ส่อง 10 ประเทศ-องค์กร สำรอง 'ทองคำ' มากสุดในโลก

พูดถึงทองคำ เป็นเรื่องที่หลายคนเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด ดูความเคลื่อนไหวตลอดเวลา ขึ้นหรือลง ลงหรือขึ้น จะขายตอนไหนอย่างไร สัปดาห์นี้แนวโน้มเป็นอย่างไร ขายได้หรือยัง เก็บใส่พอร์ตไว้ดีมั้ย คนเราก็เหมือนประเทศ อยากจะเก็บทองไว้เยอะๆเพราะมันคือความมั่นคั่ง และเป็นสินทรำย์ที่ไม่มีความเสี่ยงยิ่งเก็บยิ่งมั่นคง
ในสภาวะความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ "ทองคำ" ยังเป็นสินทรัพย์ที่หลายคนให้ความสำคัญ ในฐานะสินทรัพย์ปลอดความเสี่ยง รวมถึงธนาคารกลางแต่ละประเทศและองค์กรสำคัญในโลกที่ใช้ทองคำเป็นทุนสำรอง และหากคิดยอดการถือครองทุนสำรองทองคำทั่วโลก ณ 31 มี.ค.2563 จะมีจำนวน 34,361 ตันซึ่งใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันปีก่อน
ทั้งนี้ ข้อมูลจากรวบรวมของ IMF, World Gold Council รายงาน 100 ประเทศ-องค์กรที่สำรอง'ทองคำ' โดย 10 อันดับแรกที่ถือครองมากที่สุด ณ 31 มี.ค. 2564 ดังนี้
1. สหรัฐ ถือครองทองคำจำนวน 8,133.50 ตัน สัดส่วนทุนสำรองทองคำเมื่อเทียบกับทุนสำรองในประเทศทั้งหมดคิดเป็น 78.6%
2. เยอรมนี ถือครองทองคำจำนวน 3,364.20 ตัน มีสัดส่วนทุนสำรอง 75.7%
3. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ถือครองทองคำ จำนวน 2,814 ตัน
4. อิตาลี ถือครองทองคำ จำนวน 2,451.80 ตัน มีสัดส่วนทุนสำรอง 70.8%
5. ฝรั่งเศส ถือครองทองคำ จำนวน 2,436.20 ตัน มีสัดส่วนทุนสำรอง 66%
6. รัสเซีย ถือครองทองคำ จำนวน 2,295.40ตัน มีสัดส่วนทุนสำรอง 23.3%
7. จีน (เฉพาะจีนแผ่นดินใหญ่) ถือครองทองคำ จำนวน 1,948.30 ตัน มีสัดส่วนทุนสำรอง 3.5%
8. สวิตเซอร์แลนด์ ถือครองทองคำ จำนวน 1,040.0 ตัน มีสัดส่วนทุนสำรอง 5.8%
9. ญี่ปุ่น ถือครองทองคำ จำนวน 765.20 ตัน มีสัดส่วนทุนสำรอง 3.3%
10. อินเดีย ถือครองทองคำ จำนวน 676.60 ตัน มีสัดส่วนทุนสำรอง 6.9%
ขณะที่ ไทย ถือครองทองคำสำรองอยู่อันดับที่ 28 ของโลก ถือครอง จำนวน 154 ตัน มีสัดส่วนทุนสำรอง 3.6%
สำหรับในประเทศ-องค์กร ที่มีทองคำใช้เป็นทุนสำรอง 10 อันดับ รวมกัน2 5,923.4 ตัน คิดเป็นสัดส่วน 75.44 % ของปริมาณทองคำที่ใช้เป็นทุนสำรองทั่วโลก 34,361 ตัน
แต่หากไม่คิดทุนสำรองของ IMF ประเทศ 9 อันดับแรก ถือครองรวม 23,109.4 ตัน คิดเป็น 67.25% ของทองคำที่ใช้เป็นทุนสำรองทั่วโลก
ทั้งนี้ จีน รัฐเชีย อินเดีย ตุรกี ได้เริ่มซื้อทองคำเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปีก่อน ทำให้ปริมาณทองคำที่ใช้เป็นทุนสำรองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
"ทองคำ" ถือเป็นส่วนสำคัญของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของธนาคารกลาง แม้แรงซื้อทองคำจากธนาคารกลางในปี 2563 จะชะลอตัวลงจากปี 2561-2562
อย่างไรก็ดี YLG เชื่อว่า ธนาคารกลางจะยังคงเป็นผู้ซื้อสุทธิต่อเนื่อง และบทบาทของทองคำในฐานะเงินทุนสำรองระหว่างประเทศจะยังคงดำเนินต่อไป
เนื่องจากหลายประเทศยังมีแนวโน้มจะเข้าซื้อทองคำต่อไป เพื่อการกระจายการลงทุนและกระจายความเสี่ยงของพอร์ตเงินทุนสำรองระหว่างประเทศท่ามกลางปัจจัยทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มสูงขึ้นปรับสมดุลพอร์ตลงทุน เนื่องจากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ หรือแม้กระทั่งใช้ทองคำ เพื่อจัดการสภาพคล่อง หรือเพื่อเพิ่มอัตราผลตอบแทน ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับทองคำในระยะยาว
ภาพโดย Stevebidmead จาก pixabay
ข่าวเกี่ยวข้อง :