ไทยพร้อมแค่ไหน ก้าวสู่สังคมสูงวัย ปี’ 64
โครงสร้างประชากรไทยตั้งแต่ปี 2503-2573
ในช่วง 70 ปีที่ผ่านมาโครงสร้างประชากรของไทย ปรับเปลี่ยนจากอย่างมาก โดยมีจำนวนผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งในปัจจุบันคนไทยแต่งงานช้า มีลูกยาก ทำให้จำนวนผู้สูงอายุในไทยเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
ตัวเลขประชากรไทยในปี 2563 ตามที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) รายงานครม.เมื่อต้นปี 2563 พบว่า ไทยมีจำนวนประชากร 66.5 ล้านคน คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 67.2 ล้านคน ในปี 2571 หลังจากนั้นจำนวนประชากรจะลดลงในอัตรา -0.2% ต่อปี ซึ่งในปี 2583 คาดประมาณว่าจะมีประชากรประมาณ 65.4 ล้านคน
ส่วนประชากรวัยเด็ก (แรกเกิด - 14 ปี) มีแนวโน้มลดลง โดยในปี 2563 มีจำนวนประชากรเด็ก 11.2 ล้านคน ( 16.9%) ลดลงเป็น 8.4 ล้านคน ( 12.8%) ในปี 2583 ประชากรผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ในปี 2563 มีจำนวนประชากรผู้สูงอายุ 12 ล้านคน หรือ 18% เพิ่มเป็น 20.42 ล้านคน หรือ 31.28% ในปี 2583 โดยในปี 2562 เป็นปีแรกที่จำนวนประชากรวัยเด็กเท่ากับประชากรผู้สูงอายุที่ 11.3 ล้านคน หลังจากนั้นจำนวนประชากรวัยเด็กน้อยกว่าผู้สูงอายุมาโดยตลอด
จำนวนประชากรสูงวัย
จากกราฟฟิกนี้ ทำให้เห็นว่าในปี 2564 ไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แบบ โดยจะมีประชากรสูงวัยทั้งสิ้น 13.8 ล้านคน หรือคิดเป็น 20% ของประชากรทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากในปี 2563 มีจำนวนประชากรผู้สูงอายุ 12 ล้านคน หรือ 18%
ในอีก 10 ปีข้างหนี้จำนวนผู้สูงอายุ เพิ่มเป็น 20.42 ล้านคน หรือ 31.28% ในปี 2583
ตรงนี้เป็นประเด็นที่ท้าทายรัฐบาลไทย ในการวางแผนรองรับ โดยกำหนด “ผู้สูงอายุ” เป็นวาระแห่งชาติ มีแนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ ครอบคลุมทั้งกลุ่มก่อนวัยสูงอายุ (25-59 ปี) และผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) โดย มีแผนส่งเสริมเน้นเรื่องการออม วิธีการดูแลผู้สูงอายุ และการปรับสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับสภาพผู้สูงอายุ แผนดูแลผู้สูงอายุระยะยาว เสริมทักษะใหม่แก่แรงงานผู้สูงอายุ การออกแบบการทำงานให้ยืดหยุ่นและสร้างแรงจูงใจให้นายจ้างที่จ้างผู้สูงอายุมากขึ้น รวมถึงสร้างเครื่องมือเข้าไปดูแลสังคมผู้สูงวัย สร้างระบบรองรับการออมระยะยาว เพื่อให้สามารถเข้าไปช่วยสร้างหลักประกันให้คนไทยมีเงินใช้หลังเกษียณ
เกิดคำถาม..? ไทยพร้อมหรือยังที่จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ และผู้สูงอายุจะดำรงชีวิตได้อย่างไร หากไม่ได้ทำงานและไม่มีรายได้
ภาพรวมระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุ
จากกราฟฟิกนี้เห็นว่า ไทยมีระบบการออมเพื่อการเกษียณ ประมาณ 10 ประเภท ในจำนวนนี้มีแค่ 1 ประเภทยังไม่มีผลบังคับใช้ คือ กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ(กบช.) โดยอยู่ผลักดันของกระทรวงการคลัง ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน หลังจากนั้นจะเสน ครม.เพื่อเสนอเข้าสภาฯ ผลักดันเป็นกฎหมายต่อไป
ทั้งนี้ระบบบำนาญของไทยทั้ง 10 ประเภทมีการจัดกลุ่ม แบ่งเป็น “สวัสดิการชราภาพ” ซึ่ง “รัฐให้ฝ่ายเดียว” ประกอบด้วย บำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเดือนละ 600-1,000 บาท รวม 2 ส่วนนี้มีผู้เกี่ยวข้องประมาณ 11 ล้านคน เป็นเงินงบประมาณรัฐประมาณ 2.5 แสนล้านบาทต่อปี
นอกจากนี้รัฐมีการดำเนินการตามแนวทาง ธนาคารโลก (World Bank) สร้างระบบการออมเพื่อเกษียณอายุ ระบบบำเหน็จบำนาญ เพื่อทำให้เกิดความมั่นคง ที่เรียกว่า “สามเสาหลักของระบบเงินออมเพื่อวัยเกษียณ”
เสาหลักที่ 1 : เป็นระบบบำนาญภาคบังคับที่รัฐบาลของแต่ละประเทศจัดให้แก่ประชาชน เรียกว่า Pay-as-you-go (PAYG) ซึ่งจะกำหนดผลประโยชน์ที่จะจ่ายให้แก่สมาชิกแน่นอน (Defined Benefit) จนกระทั่งเสียชีวิต เป็นการสร้างหลักประกันเพื่อการชราภาพขั้นพื้นฐาน กำหนดผลประโยชน์ขั้นต่ำของรายได้ให้เพียงพอแก่การยังชีพ ไม่ต่ำกว่าเส้นความยากจน (Poverty Line) ประกอบด้วย กองทุนประกันสังคมมาตรา 33,39 มีผู้อยู่ในระประกันสังคม 12 ล้านคน มีทรัพย์สินกองทุนประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท
เสาหลักที่ 2 : เป็นระบบเงินออมภาคบังคับ (Mandatory System) ที่รัฐบาลบังคับให้ประชาชนออมเงินในขณะทำงาน อาจบริหารโดยเอกชนหรือหน่วยงานอิสระของรัฐ มีเงินกองทุนและมีการส่งเงินสะสมของสมาชิก และมีการสมทบจากนายจ้างเข้ากองทุนในบัญชีของสมาชิกแต่ละคน (Individual Account) มีวัตถุประสงค์ยกระดับรายได้ของผู้เกษียณให้สูงกว่าเส้นความยากจน เพื่อให้มีรายได้ที่ดีขึ้นตามมาตรฐานการดำรงชีวิตอย่างปกติ ประกอบด้วย กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน รวมกว่า 1 ล้านคน สินทรัพย์รวมทั้งหมด 8 แสนล้านบาท ซึ่งหากกบช.มีผลบังคับใช้ ทำให้มีประชาชนเข้าร่วมเพิ่มอีก 11 ล้านคน รวมเป็น 12 ล้านคน
เสาหลักที่ 3 : เป็นระบบการออมภาคสมัครใจ (Voluntary System) และรัฐบาลส่งเสริม ซึ่งมีการบริหารโดยภาคเอกชน มีเงินกองทุนและมีการส่งเงินสะสมของสมาชิกในจำนวนที่แน่นอน (Defined Contribution) ในบางกรณีอาจมีเงินสมทบจากนายจ้างเข้ากองทุนในบัญชีของแต่ละคน โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ออมมีทางเลือกในการออมเงินไว้ใช้ในยามเกษียณมากขึ้น มีความเพียงพอของเงินออมในการดำรงชีวิตในอนาคต ในการเข้าถึงความสะดวกสบายและการดูแลรักษาพยาบาลที่สูงกว่ามาตรฐาน เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(PDV) ประกันสังคม มาตรา 40 กองทุนการออมแห่งชาติ(กอช.) ผลิตภัณฑ์อื่น เช่น RMF ประกันสังคม มีผู้เกี่ยวข้องรวมกว่า 10 ล้านคน วงเงินรวมกว่า 1.3 ล้านล้านบาท
ตรงนี้เป็นแนวทางสนับสนุนให้คนไทยออมเงิน นอกจากเพื่อความมั่นคงของชีวิตแล้ว ยังจะช่วยลดงบประมาณในการดูแลผู้สูงอายุ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งข้อมูลของกรมกิจการผู้สูงอายุ พบว่าการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ในช่วงปี พ.ศ.2555-2562 ใช้งบประมาณกว่า 5 แสนล้านบาท ล่าสุดต้องรัฐจัดสรรงบกว่า 7 หมื่นล้านบาท เพื่อจ่ายให้ผู้สูงอายุที่ขึ้นทะเบียนไว้กว่า 9 ล้านคน
ผลสำเร็จการออมเพื่อการเกษียณ
ติดตามได้ใน รายการ "เศรษฐกิจ Insight" วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน 2563
https://www.youtube.com/watch?v=tUytN_OHV5o&t=351s
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE