รีเซต

กทม. เปิดข้อดีชำระหนี้ BTS - ชี้แจงมีผลการขึ้นค่าโดยสารหรือไม่?

กทม. เปิดข้อดีชำระหนี้ BTS - ชี้แจงมีผลการขึ้นค่าโดยสารหรือไม่?
TNN ช่อง16
7 เมษายน 2567 ( 13:56 )
26
1
กทม. เปิดข้อดีชำระหนี้ BTS - ชี้แจงมีผลการขึ้นค่าโดยสารหรือไม่?

วันนี้ ( 7 เม.ย. 67 )กรุงเทพมหานคร (กทม.) ชี้แจงกรณีการชำระหนี้ค่าติดตั้งระบบรถไฟฟ้า ส่วนต่อขยาย 2 จุด  ที่เกิดจากการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เมื่อปี พ.ศ. 2560 ในส่วนต่อขยายที่ 1 อ่อนนุช-แบริ่ง, สะพานตากสิน-บางหว้า และส่วนต่อขยายที่ 2 แบริ่ง-สมุทรปราการ, หมอชิต-คูคต 


ทั้งนี้ กรุงเทพมหานคร ระบุว่าการชำระหนี้จำนวน 2.3 หมื่นล้านดังกล่าว มีข้อดีต่อการพัฒนาการคมนาคมกรุงเทพฯ ดังต่อไปนี้ 


- กรุงเทพมหานครได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในระบบไฟฟ้าเครื่องกล (E&M) อย่างถูกต้อง ไม่เกิดปัญหาการโต้แย้งความเป็นเจ้าของกับเอกชน 


- ลดความเสี่ยงในการถูกฟ้องร้องและการคิดดอกเบี้ยผิดนัด เช่นเดียวกับค่าจ้างเดินรถ(O&M) 


- กรุงเทพมหานครจะมีอำนาจในการต่อรองมากขึ้นในการจัดการเดินรถเนื่องจากเป็นเจ้าของทรัพย์สิน  


- ลดภาระค่าดอกเบี้ยในการจัดหา ตามสัญญาจ้างติดตั้งระบบเดินรถ ซึ่งมีค่าดอกเบี้ยประมาณวันละ 3 ล้านบาท


การจ่ายหนี้มีผลต่อการปรับลดค่าโดยสารหรือไม่?


- การจ่ายหนี้ดังกล่าวเป็นค่าจ้างงานติดตั้งระบบเดินรถ “ไม่มีผลต่อค่าโดยสารในปัจจุบัน” เนื่องจากเป็นเงินที่ค้างชำระตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560


- เมื่อจ่ายหนี้ครบแล้ว กทม. จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและไม่ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ย ผิดนัดอีกในอนาคต หากต้องมีการทำสัมปทานใหม่ กทม. จะมีอำนาจในการเจรจาต่อรองอัตราค่าโดยสารกับผู้รับสัมปทานได้


กรุงเทพมหาครระบุอีกว่า การชำระหนี้ 2.3 หมื่นล้านบาท เป็นการปลดล็อกศักยภาพของโครงข่ายขนส่งสาธารณะ ทั้งยังช่วยให้ กทม. มีอำนาจต่อรองมากขึ้นในการจัดการเดินรถ และการพัฒนาโครงการอื่น ๆ เพื่อให้กรุงเทพฯ มุ่งสู่เมืองที่ระบบขนส่งมวลชนมีประสิทธิภาพ เพื่อความสะดวกสบายของชาวกรุงเทพฯ ทุกคน


ข้อมูลจาก: กรุงเทพมหานคร

ภาพจาก: : AFP 


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง