รีเซต

ฉีดวัคซีนโควิด “ซิโนแวค” ครบ 2 เข็มแล้ว เริ่มฉีดเข็มที่ 3 “แอสตร้าฯ หรือไฟเซอร์” เมื่อไหร่

ฉีดวัคซีนโควิด “ซิโนแวค” ครบ 2 เข็มแล้ว เริ่มฉีดเข็มที่ 3 “แอสตร้าฯ หรือไฟเซอร์” เมื่อไหร่
Ingonn
31 สิงหาคม 2564 ( 12:15 )
364
ฉีดวัคซีนโควิด “ซิโนแวค” ครบ 2 เข็มแล้ว เริ่มฉีดเข็มที่ 3 “แอสตร้าฯ หรือไฟเซอร์” เมื่อไหร่

สำหรับคนที่ฉีดวัคซีน “ซิโนแวค” เป็นหลัก จนครบ 2 เข็มแล้ว กำลังรอคอยว่าเมื่อไหร่จะได้วัคซีนเข็มกระตุ้นหรือบูสเตอร์โดส เป็นเข็มที่ 3 เสียที หลังพบว่า ผู้ที่ฉีดซิโนแวคแล้วสองเข็ม ป้องกันโควิดสายพันธุ์เดลต้าไม่ได้ ซึ่งกำลังเป็นที่ระบาดทั่วไทย และทั่วโลกขนาดนี้ วันนี้ TrueID จึงมีคำตอบ พร้อมประสิทธิภาพของวัคซีนเข็มที่ 3 ที่จะมาช่วยกระตุ้นภูมิให้กับผู้ที่ฉีดซิโนแวค 2 เข็มกัน

 

 

 


ฉีดซิโนแวค ครบ 2 เข็มแล้ว ฉีดเข็มที่ 3 เมื่อไหร่?

 

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่าการกระตุ้นเข็ม 3 นั้น จะขึ้นกับปริมาณวัคซีนที่เข้ามา คาดว่า เดือน ต.ค. นี้จะมีวัคซีนเข้ามามากประมาณ 20 ล้านโดส ดังนั้น ช่วงเดือน ต.ค. จะสามารถฉีดวัคซีนกระตุ้นให้แก่ประชาชนที่ได้รับวัคซีน 2 เข็มมาก่อนหน้านี้ แต่หากในกรณีที่วัคซีนไม่เข้ามาตามกำหนดการก็จะขยับปริมาณการให้วัคซีนต่อไป

 

 

ส่วนจะเป็นยี่ห้อไหน นพ.โอภาส กล่าวว่า ต้องเป็นคนละชนิด โดยหากใครได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม ซึ่งเป็นเชื้อตาย ก็จะได้รับการกระตุ้นเป็นไวรัลเวกเตอร์ หรือ “แอสตร้าเซนเนก้า” หรืออาจเป็นชนิด mRNA หรือ “ไฟเซอร์” ดังนั้น มีการเตรียมวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า และไฟเซอร์ รองรับ แต่เพื่อความชัดเจนขอให้รอมติอย่างเป็นทางการต่อไป

 

 

 

ส่องประสิทธิภาพ วัคซีนเข็มที่ 3 สำหรับคนที่ฉีดซิโนแวคครบ 2 เข็ม

 

การเกิดเชื้อกลายพันธุ์ทำให้การฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มแบบเดิม ป้องกันเชื้อเดลต้าไม่ได้ดี แม้ว่าการฉีดวัคซีนจะยังสามารถลดความรุนแรงได้ จึงได้มีการศึกษาการฉีดสลับเข็มไขว้ ระหว่างซิโนแวค+แอสตร้าเซนเนก้า แอสตร้าเซนเนก้า+ซิโนแวค และซิโนแวค+ไฟเซอร์ แอสตร้าเซนเนก้า+ไฟเซอร์ 

 

 


คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เผยผลความคืบหน้างานวิจัยวัคซีนโควิด โดยศูนย์วิจัยคลินิกศิริราช พบว่า หลังฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม มีภูมิคุ้มกันขึ้นสูงสู้การฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็มไม่ได้ และเมื่อทดสอบการต่อต้านไวรัสเดลต้าที่มีชีวิต พบว่าซิโนแวคสองเข็มจะปกป้องได้ไม่ดีเท่าแอสตร้าเซเนก้า ซึ่งสอดคล้องกับรายงานที่พบการติดเชื้อเดลต้าจำนวนมากในผู้ที่เคยฉีดซิโนแวค 2 เข็มมาก่อน แต่การฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มยังป้องกันการติดเชื้ออย่างรุนแรง และการเสียชีวิตได้ค่อนข้างสูงมากกว่า 70% 

 

 


โดยแบ่งการฉีดกระตุ้นเข็มที่ 3 ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ แอสตร้าเซเนก้า ซิโนฟาร์ม ไฟเซอร์เต็มโดสและไฟเซอร์ครึ่งโดส (ซึ่งมีศึกษาการใช้ครึ่งโดสของวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอฉีดกระตุ้นมาบ้างแล้วในต่างประเทศ)

 

 


เบื้องต้นผลการศึกษา โดยทำการวัดภูมิด้วยวิธีทั่วไป พบว่า ผู้ที่ได้วัคซีนแอสตร้าเซเนก้าเป็นเข็ม 3 หลังจากฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มไปแล้ว 2 เดือน พบว่าภูมิขึ้นจาก 52 หน่วยเป็น 1,500 หน่วย ไม่ต่างจากการฉีดไฟเซอร์ 2 เข็มมากนัก 

 

 

 

ส่วนผู้ฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มเป็นเข็ม 3 ภูมิขึ้นจาก 44 หน่วย เป็น 218 หน่วย ซึ่งภูมิขึ้นในระดับที่น้อยกว่าการใช้แอสตร้าเซเนก้าเป็นเข็ม 3 และยืนยันด้วยการตรวจภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะต่อเดลต้าที่มีชีวิต ก็พบว่าแอสตร้าเซเนก้าเป็นเข็ม 3 ให้ผลต่อต้านไวรัสได้ดีกว่ามาก

 


 

จากผลการศึกษาเหล่านี้ จึงแนะนำว่าในช่วงนี้ที่มีสายพันธุ์เดลต้าระบาด ควรฉีดเข็มสลับ ซิโนแวคแล้วตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งจะให้ประสิทธิภาพดีและใช้วัคซีนที่เรามีได้อย่างมีประโยชน์สูงสุด สูตรสลับแบบนี้จะดีกว่าการฉีดแอสตร้าเซเนก้า 2 เข็ม เพราะทำให้จบการฉีดเข็มที่ 2 ได้เร็วกว่า คือภายใน 3-4 สัปดาห์แทนที่จะเป็น10-12  สัปดาห์ และยังมีให้ระดับภูมิคุ้มกันที่วัดได้สูงกว่าด้วย ซึ่งทางกระทรวงเริ่มฉีดแบบนี้ในขณะนี้แล้ว

 

 

 

ข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข , คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง