รีเซต

how-to วิธีเอาตัวรอดจากเหตุการณ์กราดยิงที่ดี ที่สุด มีขั้นตอนอย่างไร?

how-to วิธีเอาตัวรอดจากเหตุการณ์กราดยิงที่ดี ที่สุด มีขั้นตอนอย่างไร?
TeaC
23 มีนาคม 2566 ( 11:40 )
9.5K
how-to วิธีเอาตัวรอดจากเหตุการณ์กราดยิงที่ดี ที่สุด มีขั้นตอนอย่างไร?

ข่าววันนี้ กราดยิงเพชรบุรี เหตุการณ์ซ้ำซาก น้อนกลับไปก่อนหน้านี้ เหตุกราดยิงหนองบัวลำภู นั้นได้กลับมากระตุกให้ย้อนไปกับเหตุการณ์ก่อนหน้านี้ "กราดยิงอุบล" หรือ "ข่าวอุบล ที่ได้รับความสนใจจากสังคมอย่างมาก หลังเมื่อช่วงคืนวันที่ 3 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้มีกลุ่มคนยกพวกทำร้ายร่างกาย บริเวณลานจอดรถแห่งหนึ่ง ต.ในเมือง อ.เมืองอุบลราชธานี ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย เสียชีวิต 6 ราย พบปลอกกระสุนเกลื่อนพื้นกว่า 70 นัด รถเสียหายอีก 5 คัน นับเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์อุกอาจถึงขนาดที่ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผบ.ตร. บินด่วนลงพื้นที่

 

วิธีเอาตัวรอด จากเหตุการณ์กราดยิงที่ดี ที่สุด มีขั้นตอนอย่างไร?

คำถามต่อมา ประชาชนอย่างเรา ๆ จะรับมือการใช้ชีวิตอย่างไรในพื้นที่สาธารณะที่อาจเป็นไปได้ว่า จะกลายเป็น "พื้นที่อันตราย" เพราะเหตุจากความรุนแรงของคนไม่กี่คน แต่สร้างผลเสียต่อชีวิตของคนในสังคม

 

กราดยิงเพชรบุรี

กราดยิงเพชรบุรี เหตุการณ์สะเทือนขวัญซ้ำซาก หลังเกิดเหตุชายคลั่ง ยิงปืนในหมู่บ้าน ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต สะท้อนอะไรได้บ้าง 

 

กราดยิงอุบล 2565

และเหตุ "กราดยิงอุบล" ไม่ได้เป็นเหตุการสะเทือนขวัญครั้งแรกที่ทำให้เกิดความสูญเสีย วันนี้มีข้อมูลดี ๆ จากงานเสวนาที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 โดย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในหัวข้อที่น่าสนใจและตรงกับสถานการณ์ "ยิงที่อุบล" ที่เสมือนเป็นอีกหนึ่งคู่มือในการเอาตัวรอด เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ความรุนแรง ที่เกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา  เอาละ มาดูวิธีเอาตัวรอดจากเหตุการณ์กราดยิงกัน มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? 

โดยข้อหัวเสวนา คือ "การหลบหนี และการเอาตัวรอดในเหตุการณ์กราดยิงในที่สาธารณะ เมื่อตกอยู่ใน สถานการณ์ความรุนแรง" ซึ่งหยิบยกมาเติมความรู้ โดยเป็นการเสวนาที่มีมี ผศ.(พิเศษ)นพ.สุรินทร์ อัศววิทูรทิพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ด้านภาพลักษณ์องค์กร  ผศ.นพ.อดุมศักดิ์ หุ่นวิจิตร ฝ่ายนิตเวชศาสตร ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ จากหลายหน่วยงานมาร่วมเสวนา 

 

กราดยิงโคราช 2563

ซึ่งเหตุการณ์ "กราดยิงโคราช" ปี 2563 ข่าวโด่งดังที่สร้างความตื่นตระหนกและสร้างความสูญเสียให้กับเหยื่อมากมาย เป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มความรู้ในการเอาตัวรอดให้กับสังคม ซึ่งเนื้อหาได้ระบุถึงความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์เหตุ "กราดยิง" ด้วย 3 วิธีนี้ที่ต้องปฏิบัติให้เร็วที่สุด คือ 

  1. การหลบหนี Run
  2. การหลบซ่อน Hide
  3. การต่อสู้ Fight

 

วิธีเอาตัวรอดจากคนร้าย

การหลบหนี (RUN)

  • หนีจากที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด รวมถึงสังเกตและจดจำทางเข้าออกให้แม่นยำ

  • วางแผน และเตรียมพร้อมในการหลบหนีออกจากสถานที่นั้นอย่างรวดเร็วที่สุด โดยหลีกเลี่ยงเส้นทางหนีที่คับแคบ

  • มีสติอยู่เสมอขณะหลบหนี ที่สำคัญควรสละสิ่งของหรือสัมภาระทั้งหมดเพื่อการหลบหนีที่คล่องตัว และหากเป็นไปได้ควรช่วยเหลือคนรอบตัวให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้

 

การหลบซ่อน (HIDE)

ในกรณีที่ไม่สามารถหลบหนีได้ แนะนำให้หาที่หลบซ่อน เพื่อให้พ้นสายตาของผู้ก่อเหตุ โดยสิ่งที่ควรทำ มีดังนี้

  • ปิดไฟมืด ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องมือติดต่อที่ทำให้เกิดเสียง เช่นทีวี วิทยุ เปลี่ยนเสียงโทรศัพท์ให้เป็นระบบสั่น

  • หากมีหน้าต่างหรือประตู ให้ปิดม่าน และล็อคประตูให้แน่นหนา

  • พยายามหาวัตถุที่หนักและมั่นคง เช่น โต๊ะ ตู้ กั้นประตูไว้

  • การหลบซ่อนที่ดี ควรแอบอยู่หลังหรือใต้โต๊ะ ตู้ที่แข็งแรง

  • พยายามหลีกเลี่ยงที่อับปิดตาย และไม่ควรอยู่ใกล้ที่เสี่ยงอันตราย เช่น ริมหน้าต่างกระจก

  • หากหลบซ่อนอยู่หลายคน พยายามกระจายพื้นที่หลบซ่อนให้มากที่สุด และพยายามขอความช่วยเหลือโดยไม่ต้องใช้เสียง เช่น ขอความช่วยเหลือผ่านช่องทาง SMS หรือ LINE เป็นต้น

 

การต่อสู้ (FIGHT)

  • หากอยู่ที่สถานการณ์คับขัน ไม่สามารถหลบหนีหรือซ่อนตัวได้ วิธีการสุดท้ายในการเอาตัวรอดคือ การต่อสู้ด้วยสติ และกำลังทั้งหมดที่มี และสิ่งที่หลายคนอาจไม่ทราบคือ ในสถานการณ์ซึ่งหน้านั้น ไม่ควรพูดเพื่ออ้อนวอน ขอร้องหรือเพื่อเกลี้ยกล่อมคนร้าย เพราะวิธีการเหล่านี้มักไม่ได้ผล และในทางกลับกันอาจยิ่งกระตุ้นคนร้ายให้ตื่นตัวมากขึ้น

  • การเตรียมพร้อมเพื่อรับมือสถานการณ์การกราดยิงเป็นสิ่งจำเป็นเพราะสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ รศ.นพ.รัฐพลี กล่าวว่าเมื่ออยู่ในที่สาธารณะควรพึงมีสติเสมอ หากมีเสียงดังผิดปกติ เสียงปืน หรือเสียงระเบิด ขอให้สังเกตทิศทางและแหล่งที่มาของเสียง หากได้ยินเสียงประกาศเตือน หรือเกิดความสับสนของกลุ่มคน ขอให้พึงระวังตนเองและหาที่หลบหนี หรือหลบซ่อนโดยเร็วเปลี่ยนการสื่อสารให้เป็นแบบไม่ต้องใช้เสียง รวมถึงหาช่องทางในการแจ้งเหตุกับเจ้าหน้าที่เพื่อบอกตำแหน่งของมือปืนต้นเหตุ จำนวนผู้ก่อเหตุ  ลักษณะ และการแต่งตัวของผู้ก่อเหตุ จำนวนและประเภทอาวุธ และจำนวนผู้ที่ต้องสงสัยว่าบาดเจ็บ

 

การเอาตัวรอดจาก อาชญากรรม  ต้องเตรียมสิ่งนี้ให้พร้อม

  1. ควรทราบเบอร์โทรศัพท์ที่จำเป็นเช่น เบอร์ 191, 1669 หรือดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นช่วยเหลือฉุกเฉิน เช่น จส.100 เพื่อแจ้งเหตุฉุกเฉินในหลายๆ ช่องทาง

  2. ควรรับการฝึกอบรมปฐมพยาบาลสำหรับอุบัติเหตุ หรือการอบรมการห้ามเลือดเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ไม่คาดคิด

  3. ก่อนออกจากบ้าน ควรชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือให้เต็ม มีแบตเตอรี่สำรองพร้อมสายชาร์จเสมอ

  4. บอกที่มาที่ไปและเวลากลับให้คนที่บ้าน หรือเพื่อนสนิททราบเพื่อสามารถช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน

 

วิธีเอาตัวรอดจากเหตุการณ์กราดยิงที่ดี ที่สุด มีขั้นตอนอย่างไร?

สิ่งสำคัญเมื่อเราตกอยู่ในสถานการณ์เหตุกราดยิงในพื้นที่สาธารณะ คือ การตั้ง "สติ" และการควบคุมสติให้สามารถรับมือกับความตึงเครียด ณ เวลานั้นให้ได้ รวมทั้งปฏิบัติตาม วิธีการเอาตัวรอด คือ การหลบหนี การหลบซ่อน การต่อสู้ ที่ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ

 

เพราะจะช่วยให้ผ่านพ้นสถานการณ์ที่เลวร้ายไปได้

 

ข้อมูล :chulalongkornhospital.co.th

ภาพ : มติชน

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง