รีเซต

อยากเลิกนิสัย “ผัดวันประกันพรุ่ง”ต้องทำอย่างไรดี?

อยากเลิกนิสัย “ผัดวันประกันพรุ่ง”ต้องทำอย่างไรดี?
TNN ช่อง16
30 มิถุนายน 2568 ( 23:25 )
15

ถ้าหนังสือคือสิ่งที่จำเป็นต้องอ่าน ฉันจะกวาดบ้าน ล้างจาน เอาขยะไปทิ้ง ทำมันทุกสิ่ง ยกเว้นเรื่องที่ต้องทำจริง ๆ หรือเรียกอีกอย่างว่า “นิสัยผัดวันประกันพรุ่ง” 

ถ้าเป็นแบบนี้ต่อไป แผนที่วางไว้หรืองานที่รับผิดชอบคงไม่ทันเดดไลน์ หรือไม่ก็ต้องทำแบบส่ง ๆ ในวินาทีสุดท้าย จะจัดการพฤติกรรมแบบนี้ของตัวเองอย่างไร เรื่องนี้ “เฟรนด์ ปัณณรุจน์ ลิ้มสุวรรณ” นักจิตวิทยาคลินิก Me Center มีคำตอบมาให้ 


การผัดวันประกันพรุ่ง (Procrastination) ไม่ได้เป็นแค่ "ความขี้เกียจ" แต่เป็นพฤติกรรมการปกป้องตัวเองจากอารมณ์ทางลบในระยะสั้นที่เรามีต่อสิ่งที่ต้องทำ

โดยปกติคนเรามักจะผัดวันประกันพรุ่งกับงานที่ไม่ชอบทำอยู่เสมอ แม้ว่าเราจะรู้ว่างานนั้นจะนำไปสู่ความเครียดในภายหลัง แต่การเลี่ยงไม่ทำ กลับสร้างปัญหาระยะยาวมากขึ้น เช่น ความเครียด ความรู้สึกผิด ความกดดันสะสม เป็นต้น        

ทำอย่างไรให้เลิกนิสัยผัดวันประกันพรุ่ง?

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงาน สามารถช่วยปรับนิสัยการผัดวันประกันพรุ่งได้ อาจเริ่มจากการค่อย ๆ ปรับทีละนิด และต้องไม่ฝืนหรือบังคับตัวเองมากเกินไป เพื่อให้มีกำลังใจในการปรับเปลี่ยน โดยอาจลองทำตามขั้นตอนเหล่านี้

1. วางแผนการทำงานทุกครั้งที่ได้รับมอบหมาย

การวางแผนแบ่งงานที่ต้องทำ และทำด้วยความสม่ำเสมอ จะทำให้งานนั้นสำเร็จไปได้ด้วยดี

2. จัดลำดับความสำคัญของงานในแต่ละวัน

การจัดลำดับความสำคัญในแต่ละงาน จะช่วยให้สามารถกำหนดเวลาในการทำงานแต่ละงานได้ ทำให้ไม่รู้สึกเหนื่อยล้าจนเกินไป

3. จำกัดชั่วโมงการทำงานแต่ละชิ้น

การจำกัดเวลาทำงานแต่ละชิ้น ช่วยให้เราไม่ใช้เวลากับชิ้นงานนานเกินไป เพื่อลดความรู้สึกเหนื่อยล้า

 4. เลือกสถานที่ทำงานที่ให้สมาธิได้ดี

การเลือกสถานที่ที่เหมาะสำหรับตัวเองในการทำงาน สามารถช่วยสร้างสมาธิในการทำงานได้อย่างดี ไม่มีสิ่งที่รบกวนการทำงาน ทำให้โฟกัสกับงานได้มากขึ้น

“การเปลี่ยนนิสัยการผัดวันประกันพรุ่ง ไม่ใช่แค่การฝืนใจทำ แต่คือการปรับพฤติกรรมอย่างค่อยเป็นค่อยไป”

อย่างไรก็ตาม หากทำตามวิธีดังกล่าวแล้วยังไม่สามารถจัดการกับภาระงานที่มีได้ ส่งผลต่อสุขภาพใจ เกิดความเครียด กดดัน หมดไฟในการทำงานและการเรียน กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การขอคำปรึกษาจากนักจิตวิทยาคลินิก ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถทำได้


หากสนใจปรึกษาจิตแพทย์ และนักจิตวิทยาคลินิก ติดต่อได้ที่

Me Center คริสตัล ดีไซน์ เซนเตอร์ (CDC) ชั้น 2 

โทร 085-355-2255

Me Center ศูนย์สมองและสุขภาพจิต ชั้น 8 โรงพยาบาลอินทรารัตน์ 

โทร 02-481-5555 ต่อ 8300

Line Official: @mecenter (https://lin.ee/mCheDsu)

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง