รีเซต

พบแสงประหลาดที่ภาคเหนือ แท้จริงเป็นแสงดาวเทียม Starlink

พบแสงประหลาดที่ภาคเหนือ แท้จริงเป็นแสงดาวเทียม Starlink
TNN ช่อง16
2 มิถุนายน 2566 ( 14:18 )
163
พบแสงประหลาดที่ภาคเหนือ แท้จริงเป็นแสงดาวเทียม Starlink

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2023 เวลาประมาณ 19.55 น. มีรายงานผู้พบเห็นแสงประหลาดสีเขียวเคลื่อนที่ผ่านท้องฟ้าบริเวณจังหวัดทางภาคเหนือ จากการตรวจสอบข้อมูลโดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) พบว่าช่วงเวลาดังกล่าว มีดาวเทียมสตาร์ลิงก์ กลุ่ม 6-3 (Starlink G6-3) จำนวน 22 ดวง เคลื่อนที่ผ่านท้องฟ้าทางภาคเหนือของประเทศไทย 


ขณะดาวเทียมเคลื่อนผ่านจะมองเห็นเป็นจุดแสงเหมือนดาวแต่เคลื่อนที่ได้เร็วกว่า และปรากฏหลายดวงพร้อมกัน พร้อมกับเคลื่อนที่ต่อกันยาวเป็นขบวน จากท้องฟ้าด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปยังทิศตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากภาคเหนือของประเทศไทย เหตุการณ์ลักษณะคล้ายกันนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วโลกเมื่อมีการเคลื่อนที่ผ่านของดาวเทียม

ดาวเทียมสตาร์ลิงก์ กลุ่ม 6-3 (Starlink G6-3) 

โดยดาวเทียมสตาร์ลิงก์ กลุ่ม 6-3 เป็น 1 ในมากกว่า 80 ฝูงดาวเทียมเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตของบริษัท สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) บริษัทเอกชนด้านเทคโนโลยีอวกาศจากประเทศสหรัฐอเมริกา ในกลุ่มนี้มีจำนวน 22 ดวง 


ในส่วนของดาวเทียมสตาร์ลิงก์ (Stalink) เป็นโครงข่ายดาวเทียมเชิงพาณิชย์ เพื่อให้บริการดาวเทียมต้นทุนต่ำแต่ประสิทธิภาพสูงและสามารถครอบคลุมได้เกือบทุกพื้นที่ทั่วโลก ส่งผลให้สเปซเอ็กซ์ต้องส่งดาวเทียมขึ้นไปบนวงโคจรต่ำ (LEO) เป็นจำนวนมาก เพื่อให้พวกมันทำงานสอดประสานกันเป็นโครงข่ายและสามารถครอบคลุมพื้นที่ได้มากที่สุด


ปัจจุบันมีรายงานว่าบริษัท สเปซเอ็กซ์ส่งดาวเทียมสตาร์ลิงก์ขึ้นสู่วงโคจรไปแล้ว 4,340 ดวง โดยสเปซเอ็กซ์ได้วางขายจานรับสัญญาณดาวเทียมสตาร์ลิงก์ขนาดเล็กที่สามารถประกอบและติดตั้งเองได้ เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตของดาวเทียมสตาร์ลิงก์ได้ ซึ่งสามารถใช้งานได้แล้วใน 32 ประเทศ


บริการอินเทอร์เน็ตสตาร์ลิงก์ (Starlink) 

สำหรับชุดจานรับสัญญาณดาวเทียมสามารถสั่งซื้อได้บนหน้าเว็บไซต์ของสตาร์ลิงก์โดยตรง มีราคาอยู่ที่ 599 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว ๆ 20,000 บาท ทั้งนี้ 


โดยมีค่าบริการต่อเดือนอยู่ที่ 110 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว ๆ 3,800 บาท นอกจากนี้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานแบบพกพาได้ โดยจะมีค่าบริการเพิ่มอีก 25 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน หรือราว ๆ 860 บาท


ข้อมูลจาก NARIT

ภาพจาก EarthSky

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง