รีเซต

5 อาชญากรที่จนมุมด้วยหลักฐานจากนิติวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่การส่องกล้องจุลทรรศน์จนถึงการตรวจ DNA

5 อาชญากรที่จนมุมด้วยหลักฐานจากนิติวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่การส่องกล้องจุลทรรศน์จนถึงการตรวจ DNA
TNN ช่อง16
2 มกราคม 2567 ( 08:54 )
148
5 อาชญากรที่จนมุมด้วยหลักฐานจากนิติวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่การส่องกล้องจุลทรรศน์จนถึงการตรวจ DNA


จากกรณีคดี “ลุงพล” นายไชย์พล วิภา ถูกศาลสั่งจำคุกในกรณีคดี “น้องชมพู่” ซึ่งมีหลักฐานชิ้นสำคัญเป็นเส้นผมที่ส่องละเอียดถึงขั้นการพิจารณารอยตัดด้วยของแข็งมีคม สู่การวิจัยด้านนิติวิทยาศาสตร์ของไทย ทำให้เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญต่อสำนวนคดีของตำรวจ TNN Tech จึงพาไปสำรวจคดีต่าง ๆ ทั่วโลก 5 คดี ที่มีความซับซ้อนในการทำงาน ก่อนได้หลักนิติวิทยาศาสตร์มาจัดการคนร้าย


5 อาชญากรที่จนมุมด้วยหลักฐานจากนิติวิทยาศาสตร์

1. เท็ด บันดี (Ted Bundy) กับคดีฆาตกรรมต่อเนื่องผู้หญิง 30 ศพ

หนึ่งในคดีสะเทือนขวัญของสหรัฐอเมริกา ระหว่างปี 1975 - 1978 คือคดีการฆาตกรรมต่อเนื่องหญิงสาวในพื้นที่รัฐโคโลราโด (Colorado) และรัฐฟลอริดา (Florida) ซึ่งในตอนนั้นทางตำรวจได้จับกุมเท็ด บันดี (Ted Bundy) จากการสืบสวน แต่ว่าความยากของคดีคือหลักฐานมัดตัวที่มีจำกัด อย่างไรก็ตาม นิติวิทยาศาสตร์ได้ทำให้พบเส้นใยตรงกับเสื้อผ้าเหยื่อด้วยกล้องจุลทรรศน์ และยังพบรอยกัดตรงกับพิมพ์ฟันของผู้ต้องหา จนศาลตัดสินประหารชีวิต แม้ว่าเจ้าตัวจะไม่เคยรับสารภาพเลยก็ตาม


2. ฆาตกรต่อเนื่อง BTK

ระหว่างปี 1990-2000 สหรัฐอเมริกาเผชิญการฆาตกรรมต่อเนื่องของนักฆ่าที่เรียกตัวเองว่า BTK (Bind, Torture, Kill) ที่ส่งจดหมายบรรยายการกระทำอันโหดร้ายท้าทายการสืบสวนของตำรวจ แต่หลังจากที่ฆาตกรหายตัวไปหลังปี 2000 และกลับมาลงมืออีกครั้งในปี 2004 


เนื่องจากเทคโนโลยีในยุคนั้นอย่างฟลอปปี้ ดิสก์ (Floppy Disk) ทำให้การเก็บข้อมูลอย่างข้อความสะดวกมากขึ้น นักฆ่า BTK จึงได้ใช้มันเป็นจดหมายบรรยายแทนกระดาษ และนั่นคือความผิดพลาดของฆาตกรที่นำไปสู่การย้อนรอยที่มาจนสามารถระบุชื่อว่าคือเดนนิส เรเดอร์ (Dennis Rader) และนำไปสู่การจับกุมในที่สุด โดยความผิดของเจ้าตัวถูกศาลตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิตนับแต่นั้น


3. ฆาตกรรมเด็ก 22 ศพ แห่งแอตแลนตา

ในระหว่างปี 1979-1981 เกิดคดีฆาตกรรมต่อเนื่องมากกว่า 29 ศพ และในจำนวนทั้งหมดนั้นเป็นเด็กถึง 22 ศพ ในพื้นที่รัฐแอตแลนตาของสหรัฐอเมริกา และจากความย่ามใจของ เวยน์ วิลเลียมส์ (Wayne Williams) ที่ทิ้งศพลงแม่น้ำ ทำให้ตำรวจพบพิรุธและเข้าจับกุม เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีอุกฉกรรจ์ ทำให้ตำรวจต้องเก็บหลักฐานอย่างละเอียด และพบเส้นใยกว่า 30 ชนิด จากเหยื่อ ซึ่งตรงกับเส้นใยในบ้านของฆาตกร ส่งผลให้ฆาตกรถูกจำคุกตลอดชีวิต


4. การโดนแทงปริศนาของ 2 ตายายในบ้าน

ในปี 1989 จอร์จ และ แคเทอรีน พีค็อก (George and Catherine Peacock) ตายายอายุ 78 และ 76 ปี ถูกแทงในบ้านที่รัฐเวอร์มอนต์ (Vermont) ในสหรัฐอเมริกา โดยไม่พบว่ามีการงัดแงะ แม้ว่าไมเคิล หลุยส์ (Michael Louise) ลูกเขยของทั้งคู่จะเป็นผู้ต้องสงสัยหลัก แต่ก็ไม่มีหลักฐานในเวลานั้น อย่างไรก็ตาม ในปี 2020 ตำรวจได้พัฒนาเทคนิคการตรวจดีเอ็นเอ (DNA) จนสามารถระบุหยดเลือดในรถของไมเคิลตรงกับเลือดกับเหยื่อในที่เกิดเหตุ และจับกุมในปี 2022 ที่ผ่านมาได้สำเร็จ


5. คดีฆ่าข่มขืน 3 สาว ในออเรนจ์ เคาน์ตี้

ในปี 1987 มีคดีฆ่าข่มขืนหญิงสาว 2 คน ในออเรนจ์ เคาน์ตี้ (Orange County) ในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกา ก่อนจะเกิดคดีที่ 3 ในอีก 2 ปีให้หลัง โดยคนร้ายคนเดียวกัน แต่ไม่สามารถหาผู้กระทำความผิดได้ จนกระทั่งในปี 2021 ทางตำรวจได้ใช้เทคนิคที่เรียกว่า เจเนติก จีเนียโลจี (Genetic genealogy) หรือการนำ DNA ที่ไม่รู้จักไปทำลำดับวงศ์ตระกูล (Family tree) และนำไปตรวจกับประวัติ DNA อื่ นๆ เพื่อจำกัดวงของคนร้าย จนพบว่า คนร้ายคือ รูเบน สมิธ (Rueben Smith) ที่มีประวัติคดีข่มขืนมาก่อน แต่ว่ารูเบนได้ฆ่าตัวตายในปี 1999 ทำให้ปิดคดีโดยไม่มีการจับกุม


ที่มาข้อมูล Summit ConsulitngForensic Colleges


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง