รีเซต

รู้จักสายพันธุ์โควิด "เดลต้าพลัส" อันตรายแค่ไหน มีอาการอย่างไร วัคซีนป้องกันได้ไหม

รู้จักสายพันธุ์โควิด "เดลต้าพลัส" อันตรายแค่ไหน มีอาการอย่างไร วัคซีนป้องกันได้ไหม
Ingonn
26 ตุลาคม 2564 ( 12:46 )
4K

ในที่สุดวันนี้ก็มาถึง วันที่โควิดสายพันธุ์ “เดลต้าพลัส” เข้าไทย ก็มาถึง สายพันธุ์โควิดที่สร้างยอดผู้ติดเชื้อ และผู้เสียชีวิตจำนวนมากในประเทศอินเดีย ได้พบ 1 รายในประเทศไทย โดยทาง สธ.ยืนยันแล้วว่า ผู้ป่วยได้รักษาหายแล้ว ยังไม่พบการแพร่ระบาดในพื้นที่ แต่ขึ้นชื่อว่าเป็น สายพันธุ์ใหม่ที่เข้าใหม่ที่เข้าไทย เราจึงควรทำความรู้จักและสังเกตอาการไว้เบื้องต้น


รู้จักสายพันธุ์โควิด "เดลต้าพลัส"

"เดลต้าพลัส" หรือ สายพันธุ์ AY.4.2 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์เดลตา พบครั้งแรกในยุโรปช่วงเดือนมีนาคม ต่อมาถูกพบและแพร่ระบาดอย่างมากในประเทศอินเดีย ช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา "เดลต้าพลัส" จะมีการกลายพันธุ์ในกรดอะมิโน ที่เรียกว่า k417n เป็นกรณีกลายพันธุ์ที่คล้ายกับสายพันธุ์เบต้า หรือสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ทำให้เชื้อไวรัสสามารถหลบเลี่ยงภูมิต้านทานได้ดีกว่า และติดต่อได้ง่ายที่สุดในไวรัสโควิด-19 ทุกสายพันธุ์ ส่วนโปรตีนสไปค์มีการเปลี่ยนตำแหน่ง 145 เปลี่ยนเป็น Histidine (Y145H) และ Alanine ที่ตำแหน่ง 222 เปลี่ยนเป็น เปลี่ยนเป็น Valine (A222V) 

 

ยังไม่มีความชัดเจนว่า การกลายพันธุ์นี้ จะมีผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนหรือไม่ ขณะที่นักไวรัสวิทยา ระบุว่า เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล แต่ยังไม่มีข้อมูลพิสูจน์ว่า เชื้อกลายพันธุ์นี้ติดต่อได้ง่ายขึ้น หรือนำไปสู่การมีอาการป่วยที่รุนแรงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์อื่น ปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกยังคงไม่ได้ระบุให้ไวรัสสายพันธุ์ย่อย AY4.2 หรือ เดลตา พลัส ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม "สายพันธุ์ที่ต้องจับตามอง" หรือ "สายพันธุ์ที่น่ากังวล" 

 


ความรุนแรงของ "เดลต้าพลัส"

  • สามารถแพร่เชื้อได้เร็วขึ้น มากกว่าสายพันธุ์เดลต้าดั้งเดิมประมาณ 10-15%
  • ไวรัสเกาะจับเซลล์ปอดได้ง่ายขึ้น
  • มีฤทธิ์ต่อต้านการรักษาด้วยแอนติบอดี
  • ยังไม่แน่ชัดว่า ทำให้อาการรุนแรงขึ้น หรือมีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้นหรือไม่

 

 

ทบทวนอาการโควิดสายพันธุ์ "เดลต้าพลัส"

  • ปวดศีรษะ
  • มีน้ำมูก
  • เจ็บคอ
  • มีไข้
  • ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส
  • อาการคล้ายไข้หวัด

 


ประเทศที่พบ "เดลต้าพลัส"

ประเทศที่โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส แพร่ระบาดไปแล้ว ได้แก่ สหรัฐฯ, สหราชอาณาจักร, โปรตุเกส, สวิตเซอร์แลนด์, ญี่ปุ่น, โปแลนด์, เนปาล, รัสเซีย, เกาหลีใต้ และจีน ล่าสุดพบผู้ติดเชื้อรายแรกที่ประเทศไทย

 


สถานการณ์โควิด  “เดลต้าพลัส” ในไทย

สำหรับประเทศไทยมีระบบเฝ้าระวังสายพันธุ์และสายพันธุ์ย่อยต่างๆอย่างต่อเนื่องและเมื่อตรวจสอบดูพบรายงานของเดลตาพลัสเพียง 1 ราย และไม่มีรายอื่นที่เกี่ยวเนื่อง โดยเป็นชายอายุ 49 ปี ประวัติทำงานที่บางไทร จ.อยุธยา ซึ่งมีการส่งตัวอย่างที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทางทหาร กองทัพบก( AFRIMS) พบสายพันธุ์AY.4.2 เป็นการตรวจพบตั้งแต่เดือน ก.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งผู้ป่วยได้รักษาหายแล้ว และมีการสุ่มตรวจรายอื่นๆยังไม่พบผู้ติดเชื้อที่เชื่อมโยงกับผู้ป่วยรายนี้ อีกทั้งสุ่มตรวจเป็นระยะๆยังไม่พบการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น และประวัติรายนี้ไม่พบว่ามีการเดินทางไปสถานที่เสี่ยงหรือไปต่างประเทศ

 

ล่าสุดทางกระทรวงสาธารณสุขยืนยัน "สายพันธุ์เดลตาพลัส" ที่พบนั้น ไม่ได้มีความรุนแรงของโรคไปมากหรือน้อยกว่า "สายพันธุ์เดลตา" ในปัจจุบัน  อย่างไรก็ตามหากมีการติดเชื้อโควิด  ความรุนแรงของโรคก็จะไม่มาก เนื่องจากประชากรได้วัคซีนโควิดครอบคลุมเกือบทั้งหมดแล้ว

 

 

ประสิทธิภาพวัคซีนโควิดต่อสายพันธุ์เดลต้า

วัคซีนโมเดอร์นาและวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม ภูมิคุ้มกันประมาณ ร้อยละ 79 จากเดิม ร้อยละ90  ป้องกันสายพันธุ์เดลต้า ได้มากกว่า 79% ไปจนถึง 96%  

 

วัคซีนแอสตราเซนเนก้า  2 เข็ม ภูมิคุ้มกัน ร้อยละ 60 จากเดิม ร้อยละ 88 ไม่เพียงพอต่อการป้องกันสายพันธุ์เดลต้า 

 

วัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม ภูมิต่ำ ถ้ากระตุ้นเข็มที่ 3 เนื่องจากผลการวัดระดับภูมิคุ้มกันยังต่ำกว่า 70% และยังไม่น่าพอใจเท่าที่ควร และจะมีผลต่อประสิทธิภาพในการป้องกันโควิดสายพันธุ์เดลต้าที่ลดลงอีกด้วย 

 

 

 

ข้อมูลจาก Hfocus , TNN , ฐานเศรษฐกิจ

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง