'กัญชา' นำไปปรุงอาหาร ผิดกฏหมายหรือไม่?
ภายหลังจากที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ.2563 ปลดล็อกส่วนของพืชกัญชา-กัญชง ประกอบด้วย เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน ราก และใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย ให้พ้นจากการเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุดตามหลักความปลอดภัย แต่ยังมีคำถามสำหรับว่าเราจะใช้กัญชาในการปรุงอาหารได้หรือไม่? วันนี้ trueID จะไขคำตอบในประเด็นดังกล่าว ให้ได้รับความกระจ่างกัน
กัญชาใช้ปรุงอาหารได้หรือไม่?
ก่อนนำส่วนของพืชกัญชา-กัญชง ที่ได้รับการปลดล็อกแล้วไปใช้ในการปรุงอาหาร หรือเครื่องดื่ม ว่า สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ร้านค้า/ร้านอาหาร ที่นำส่วนประกอบของพืชกัญชาไปประกอบอาหาร เครื่องดื่มจำหน่าย จะต้องซื้อมาจากแหล่งปลูกที่ได้รับอนุญาตจาก อย. เท่านั้น อาทิ วิสาหกิจชุมชนที่ปลูกร่วมกับหน่วยงานของรัฐ
ผู้ที่ได้รับอนุญาตปลูกกัญชาอย่างถูกกฎหมายหาได้ที่ไหน?
สามารถตรวจสอบได้ในเว็บไซต์ กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือที่ สำนักงานอาหารและยา เพื่อเป็นหลักฐานแสดงต่อเจ้าหน้าที่ที่ตรวจสอบว่า วัตดุดิบที่นำมาปรุงอาหารนั้น ได้รับการยืนยันมาจากแหล่งปลูกที่ถูกกฎหมาย เมื่อได้รับใบหรือส่วนของพืชกัญชาจากแหล่งที่ปลูกถูกต้องตามกฎหมายมาแล้ว สามารถนำมาปรุงใส่อาหารจำหน่ายที่ร้านได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก อย. อีก
ทำเป็นอาหารหรือผลิตภัณฑ์เพื่อการจำหน่ายได้ไหม?
สำหรับผู้ที่จะนำส่วนของพืชกัญชา ไปทำเป็นอาหารหรือผลิตภัณฑ์เพื่อการจำหน่ายที่ต้องผ่านการขอเลขจดแจ้งจาก อย. นั้น ในส่วนนี้จะต้องขออนุญาตซึ่ง อย. กำลังทยอยทำประกาศปลดล็อกการนำส่วนของพืชกัญชาไปใส่ในอาหารและผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น
สรุป
- การนำ ‘กัญชา’ ไปปรุงเมนูอาหารไม่ผิดกฎหมาย
- แต่ต้องซื้อมาจากแหล่งปลูกที่ได้รับอนุญาตจาก อย. เท่านั้น
- อย. กำลังทยอยทำประกาศปลดล็อกการนำส่วนของพืชกัญชาไปใส่ในอาหารและผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น
ที่มา : อย. , สสส
ภาพโดย Innes Linder จาก Pixabay
++++++++++
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :