คนป่วยโรคหัวใจ แต่อยาก 'เชียร์โอลิมปิก' ได้ไหม?
รู้หรือไม่? การเชียร์โอลิมปิก หรือเชียร์กีฬ้า แม้ไม่ได้ติดขอบสนามก็ไม่เป็นไร! เชียร์ติดขอบจอที่บ้านได้ไม่เสี่ยงติดโควิด แถมยังได้ประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจด้วย แถมในช่วงที่สถานการณ์โรคระบาดชวนให้เครียดแบบนี้ มาลดความเครียด เติมความสุขด้วยการเชียร์โอลิมปิก ส่งพลังใจให้เหล่านักกีฬาไทยง่าย ๆ แต่ใครที่ป่วยโรคหัวใจ อยากลุ้นกีฬา TrueID มีเคล็ดลับดี๊ดี ๆ ของการเชียร์โอลิมปิก 2020 ที่ไม่ได้มีดีแค่สนุก มันส์ แต่ปลอดภัยต่อหัวใจของคุณมาฝากกัน จะได้ระมัดระวัง เชียร์กีฬาแต่พอดีกันนะ
โดยวันนี้ 28 กรกฎาคม 2564 มีนักกีฬาไทยลงแข่งขันชิงเหรียญโอลิมปิกหลากหลายกีฬา อยากส่งพลังใจเชียร์ใครเช็ก โปรแกรม ผลการแข่งขัน เกาะติดนักกีฬาไทยในโอลิมปิก กันก่อน หลังจากนั้นก็ลุกขึ้นมาเชียร์นักกีฬาไทยในการแข่งขันโอลิมปิกกันเลย พร้อมอย่าลืมคำนึงถึงประโยชน์และข้อควรระวังกันด้วยนะ ดังนี้
ป่วยโรคหัวใจ เชียร์โอลิมปิก อย่างไรให้ปลอดภัย?
อย่าลืมว่าการเชียร์กีฬาไม่ได้มีเพียงข้อดีในเรื่องความสนุกเท่านั้น แต่การเชียร์กีฬาที่ไม่ถูกวิธีอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ด้วยเช่นกัน เพราะขณะที่เราเชียร์โอลิมปิกอย่างเมาส์มัน หรือมากจนเกินไปจากการดูและเชียร์ หัวใจ ของเราจะเต้นเร็วขึ้น บางคนอาจเต้นเร็วกว่านักกีฬาด้วยซ้ำไป นอกจากหัวใจเต้นเร็วแล้ว กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวแรงขึ้น ส่งผลให้หัวใจต้องการใช้ออกซิเจนมากขึ้น ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ในบางรายอาจส่งผลต่อชีวิตถึงขั้นรุนแรงทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายได้ โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคหัวใจเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว อันนี้ต้องระวังให้มาก ๆ เลยนะ
ดังนั้น ป่วยโรคหัวใจอยากเชียร์โอลิมปิกทั้งที มาเชียร์ให้สนุกและปลอดภัยกันดีกว่า ดังนี้
1. ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ถ้าเราเป็นโรคหัวใจอยู่เป็นทุนเดิม ควรเลือกชมถ่ายทอดสดเฉพาะกีฬาที่เราชอบจริง ๆ ไม่ต้องดูทุกกีฬาก็ได้นะ เอาแต่พอดี เพื่อให้หัวใจเราได้พักจากความตื่นเต้นที่อาจเป็นไปได้ว่า มากจนเกินไป
2. คนที่เป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูงที่ทานยาอยู่แล้ว ต้องทานยาให้สม่ำเสมอ อย่าเชียร์โอลิมปิกสนุกจนลืมทานยาเด็ดขาด
3. การเชียร์กีฬาต้องถือเป็นเกมส์กีฬา มีแพ้ได้ มีชนะได้ อย่าเครียดกับการแข่งขันจนเกินไป
4. เชียร์โอลิมปิกให้สนุก ไม่เล่นการพนัน ไม่ดื่มเหล้ากันนะ เพราะยิ่งเล่นการพนันควบคู่ไปกับการเชียร์ด้วยจะยิ่งเพิ่มความเครียดมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคหัวใจอาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินได้
5. ถ้ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้นในขณะดูกีฬาอยู่ เช่น แน่นหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว รีบโทรหาคนในครอบครัว เพื่อนสนิท หรือโทรสายด่วน 1669 เพื่อให้รีบพาไปพบแพทย์
ส่องข้อดี๊ดี ของการได้เชียร์โอลิมปิก 2020
สำหรับใครที่ไม่ได้มีโรคประจำตัว หรือมีโรคประจำตัว อย่างน้อยการเชียร์กีฬาสอนให้เราเห็นข้อดี มุมดี ๆ ช่วยลดเครียดการเสพข่าวโรคโควิดระบาด นั่นคือ
1. นักกีฬาไทยเป็นแรงบันดาลใจดี๊ดี ให้คุณรู้สึกฮึกเหิมอยากออกกำลังกายแน่นอน เชื่อสิ
2. การเชียร์กีฬาช่วยลดความเครียดได้ ผ่อนคลายความจตึงเครียดที่เจอ หรือลดเสพข่าวเครียด ๆ ให้เบาบางบ้าง
3. ห่างจากหน้าจอสมาร์โฟน ลดการเสพโซเชียล
4. ได้ฝึกนิสัยรู้จักแพ้ รู้จักชนะ รู้จักให้อภัย
4. ได้รู้จักการชื่นชมผู้อื่น เยี่ยมจริงๆ เก่งจริง ๆ
รู้แบบนี้แล้ว! อย่าลืมปฎิบัติตามกันด้วยนะ และเชียร์โอลิมปิกเอาแต่พอดี พอเหมาะ จะได้ส่งพลังใจให้นักกีฬาไทยคว้าชัยชนะกันยาว ๆ :)
ข้อมูล : สสส., โรงพยาบาลรามคำแหง
ข่าวเกี่ยวข้อง :
- มีเสียวเล็กน้อย! รัชนก แซงชนะมาเลเซีย 2-1 เกม เข้ารอบ 16 คนแบดมินตันโอลิมปิก
- รู้จักอาการ "สะโพกหลวม" ในน้องเทนนิส อายุน้อยก็เป็นได้
- ทำความรู้จัก! หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการป่วยของ หนุ่ม กรรชัย โรคอันตรายที่ต้องระวัง
- รู้จัก! ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เสียชีวิตกะทันหัน โดยปราศจากสัญญาณเตือน
- ต้อนรับ Olympic 2020 ย้อนชมฮีโร่ของเด็กไทย มีใครบ้างนะ?