รีเซต

ARTEMIS หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ "เร็วที่สุดในโลก" เตรียมลงแข่ง RoboCup

ARTEMIS หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ "เร็วที่สุดในโลก" เตรียมลงแข่ง RoboCup
TNN ช่อง16
15 มีนาคม 2566 ( 10:25 )
78

มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนียลอสแองเจลิส หรือ ยูซีแอลเอ (UCLA) ได้พัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ ที่มีความคล่องตัวและเสถียรภาพสูง ในชื่อ อาร์ทีมิส (ARTEMIS) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหุ่นยนต์สองขาที่เดินเร็วที่สุดในโลก และล่าสุดกำลังจะลงสนามแข่งฟุตบอลหุ่นยนต์ในศึกโรโบคัป (RoboCup) ประจำปี 2023 นี้


ภาพจาก UCLA


หุ่นยนต์สองขาว่าที่นักเตะแข้งทอง

หุ่นยนต์อาร์ทีมิส เป็นหุ่นยนต์เคลื่อนไหวแบบ 2 เท้า หนัก 38 กิโลกรัม สูงประมาณ 120 เซนติเมตร ได้รับการพัฒนาโดยมุ่งเน้นไปที่การเคลื่อนที่แบบสองเท้าบนพื้นผิวที่ไม่ราบเรียบ และการทรงตัวที่เยี่ยมยอด เพื่อเลียนแบบการเดิน และการเคลื่อนไหวของมนุษย์ให้ได้มากที่สุด


โดยศาสตราจารย์ เดนนิส ฮง (Dennis Hong) ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมชาวเกาหลีใต้ และทีมพัฒนา ได้ออกแบบมอเตอร์พิเศษ ที่ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวเลียน แบบการทำงานของกล้ามเนื้อชีวภาพ นอกจากนี้ยังใช้ แอคชูเคเตอร์ (actuators) ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า แทนระบบไฮดรอลิกแบบเดิม ๆ โดยเป็นอุปกรณ์ที่ใช้แปลงพลังงานให้เป็นพลังงานเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ ซึ่งทีมวิจัยระบุว่าทำให้มีเสียงรบกวนน้อยกว่า และไม่ต้องกังวลเรื่องการรั่วไหลของของเหลว เมื่อเทียบกับระบบไฮดรอลิก



ภาพจาก UCLA


ด้วยองค์ประกอบสำคัญนี้ จึงทำให้หุ่นยนต์สามารถวิ่ง กระโดด และเดินบนพื้นผิวที่ไม่เรียบและไม่มั่นคงได้ และยังสามารถรักษาเสถียรภาพได้ แม้จะถูกผลักหรือรบกวนอย่างรุนแรงก็ตาม นอกจากนี้ อ้างอิงจากทีมวิจัยของมหาวิทยาลัย อาร์ทีมิส ยังได้ชื่อว่าเป็นหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์แบบสองขา ที่เดินเร็วที่สุดในโลกอีกด้วยโดยได้ทดสอบในห้องปฏิบัติการแล้ว พบว่ามีความเร็วในการเดินเฉลี่ยอยู่ที่ 2.1 เมตรต่อวินาที 


ภาพจาก UCLA

 


ฟิตซ้อมเต็มที่เตรียมฟาดแข้งใน RoboCup

ปัจจุบัน ทีมนักวิจัยกำลังทำการพัฒนาและทดสอบการเดินของหุ่นยนต์รอบ ๆ มหาวิทยาลัยเป็นประจำ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันฟุตบอลในสนามโรโบคัป ซึ่งเป็นงานใหญ่ที่รวมการแสดงความสามารถของหุ่นยนต์ประเภทต่าง ๆ ระดับนานาชาติ ซึ่งทีมวิจัยมองว่า เป็นโอกาสดี ที่จะทำให้อาร์ทีมิส ได้ทดสอบการใช้งานจริงภาคสนาม และยังเป็นโอกาสดีที่จะได้แสดงความสามารถ เพื่อส่งเสริมความสำคัญของการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ไปสู่ผู้ชมที่กว้างขึ้น



ข้อมูลจาก interestingengineeringzmescience

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง