รีเซต

โควิด-19 : ไวรัสสายพันธุ์เดลตากำลังระบาดหนักแค่ไหนในประเทศในเอเชีย

โควิด-19 : ไวรัสสายพันธุ์เดลตากำลังระบาดหนักแค่ไหนในประเทศในเอเชีย
ข่าวสด
4 กรกฎาคม 2564 ( 02:32 )
53
โควิด-19 : ไวรัสสายพันธุ์เดลตากำลังระบาดหนักแค่ไหนในประเทศในเอเชีย

 

แม้อินเดียจะผ่านจุดวิกฤตที่สุดของการระบาดของโควิดระลอกล่าสุดไปแล้ว แต่อีกหลายประเทศในเอเชียกำลังมีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

 

 

ขณะที่โครงการฉีดวัคซีนให้ประชาชนยังล่าช้าอยู่ในประเทศเหล่านี้ (ยกเว้นแค่บางประเทศ) หลายฝ่ายกังวลกันว่าโควิดสายพันธุ์เดลตา หรือที่พบครั้งแรกที่อินเดีย จะยิ่งทำให้สถานการณ์แย่เข้าไปใหญ่

 

 

เมื่อไม่นานมานี้ องค์การอนามัยโลกเพิ่งออกมาระบุว่า สายพันธุ์เดลตาเป็นสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดได้ง่ายที่สุดตั้งแต่เจอมา

 

 

เพื่อนบ้านของอินเดียอย่าง เนปาล ปากีสถาน และศรีลังกา มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นสูงในเดือน พ.ค. ก่อนที่จะเริ่มลดลงในตอนนี้ เนปาลโดนหนักหน่อยหลังผู้ติดเชื้อที่พุ่งสูงอย่างรวดเร็วทำให้ระบบสาธารณสุขท้องถิ่นต้องรับภาระอย่างหนักหน่วง

 

 

ตัวเลขผู้ติดเชื้อในอัฟกานิสถานสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์เมื่อเดือน มิ.ย. โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของประเทศ วาจิด มาจรูห์ บอกว่า 60% ของผู้ติดเชื้อในกรุงคาบูลเป็นสายพันธุ์เดลตา

 

 

และองค์การอนามัยโลกก็เริ่มเห็นผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาเพิ่มขึ้นในไทย บังกลาเทศ อินโดนีเซีย และมองโกเลียแล้วด้วย

 

 

มาดูกันว่าสถานการณ์ในประเทศเอเชียต่าง ๆ เป็นอย่างไรบ้าง

 

 

บังกลาเทศ

บังกลาเทศ ซึ่งมีพรมแดนเหยียดยาวติดกับอินเดีย มีผู้ติดเชื้อสูงขึ้นมาตั้งแต่กลางเดือน พ.ค. แล้ว งานวิจัยโดยรัฐบาลชี้ว่าระหว่างวันที่ 25 พ.ค. ถึง 7 มิ.ย. 68% ของผู้ติดเชื้อที่พบในกรุงดากา เป็นสายพันธุ์เดลตา โดยตอนนี้มีการประกาศล็อกดาวน์ทั่วประเทศแล้วเพราะกังวลเรื่องโควิดสายพันธุ์นี้

 

 

แต่จำนวนผู้ติดเชื้อก็มีแนวโน้มสูงขึ้นอีกหลังจากแรงงานจำนวนมากเดินทางออกจากเมืองหลวงเพื่อกลับภูมิลำเนาทั่วประเทศ

G

แม้ว่าก่อนหน้านี้ บังกลาเทศเริ่มฉีดวัคซีนเร็วกว่าเพื่อนแต่ก็ยังดำเนินไปอย่างล่าช้า และต้องหยุดชะงักไปเมื่อเดือน เม.ย.

 

 

บังกลาเทศฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งได้มาจากอินเดีย ให้ประชาชนไปแล้ว 1.6 ล้านโดส แต่อินเดียก็ดันมาหยุดการส่งออกไปเมื่อเดือน เม.ย.

 

 

เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. พวกเขากลับมาฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มซึ่งได้รับบริจาคมาจากจีน

 

 

ถึงวันที่ 30 มิ.ย. ประชากรทั้งหมดที่ได้รับวัคซีนไปมีน้อยกว่า 3%

 

 

อินโดนีเซีย

 

 

G

ตอนนี้อินโดนีเซียประกาศล็อกดาวน์บางส่วนของประเทศจนถึงวันที่ 20 ก.ค. เพราะจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มาตั้งแต่เดือน มิ.ย. แล้ว โดยรัฐบาลบอกว่าเป็นเพราะสายพันธุ์เดลตา

 

 

กระทรวงสาธารณสุขบอกว่าเกือบ 60% ของผู้ติดเชื้อในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นสายพันธุ์เดลตา

 

 

แม้ทางการจะฉีดวัคซีนให้ประชาชนเร็วขึ้นแต่ตอนนี้ก็มีน้อยกว่า 5% เท่านั้นที่ได้วัคซีนครบเข็ม

 

 

ไทย

R

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไทยก็บอกว่าที่ประเทศมีผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตสูงขึ้นบางส่วนก็มาจากสายพันธุ์เช่นกัน โดยออกมาบอกก่อนหน้านี้ว่า 26% ของรายงานผู้ติดเชื้อในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นสายพันธุ์เดลตา

 

 

ทางการไทยก็พบสายพันธุ์นี้ในภูเก็ตเช่นกัน โดยภูเก็ตเพิ่งจะเริ่มโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ซึ่งให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับวัคซีนครบแล้วสามารถเข้าประเทศได้โดยไม่ต้องกักตัว 14 วัน นี่ถือเป็นก้าวแรกตามแผนเปิดประเทศภายใน 120 วัน ซึ่งนายกฯ ระบุว่า "เราจะต้องยอมรับความเสี่ยงร่วมกันบ้าง"

 

 

แต่ถึงสิ้นเดือน มิ.ย. ไทยให้วัคซีนประชากรครบ 2 เข็ม แค่ราว 4% เท่านั้นเอง

 

 

มองโกเลีย

 

 

G

เมื่อเทียบกับประเทศอื่น มองโกเลียมีอัตราการฉีดวัคซีนค่อนข้างสูงโดยฉีดครบโดสแล้วกว่า 50% ของประชากรทั้งหมด โดยส่วนใหญ่เป็นวัคซีนซิโนฟาร์ม

 

 

นี่เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามรัฐบาลที่จะทำให้ฤดูร้อนที่จะมาถึงเป็น "ฤดูร้อนที่ปราศจากโควิด"

 

 

แต่การระบาดระลอกใหม่ทำให้มองโกเลียมีผู้ติดเชื้อมากในสุดในเอเชียประเทศหนึ่งหากคิดเป็นสัดส่วนประชากรต่อหัว

 

 

รายงานวิจัยบางชิ้นชี้ว่าประเทศที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นเป็นประเทศที่ใช้วัคซีนจากจีนเยอะ

 

 

แต่เจ้าหน้าที่ทางการของมองโกเลียคนหนึ่งบอกเมื่อเดือน มิ.ย. ว่าที่มีผู้ติดเชื้อสูงขึ้นเป็นเพราะประเทศเพิ่งเลิกล็อกดาวน์ ไม่ใช่เพราะวัคซีนจีนไม่มีประสิทธิภาพ

 

 

ในอินโดนีเซีย มากกว่า 85% ของวัคซีนที่ใช้มาจากจีน และก็มีรายงานว่ามีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหลายสิบคนที่เสียชีวิตแม้จะได้รับวัคซีนซิโนแวคครบโดสแล้ว

 

 

ขณะนี้นักระบาดวิทยากำลังทำการวิจัยสืบสวนว่าวัคซีนนี้มีประสิทธิภาพรับมือกับโควิดสายพันธุ์เดลตาแค่ไหน

 

 

ตอนนี้กำลังมีการถกเถียงในอินโดนีเซียว่าต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นเป็นโดสที่สามให้ประชาชนหรือไม่ แต่องค์การอนามัยโลกก็ยังไม่ได้ออกมาแนะนำเรื่องนี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง