รีเซต

คนชอบ “อิจฉา” ผู้อื่น เข้าข่าย “ผู้ป่วยจิตเวช” ไม่ใช่แค่นิสัยส่วนตัว

คนชอบ “อิจฉา” ผู้อื่น เข้าข่าย “ผู้ป่วยจิตเวช” ไม่ใช่แค่นิสัยส่วนตัว
TNN ช่อง16
2 กรกฎาคม 2567 ( 10:31 )
27
คนชอบ “อิจฉา” ผู้อื่น เข้าข่าย “ผู้ป่วยจิตเวช” ไม่ใช่แค่นิสัยส่วนตัว

ปกติแล้วผู้ที่มีอาการ “อิจฉาตาร้อน” (Envy) มักถูกมองว่า เป็นนิสัยส่วนตัว อาจรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจที่ตนเองไม่ได้รับความสำคัญอย่างที่เคยเป็นมา รู้สึกไปเองว่าไม่สำคัญสำหรับใครบางคน หรือได้รับการตามใจจนคิดว่าตนเองสำคัญและไม่มีใครห้ามปรามจนติดเป็นนิสัยเสียที่แก้ได้ยาก


แต่งานศึกษาทางจิตวิทยา ออกมาชี้ชัดว่า จริง ๆ แล้วอาการอิจฉาตาร้อนนั้นเป็น “โรคจิตเวช” ชนิดหนึ่ง


ป่วยก็คือป่วย


งานศึกษา Envy As Pain: Rethinking the Nature of Envy and Its Implications for Employees and Organizations ตีพิมพ์ใน Academy of Management Review เขียนโดย เคนเน็ธ ไท และคณะ ชี้ว่า ไม่ควรฟันธงว่าอาการอิจฉาตาร้อนเป็นนิสัยส่วนตัว เพราะจริง ๆ แล้วเป็นเรื่องของอาการจิตเวชต่างหาก


แล้วเราจะเปลี่ยนความเชื่อเดิม ๆ ได้ไหม ต้องบอกว่าได้ ยกตัวอย่างสมัยก่อน “โรคเรื้อน” (Leprosy) ถูกวินิจฉัยว่า เป็นความผิดปกติของผิวหนังที่เนื้อเยื่อทำงานผิดพลาด แต่มายุคนี้ โรคเรื้อนเป็นผลจากความ “ใจไม่สู้” ของผู้ป่วย ที่สั่งจิตว่าผิวหนังเราต้องลอกแน่ ๆ ซึ่งเรื่องนี้ต้องส่งวินิจฉัยผ่านนักจิตวิทยา ไม่ใช่แพทย์ผิวหนังเพียงอย่างเดียว


ดังนั้น อาการอิจฉาตาร้อนในฐานะอาการจิตเวชจึงเข้าใจได้ เพราะมันเป็นกลไกป้องกันความเจ็บปวดอย่างหนึ่ง จากการที่เห็นบางสิ่งที่คนอื่นกระทำ มาทำให้ผู้ป่วย “ไม่มั่นคงทางจิตใจ” จึงแสดงออกมาอย่างก้าวร้าวทั้งทางสีหน้าและอากัปกิริยา ซึ่งบางทีก็อาจไป “คุกคาม” ผู้อื่นโดยที่ผู้ป่วยไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อน


ผลศึกษานี้ ทำให้เราควรให้ความสำคัญกับอาการอิจฉามากขึ้น ในฐานะที่เป็นผู้ป่วยที่เกิดอาการอิจฉา เพื่อป้องกันจิตใจของตนเอง และหากแสดงอาการออกมาในเชิงคุกคาม ก็ถือว่าละเมิดบุคคลอื่น จำเป็นต้องพาไปรักษาโดยด่วน


อิจฉาตาร้อนมี 2 แบบ


อาการอิจฉาตาร้อนนั้น อาจเป็นสิ่งที่สมควรรักษาผ่านวิธีการทางจิตวิทยาและประสาทวิทยา มากกว่าที่จะปล่อยไปตามยถากรรมด้วยเห็นเป็นเรื่องของนิสัยที่แก้ยากเพราะติดตัวมาแต่กำเนิด


แต่รู้ไหมว่า อาการอิจฉาตาร้อน มีอยู่ 2 รูปแบบ ข้างต้นเรียกว่า “Envy” คืออิจฉาในสิ่งที่เราไม่เคยได้รับหรือมีไม่เท่าผู้อื่น แต่อีกอย่างคือ “Jealousy” หรือ ริษยา ที่เรากำลังจะเสียของที่เรารักไปให้ผู้อื่นที่ดีกว่าเรา


อย่างหลัง ถือว่าเป็นโรคจิตเวชที่อันตรายกว่ามาก เพราะการที่ผู้ป่วยครอบครองหรือคิดว่าครอบครองบางอย่างอยู่ และรู้สึกเหมือนกับว่ากำลังจะสูญเสียสิ่งนั้นไป ย่อมต้องทำทุกวิถีทางให้ “รักษา” สิ่งนั้นไว้ให้ได้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม


ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยเป็นที่รักของเจ้านายในที่ทำงาน แต่แล้วมีพนักงานใหม่เข้ามา และเจ้านายไปนิยมชมชอบมากกว่า ผู้ป่วยย่อมต้องรู้สึกริษยาเป็นธรรมดา และอาจจะแสดงออกที่รุนแรงอย่างคาดไม่ถึงเพื่อปกป้อง “สิ่งที่ควรเป็น”


แหล่งอ้างอิง




ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง