รีเซต

เปิดสถิติ "อากาศสุดขั้ว" ไทยเผชิญหลายวิกฤตหลังโลกร้อนขึ้น

เปิดสถิติ "อากาศสุดขั้ว" ไทยเผชิญหลายวิกฤตหลังโลกร้อนขึ้น
TNN ช่อง16
2 เมษายน 2567 ( 14:16 )
85

- สภาพอากาศสุดขั้วในประเทศไทย


สภาพอากาศสุดขั้ว คือ สภาวะอากาศที่รุนแรงผิดปกติจนอาจก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรง เริ่มต้นตั้งแต่ช่วงที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น ราว 20 ปีที่ผ่านมา


รูปแบบ 

1. คลื่นความร้อน 

2. ฝนตกหนัก 

3. พายุทอร์นาโด 

4. พายุหมุนเขตร้อน 

5. น้ำท่วม 

6. ไฟป่า

7. ภัยแล้ง

มีลักษณะรุนแรงขึ้น หรือ ไม่เป็นไปตามฤดูกาล



Global Climate Risk Index 2021 จัดอันดับไทยอยู่ที่ 9 ประเทศที่มีความเสี่ยงต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 



- สถิติเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว


เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วในประเทศไทยไทย สถิติระหว่างปี พ.ศ. 2513-2565 ข้อมูลจาก กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์จาก ข้อมูลตรวจวัด 65 สถานีอุตุนิยมวิทยา


1. สภาพอากาศแบบผสม (ร้อนมากกว่า 35°C และ ฝนตกหนักมากกว่า 35.1 มม.)

- ภาคเหนือ : 2 เหตุการณ์/ปี 

- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : 2 เหตุการณ์/ปี

- ภาคกลาง : 2 เหตุการณ์/ปี

- ภาคตะวันออก : 2 เหตุการณ์/ปี

- ภาคใต้ : 1 เหตุการณ์/ปี

ภาพรวม 0.26 เหตุการณ์/ทศวรรษ (เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ) ส่วนใหญ่เกิดขึ้น ช่วงเดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม 

อากาศร้อน (อุณหภูมิสูงสุดมากกว่า 35°C) 

ค่าเฉลี่ยจำนวนวันที่สภาพอากาศร้อน

- ภาคเหนือ : 89 วัน/ปี

- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : 70 วัน/ปี

- ภาคกลาง : 97 วัน/ปี

- ภาคตะวันออก : 48 วัน/ปี

- ภาคใต้ : 23 วัน/ปี

ภาพรวม 7 วัน/ทศวรรษ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 



ปัญหาทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากก๊าซเรือนกระจก ที่มีคุณสมบัติดูดซับคลื่นความร้อน และห่อหุ้มชั้นบรรยากาศโลกเอาไว้ ทำให้อุณหภูมิของโลกค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้น เป็นปัญหาใหญ่ที่รุนแรงขึ้นทั้งในบ้านเราและทั่วโลก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง