รีเซต

ติดโควิดซ้ำ อันตรายไหม?

ติดโควิดซ้ำ อันตรายไหม?
TeaC
9 เมษายน 2565 ( 16:01 )
511
ติดโควิดซ้ำ อันตรายไหม?

ข่าววันนี้ ทุกวันนี้สถานการณ์โควิดนับวันยังคงรุนแรงต่อเนื่อง แม้ว่าจะดูแลตัวเองดีแค่ไหน ทุกคนต่างมีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 ได้ แล้วถ้าได้รับการรักษาจนหาย และกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติแล้วถ้าติดโควิดซ้ำ อันตรายไหม? วันนี้มาหาคำตอบไปพร้อมกัน

 

ติดโควิดซ้ำ อันตรายไหม?

 

ทั้งนี้ เพจ Social Marketing Thaihealth by สสส. โพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับการติดโควิดซ้ำได้อย่างน่าสนใจว่า การติดเชื้อโควิดซ้ำ หมายถึง ผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อ แต่ต่อมาติดเชื้อซ้ำ ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง โอมิครอนพบการติดเชื้อซ้ำสูงกว่าเดลต้า 3-6 เท่า

 

สาเหตุติดโควิดซ้ำ

  1. มักเกิดในช่วงที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ในคนที่ไม่ได้รับวัคซีน ได้รับไม่ครบ รับวัคซีนเข็มสุดท้ายนานกว่า 6 เดือน หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

  2. เชื้อที่มีการระบาดในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงจากเชื้อเดิม

  3. ผู้ป่วยลดมาตรการป้องกันตัวและมีพฤติกรรมเสี่ยง

อักทั้ง ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เผยแพร่คลิปอธิบายเกี่ยวกับการติดเชื้อโควิด-19 ซ้ำ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 ว่า ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 แล้วสามารถติดเชื้อซ้ำได้อีกในระยุเวลา 1 เดือน รวมทั้งการติดเชื้อซ้ำนั้น พบได้เช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ ในกรณีต่างสายพันธุ์ เช่น หายป่วยจากการติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้า จะติดเชื้อซ้ำอีกครั้งเป็นสายพันธุ์โอมิครอน เนื่องจากเชื้อ COVID-19 มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์มาตลอด ติดง่ายขึ้น โอกาสที่ผู้ป่วยติดเชื้อโควิดซ้ำจึงมากขึ้นได้อีกเช่นกัน 

 

การติดเชื้อโควิด-19 จะทำให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นระดับหนึ่ง และเมื่อภูมิต้านทานลดลงก็จะติดเชื้อซ้ำ การติดเชื้อซ้ำหรือครั้งที่ 2 อาการจะลดลงกว่าการติดเชื้อครั้งแรก การติดเชื้อครั้งที่ 3 และ 4 ต่อไป อีกอาการจะยิ่งลดลง

 

กรมควบคุมโรค ยังเน้นย้ำว่า การฉีดวัคซีนเพียง 2 เข็ม ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อของสายพันธุ์โอมิครอนได้ แต่สามารถป้องกันการเสียชีวิตได้สูง

 

 

 

รู้ได้อย่างไรว่าติดเชื้อโควิดซ้ำ

การติดเชื้อโควิดซ้ำ เกิดขึ้นได้ ไม่ต้องตกใจ แต่ก่อนอื่นเพื่อดูกันให้แน่ใจว่า เป็นการติดเชื้อซ้ำ โดยทั่วไป การติดเชื้อซ้ำมักเกิดหลังจากการติดเชื้อครั้งแรกเกิน 3 เดือน

 

แต่บางกรณี มีผู้ป่วยบางรายมีอาการป่วยนานกว่าคนทั่วไป และเมื่อตรวจเชื้ออาจพบเชื้อหลงเหลือ ทำให้ผลตรวจเป็นบวกนานหลายสัปดาห์ ซึ่งทำให้เข้าใจผิดว่า เป็นการติดเชื้อซ้ำ

 

อย่างไรก็ตาม การติดโควิดซ้ำแม้ว่าจะลดความรุนแรงมากกว่าที่ผ่านมา แต่ผลกระทบระยะยาวต่อร่างกาย อย่างภาวะลองโควิด เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน ดังนั้น การรักษาระดับมาตราการการป้องกันโควิดอย่างเคร่งครัด ใส่หน้ากากอนามัยให้ถูกต้อง ทุกครั้ง ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างทางสังคม และเลี่ยงไม่ไปพื้นที่เสี่ยง ที่แออัด ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานที่ต้องทำสม่ำเสมอ

 

 

ข้อมูล : มติชน

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง