบบการจัดการป่าอย่างยั่งยืน ที่ชุมชนทำงานร่วมกับภาครัฐในการปกป้องและจัดการพื้นที่ป่าโดยรอบ


บ้านแปดอุ้มเป็นหนึ่งในพื้นที่ต้นแบบ เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจที่ชุมชนทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐ ในการอนุรักษ์พื้นที่ป่าจากผู้ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า โดยอาสาสมัครชุมชนจะทำหน้าที่เป็นจิตอาสาในการสอดส่องดูแลป่าไม้ที่อยู่ในเขตพื้นที่ของชุมชน โดยดำเนินการร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หากพบเห็นพฤติกรรมต้องสงสัย หรือผู้ลักลอบตัดไม้ก็สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ผ่านช่องทางการสื่อสารและแอปพลิเคชัน พิทักษ์ไพร ได้ทันที 


การสร้างความเข้าใจให้กับชุมชน ให้ชุมชนเห็นคุณค่าและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ เป็นหนึ่งในการสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนและหน่วยงานของรัฐในการปกป้องพิทักษ์ป่า โดยให้ชุมชนพื้นที่เป็นส่วนหนึ่งของกลไกในการช่วยสอดส่องดูแลพื้นที่บ้านในชุมชน และประสานการทำงานกับเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเป็นการประสานความร่วมมือที่ให้ผลในการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างเป็นรูปธรรม

ขณะเดียวกัน อ้อมจิตร เสนา นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ส่วนส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้ กล่าวว่า กรมป่าไม้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยในการตรวจจับผู้กระทำผิด เช่น แอปพลิเคชัน พิทักษ์ไพร ระบบการลงทะเบียนต้นไม้ e-Tree รวมถึงระบบกล้อง NCAPS  ที่ในการตรวจจับผู้ต้องสงสัย รวมถึงใช้โดรนในการบินตรวจสอบพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถตรวจจับและแก้ไขปัญหาการลักลอบตัดไม้ได้อย่างทันท่วงที “เทคโนโลยีเหล่านี้ถูกนำมาใช้ที่บ้านแอปดอุ้ม จ.อุบลราชธานี ซึ่งแสดออกงถึงประยุกต์ใช้เทคโนโลยีผสานการทำงานร่วมกับชุมชนและภาครัฐ” อ้อมจิตร กล่าว


 แอปพลิเคชัน พิทักษ์ไพร แพลตฟอร์ม e-Tree และ NCAPS เป็นเทคโนโลยีหลักในการป้องกันและบริหารจัดการป่า


แอปพลิเคชัน พิทักษ์ไพร เป็นแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน ที่สามารถส่งการแจ้งเตือนเกี่ยวกับพฤติกรรมการบุกรุกในพื้นที่ต้องสงสัยว่าอาจจะเกิดการกระทำผิดกฎหมาย รวมถึงการแจ้งเตือนและติดตามสถานการณ์ไฟป่าได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์มดิจิทัล e-TREE ที่มุ่งยกระดับการติดตามและตรวจสอบการบริหารจัดการป่าไม้ ช่วยในการขึ้นทะเบียนต้นไม้และตรวจสอบย้อนกลับต้นไม้ ซึ่งพิสูจนแล้วว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการส่งเสริมการค้าไม้อย่างยั่งยืน




ขณะที่ NCAPs เป็นระบบการทำงานระยะไกล ที่ประกอบด้วยกล้องและเซ็นเซอร์เพื่อเฝ้าระวังการลักลอบตัดไม้ในพื้นที่เสี่ยง ทำงานร่วมกับหน่วยลาดตระเวนภาคพื้นดินซึ่งสามารถบันทึกและแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ เมื่อตรวจพบการเคลื่อนไหวที่น่าสงสัยผ่านกล้องได้ จึงช่วยลดความเสี่ยงของการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่อาสาสมัครในพื้นที่ และผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ลักลอบตัดไม้ นอกจากนี้กล้องยังสามารถบันทึกภาพเพื่อใช้เป็นหลักฐานดำเนินคดีในชั้นศาลได้อีกด้วย ความสามารถนี้ช่วยให้ชุมชนสามารถติดตามภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในป่าของชุมชนโดยรอบได้ดีขึ้น รวมทั้งลดความเสี่ยงในการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า


บ้านแปดอุ้ม จึงเป็นพื้นที่ต้นแบบการอนุรักษ์ป่า ที่ชุมชนทำงานประสานกับหน่วยงานรัฐ และนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการบริหารจัดการและดูแลพื้นที่ป่าอย่างมีประสิทธิภาพ เรื่องราวความสำเร็จนี้เป็นกรณีศึกษาสำหรับชุมชนอื่นๆ เพื่อช่วยให้ชุมชนเหล่านั้นสามารถปรับตัวและใช้รูปแบบการคุ้มครองป่าโดยชุมชนที่คล้ายคลึงกับกรณีของบ้านแปดอุ้มได้  

ท้ายที่สุดการอนุรักษ์ป่าไม้เป็นหนึ่งในกิจกรรมของ UN REDD เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการตัดไม้ทำลายป่า ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำให้ป่าเสื่อมโทรม ด้วยความพยายามร่วมกัน UN-REDD ให้อำนาจแก่ชุมชนในการทำงานร่วมกับภาครัฐ เพื่อส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนซึ่งจะอนุรักษ์ป่าไม้ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และปูทางสู่อนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น






UN-REDD เป็น โครงการความร่วมมือแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการตัดไม้ทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าในประเทศกำลังพัฒนา โครงการนี้เป็นโครงการหลัก ของ UN knowledge and advisory platform เกี่ยวกับการแก้ปัญหาป่าไม้เพื่อรับมือกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากความสามารถและความเชี่ยวชาญทางเทคนิคขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และ UNEP ทำให้ UN-REDD เป็นผู้ให้บริการระหว่างประเทศรายใหญ่ที่สุดของความช่วยเหลือ REDD+ โดยช่วยเหลือประเทศพันธมิตร 65 ประเทศ ในการปกป้องผืนป่า เพื่อบรรลุเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพอากาศ



ภาพ UN-REDD 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง