รีเซต

โควิดทำ 'เครียด' หนัก! เช็กวิธีรับมือไม่ให้ป่วยใจ

โควิดทำ 'เครียด' หนัก! เช็กวิธีรับมือไม่ให้ป่วยใจ
TeaC
20 กรกฎาคม 2564 ( 14:34 )
170
1

เพราะอาการป่วยใจไม่ใช่เรื่องเล็ก! ท่ามกลางสถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 (COVID-19) ทุกคนมีความเครียด ซึ่งเป็นของโปรดของโรคร้าย ส่งผลทั้งสุขภาพทางร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นมะเร็ง หลอดเลือดหัวใจ และสุขภาพทางใจ เช่น อาการทางจิต โรคซึมเศร้า ฯลฯ ฟังแบบนี้แล้วไม่เบาเลยใช่ไหมล่ะ แถมในช่วงนี้เรามักจะได้ยินข่าวแพทย์ทำร้ายร่างกายพยาบาล ข่าวพยาบาลกระโดดฆ่าตัวตาย โดยสาเหตุมาจากความเครียดสะสม หรือความวิตกกังวลต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมดังกล่าวที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่ากำลังเกิดอาการเครียด หรือมีสัญญาเตือนอะไรที่ความเครียดเริ่มอยู่ในขั้นวิกฤต หรืออันตรายต่อสุขภาพแบบที่ต้องรีบพบแพทย์ TrueID มีคำตอบมาให้ทุกคนได้สำรวจตัวเอง พร้อมเครื่องมือเยียวยาจิตใจมาให้ได้คลายเครียดกัน

 

โควิดระบาดหนัก คนไทย "เครียด" เรื้อรัง

 

ปัญหาความเครียดเรื้อรัง เป็นความเจ็บป่วยที่กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่หลายคนอาจคาดไม่ถึง จากข้อมูลรายงานการศึกษาเรื่อง “CHRONIC STRESS : ARE WE REACHING HEALTH SYSTEM BURN OUT?” หรือ “ความเครียดแบบเรื้อรัง : เรากำลังเข้าสู่ระบบสุขภาพที่มอดไหม้หรือไม่?” ปี 2562 โดย บมจ. ซิกน่า ประกันภัยชื่อดังระดับโลก ได้เปิดเผยผลการศึกษาปรากฏการณ์ความเครียด ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพของประชากร 9 ประเทศ ประกอบด้วย สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์, สิงคโปร์, ไต้หวัน, ฮ่องกง, เกาหลีใต้ และไทย

 

รายงานบ่งชี้ถึงผลกระทบของความเครียดที่ส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพของประชากรใน 9 ประเทศ มีค่าใช้จ่ายต่อปีสำหรับการดูแลรักษาความเจ็บป่วย พบว่า ประชากรประเทศออสเตรเลีย มีจ่ายค่าดูแลรักษาความเจ็บป่วยจากปัญหาความเครียดสูงสุด 22,911 ล้านดอลลาร์ฯ รองลงมาคือ ฮ่องกง 3,758 ล้านดอลลาร์ฯ , สิงคโปร์ 2,342 ล้านดอลลาร์ฯ, เกาหลีใต้ 13,083 ล้านดอลลาร์ฯ, ไต้หวัน 4,648 ล้านดอลลาร์ฯ, ไทย 717 ล้านดอลลาร์ฯ, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1,866 ล้านดอลลาร์ฯ ,อังกฤษ 14,794 ล้านดอลลาร์ฯ และสหรัฐอเมริกา 133,200 ล้านดอลลาร์ฯ

 

ตัวเลขค่าใช้จ่ายเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ความเครียดเรื้อรังเป็นภัยใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ทุกคนและทำให้เกิดความรุนแรง ซึ่งสาเหตุของความเครียดเกิดขึ้นตั้งแต่สภาพแวล้อมทั่วไป สภาพเศรษฐกิจ สภาพสังคม การทำงาน ความสัมพันธ์กับผู้คน นิสัยส่วนตัว วิธีการใช้ชีวิต สภาพคล่องทางการเงิน และการต้องอยู่ท่ามกลางโรคระบาดที่เกิดขึ้นหลายระลอก ความเครียดที่คนในครอบครัวติดเชื้อ ปัญหาเรื่องการตกงาน การกลัวติดโควิด ปัญหาเรื่องปากท้องรุมเร้า มาตรการการล็อกดาวน์และเคอร์ฟิวทำให้ผู้คนรู้สึกถูกบีบรัดด้วยเวลาที่เร่งรัด เป็นต้น

 

ดังนั้น การเรียนรู้ที่จะรับมือกับความเครียดอย่างมีสุขภาพดีและถูกวิธีเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างมากในสถานการณ์ที่ไม่ปกติแบบนี้ 

 

สัญญาณความเครียด ทางร่างกาย-จิตใจ มีอะไรบ้าง? เช็กกันหน่อย

 

อย่าลืมว่า "ความเครียด" เป็นของโปรดของโรคร้ายทั้งทางร่างกายและจิตใจ หากคุณขาดความระมัดระวังและให้ความเครียดก่อตัวมากเกินไป ความเจ็บป่วยก็จะเกิดขึ้นได้ในที่สุด ลองมาเช็กสัญญาณเหล่านี้กัหนน่อย อาจชี้ว่าคุณกำลังเครียดอยู่นะ

 

  • เกิดความรู้สึกกลัว โกรธ เศร้า กังวล ด้านชา หรือหงุดหงิดมากผิดปกติ
  • ไม่อยากกินอาหาร หมดพลัง หดหู่
  • ขาดความกระตือรือร้น หรือความสนใจที่เคยมีหายไป
  • ประสิทธิภาพในการตัดสินใจน้อยลง
  • ไม่มีสมาธิจดจ่อเหมือนเคย
  • นอนไม่หลับ สะดุ้งตื่นช่วงกลางคืน
  • ปวดศีรษะ ปวดตามร่างกาย โรคกระเพาะอาหาร และผื่นผิวหนัง
  • ปัญหาสุขภาพที่มีอยู่แล้ว มีอาการแย่ลงไปอีก
  • ภาวะสุขภาพจิตใจโดยรวมแย่ลง
  • มีความอยากสูบบุหรี่ หรืออยากดื่มเหล้ามากขึ้น

 

เมื่อเช็กดูแล้ว คุณมีอาการหรือพฤติกรรมที่กล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่า คุณเริ่มมีอาการเครียดแล้วนะ สิ่งที่ต้องทำเมื่อรู้ว่าเครียด นั่นคือ การรับมือความเครียดด้วยตัวเองกับวิธีง่าย ๆ ที่ช่วยให้คุณแก้เครียดได้


วิธีรับมือ "ความเครียด" ในยุคโควิด

 

เป็นเรื่องปกติที่ทุกคนจะรู้สึกเครีย รู้สึกกังวลกับสภาพแวดล้อมรอบตัว โดยเฉพาะท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 แต่สิ่งที่ต้องจำขึ้นใจนั่นคือไม่ควรปล่อยให้ความเครียดสะสมในจิตใจ เพราะอาจส่งผลให้คุณป่วยมากกว่าเดิม ดังนั้น มาจัดการความเครียดกันก่อนที่จะลุกลามหนักกันเถอะ

 

  • ให้สมองได้พักผ่อนบ้าง เช่น ละจากการไถหน้าจอมือถือ ลดการเสพข่าวโรคระบาดบนโซเชียลฯ อย่างต่อเนื่อง ที่สร้างให้คุณเกิดความหดหู่ กังวล หรือเกิดอารมณ์โมโห ลงบ้าง 
  • ฝึกการหายใจเข้าลึก ๆ ยาว ๆ ช่วยลดความตึงเครียดได้
  • ออกกำลังกายบ้าง เช่น เล่นโยคะ 
  • กินอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • เข้านอนให้เป็นเวลา พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ลดดื่มเหล้า ลดบุหรี่วันละนิด สู้กันสักหน่อย แถมเซฟเงินได้ด้วย
  • ยกหูคุยกับครอบครัว เพื่อนสนิท หรือคนที่รัก ระบายสิ่งอัดอั้นในใจออกมาบ้าง 
  • มองโลกในแง่บวก
  • หาเวลาผ่อนคลายตัวเองบ้าง เช่น เล่นกับสัตว์ อ่านหนังสือ เข้าครัวทำอาหาร หรือดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมออนไลน์ที่ TrueID ทรูไอดี โลกความสุขในทุกตัวตนของคุณ แหล่งรวมสาระความบันเทิงมากมายเสมือนเพื่อนช่วยคลายเหงา คลายเครียดให้เลือกชมได้จุใจ อย่าลืมไปเติมความสุขกันนะ

 



ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญกับ True HEALT (ทรู เฮลท์)  

 

หากคุณลองทำทุกวิธีตั้งแต่ต้นแล้วยังรู้สึกไม่ได้ช่วยอะไรมาก หรือความเครียดไม่หาย แนะนำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญกับ True HEALTH (ทรู เฮลท์) แพลตฟอร์มสุขภาพดีอัจฉริยะ พร้อมร่วมดูแลสุขภาพกายและใจของคุณ โดยทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพกว่า 100 ท่าน จากชีวีบริรักษ์คลินิกเวชกรรม แถมมีบริการส่งยาถึงบ้าน สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ช่วยลดความเสี่ยงโควิด พร้อมสิทธิพิเศษเฉพาะเดือนนี้ ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ผ่านแอป ทรู เฮลท์ รับส่วนลด 100 บาท เพียงกรอกโค้ด JULY100 ในขั้นตอนชำระเงิน ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.-31 ก.ค.2564 คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://truehealth.truedigital.com/

 

ปรึกษาแพทย์ผ่านแอป ทรู เฮลท์ เพียง 5 ขั้นตอนง่าย ๆ แค่ทำตามนี้ได้เลย

 

  • ดาวน์โหลดและลงทะเบียนผ่านแอป True HEALTH
  • เลือกแผนกที่ต้องการปรึกษา
  • เลือกแพทย์ เวลา และช่องทางที่ต้องการปรึกษา
  • กรอกโค้ดที่ได้จากหน้าเว็บไซต์นี้ในขั้นตอนการชำระเงิน
  • ปรึกษาและรับคำแนะนำจากแพทย์บนแอป True HEALTH

 

ใครใช้ระบบไหน ดาวน์โหลดเลย

 

ระบบ android สามารถดาวน์โหลดได้ที่ Google Play Store : แอป "True Health สุขภาพดี ปรึกษาเรา"

ระบบ iOS สามารถดาวน์โหลดได้ที่ Apple Store : แอป "True Health สุขภาพดี ปรึกษาเรา"
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID : @truehealthofficial หรือ https://lin.ee/l0EXnfq

 

โควิดทำ เครียดหนัก ให้ True HEALTH (ทรู เฮลท์) ดูแลสุขภาพใจให้ดีขึ้นกันนะ 

 

 

ข้อมูล : กรุงเทพธุรกิจ, กรมอนามัย

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง