รีเซต

BANPU รับอานิสงส์BPP ขายไฟโซลาร์ญี่ปุ่น20MW

BANPU รับอานิสงส์BPP ขายไฟโซลาร์ญี่ปุ่น20MW
ทันหุ้น
20 พฤศจิกายน 2563 ( 08:15 )
123
BANPU รับอานิสงส์BPP ขายไฟโซลาร์ญี่ปุ่น20MW

ทันหุ้น –BANPU รับอานิสงส์ BPP ขายไฟโรงไฟฟ้ายามากาตะ ประเทศญี่ปุ่น กำลังการผลิต 20 เมกะวัตต์ ดันกำลังการผลิตในมือ17 โครงการ กำลังผลิตตามสัดส่วนที่ลงทุน 240 เมกะวัตต์ ซึ่งเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วตามสัดส่วนที่ลงทุน 82.64 เมกะวัตต์ เล็งลงทุนต่อเนื่องในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เป้ากำลังการผลิตแตะ 6,100 เมกะวัตต์ ในปี 2568

 

นางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU เปิดเผยว่า โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ยามากาตะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่ง บริษัท BRE Singapore Pte Ltd หรือ BRES บริษัทย่อยของ บริษัท บ้านปูเน็กซ์ จำกัด หรือ Banpu NEXT (BANPU และบริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP ถือหุ้นใน Banpu NEXT สัดส่วนที่เท่ากัน 50%) ภายใต้โครงสร้างการลงทุนแบบทีเค 100% ได้เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) แล้วเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563

 

สำหรับการลงทุนแบบทีเค คือการลงทุนโดยการเป็นหุ้นส่วนอบบญี่ปุ่นตามสัญญาระหว่างนักลงทุนและผู้ดำเนินกิจการโดยนักลงทุนจะลงทุนจำนวนหนึ่ง ให้แก่ผู้ดำเนินกิจการ (ในรูของเงินสดหรือทรัพย์สินที่มีมูลค่า) โดยได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งปันกำไรที่เกิดจากกิจการที่ร่วมลงทุน

 

รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม

สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)

*กำลังผลิตในมือเพิ่มขึ้น

 

โดยโรงไฟฟ้าดังกล่าว ตั้งอยู่ ณ จังหวัดยามากาตะ มีกำลังการผลิตรวม 20 เมกะวัตต์ ได้เข้าทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับบริษัท Tohoku Electric Power Co., Inc. เป็นระยะเวลา 20 ปี โดยมีราคารับซื้อไฟฟ้าแบบ Feed-in-Tariff (FIT) 36 เยนต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง โรงไฟฟ้าแห่งนี้สามรรถผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ชุมชนราว 5,000 ครัวเรือน และได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น โรงไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ Kawanishi Dahlia Solar power plant เพื่อให้เป็นที่คุ้นเคยต่อชุมชนในพื้นที่ดังกล่าว

 

ขณะนี้ Banpu NEXT มีโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่นรวมทั้งสิ้น 17 โครงการ กำลังผลิตตามสัดส่วนที่ลงทุน 240 เมกะวัตต์ ซึ่งเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วตามสัดส่วนที่ลงทุน 82.64 เมกะวัตต์

 

ทั้งนี้ บริษัทยังคงมองหาโอกาสการลงทุนต่อเนื่องในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อบรรลุเป้าหมายกำลังการผลิตจากธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า 6,100 เมกะวัตต์ในปี 2568 โดยเน้นการลงทุนในตลาดทีความต้องการใช้ไฟฟ้า และมีนโนบายสนับสนุนจากรัฐบาล

 

*ผลการดำเนินงานหลักดีขึ้น

 

บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง BANPU ว่า ผลประกอบการ 9 เดือนแรก 2563 ขาดทุนสุทธิ 1.3 พันล้านบาท ทำให้ประมาณการกำไรปี 2563 ที่ 1.4 พันล้านบาท มี Downside risk อย่างไรก็ตาม มองว่าการเริ่มรับรู้รายได้จากการเข้าซื้อธุรกิจก๊าซธรรมชาติ Barnett ในประเทศสหรัฐฯ ช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา จะทำให้ผลประกอบการของ BANPU ปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 4/2563

 

ส่วนแนวโน้มไตรมาส 4/2563 คาดผลการดำเนินงานหลักดีขึ้นจากไตรมาสก่อน และจากช่วงเดียวกันปีก่อน หนุนจาก 1.ราคาถ่านหินปรับตัวขึ้นตามอุปสงค์ที่สูงขึ้น โดยต้นไตรมาส 4 จนถึงปัจจุบันราคาถ่านหินนิวคาสเซิลเฉลี่ย 58.3 ดอลลาร์ต่อตัน (+12% จากไตรมาสก่อน, -13% จากปีก่อน) 2.ราคาก๊าซธรรมชาติ Henry hub ปรับตัวขึ้นตามอุปสงค์ช่วงฤดูหนาว โดยราคา Henry hub เฉลี่ย 2.9 ดอลลาร์ต่อmmbtu (+35% จากไตรมาสก่าอน, +20% จากปีก่อน)

 

3.ปริมาณขายก๊าซธรรมชาติปรับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากไตรมาสก่อน และจากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการเริ่มรับรู้ปริมาณขายของ Barnett ตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม เนื่องจากสัดส่วนกำไรส่วนใหญ่ยังมาจากธุรกิจถ่านหิน ซึ่งอุปสงค์ระยะยาวจะถูกกดดันจากเทรนด์ของพลังงานสะอาด และหุ้นอยู่ในช่วงปรับธุรกิจไปสู่เทคโนโลยีพลังงานสะอาด ซึ่งต้องรอเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนใน 2-3 ข้างหน้า ขณะที่ระยะสั้นการปรับโครงสร้างดังกล่าวจะทำให้บริษัทฯ มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น

 

ขณะที่ระยะสั้นหุ้นมีประเด็นให้เก็งกำไรได้จาก 1.ทิศทางงบไตรมาส 4/2563 และไตรมาส 1/2564 ที่ได้แรงหนุนจากการเริ่มรับรู้รายได้ของแหล่งก๊าซ Barnett 2.ราคาก๊าซธรรมชาติ Henry hub และราคาถ่านหินมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นตามอุปสงค์ช่วงฤดูหนาว และ3.ราคา ณ ปัจจุบันซื้อขายอยู่บน PBV เพียง 0.5x ถือว่า Downside จำกัด

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง